โดยทั่วไปแล้วเราจะคิดว่ากาแล็กซีแอนโดรเมดา เป็นกาแล็กซีเพื่อนบ้านที่อยู่เคียงคู่ อยู่ข้างๆ ใกล้กาแล็กซีทางช้างเผือกของเรามากที่สุด แต่ถึงแอนโดรเมดาจะเป็นเพื่อนบ้านเรา ทว่าก็ไม่ได้อยู่ในวงโคจรรอบทางช้างเผือก ในความเป็นจริงแล้ว มีกาแล็กซีเพื่อนบ้านหรือกาแล็กซีบริวารหลายสิบแห่งโคจรรอบกาแล็กซีทางช้างเผือก แน่นอนว่าพวกนี้อยู่ใกล้เรามากกว่าแอนโดรเมดามากกาแล็กซีเพื่อนบ้านหรือกาแล็กซีบริวาร อาทิ กาแล็กซีเมฆแมกเจลแลนใหญ่ (LMC) หรือกาแล็กซีเมฆแมกเจลแลนเล็ก (SMC) กลายเป็นพื้นที่ศึกษาของนักดาราศาสตร์ เมื่อเร็วๆนี้ นักดาราศาสตร์จากองค์การนาซา สหรัฐอเมริกา เผยการใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ที่เป็นอุปกรณ์ความร่วมมือของนาซาและองค์การอวกาศยุโรป ส่องไปที่กาแล็กซีเมฆแมกเจลแลนใหญ่ อยู่ห่างออกไป ๑๖๒,๐๐๐ ปีแสง มองเห็นได้ง่ายด้วยตาเปล่าจากซีกโลกใต้ภายใต้สภาพท้องฟ้าที่มืดมิดและห่างไกลจากมลภาวะทางแสง ได้ค้นพบประชากรดาวฤกษ์หนาแน่น ที่เรียกวา “กระจุกทรงกลม” (globular clusters) ชื่อ NGC ๑๘๔๑ ซึ่งนักดาราศาสตร์ระบุว่าพื้นที่แห่งนี้จะให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการกำเนิดดาวฤกษ์ในยุคแรกๆของกาแล็กซีเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะกระจุกดาวประเภทนี้มีความสม่ำเสมอบางประการ เช่น มีความเสถียรมากและคงรูปร่างไว้เป็นเวลานาน นั่นหมายความว่ากระจุกดาวทรงกลมโดยทั่วไปจะมีอายุมาก มีดาวอายุมากจำนวนมาก ซึ่งกระจุกดาวทรงกลมมีลักษณะคล้ายกับซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลบนท้องฟ้านั่นเอง และกาแล็กซีเมฆแมกเจลแลนใหญ่นับเป็นสถานที่ที่ดีต่อการศึกษา เพราะเป็นที่ตั้งของกระจุกดาวทรงกลมจำนวนมาก.Credit : ESA/Hubble & NASA, A. Sarajediniอ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่
กล้องฮับเบิล เผยกระจุกดาวทรงกลม ในกาแล็กซีบริวาร
เรื่องที่เกี่ยวข้อง