วันอังคาร, 5 พฤศจิกายน 2567

กล้องโทรทรรศน์คอนดอร์แก้ไขความกังขาของจักรวาล

เมื่อเร็วๆนี้ ทีมนักดาราศาสตร์นำโดยนักฟิสิกส์และดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสโตนี บรูค และพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติอเมริกัน ในสหรัฐอเมริกา เผยว่า กล้องโทรทรรศน์ตัวใหม่ชื่อ “คอนดอร์ อาร์เรย์ เทเลสโคป” (Condor Array Telescope) อาจเปิดโฉมใหม่ของจักรวาลที่ตื่นตาตื่นใจไม่แพ้เครื่องมือทรงพลังอื่นๆ“คอนดอร์ อาร์เรย์ เทเลสโคป” ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อรวมแสงจากกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กหลายตัวให้เทียบเท่ากับกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ตัวเดียว สามารถตรวจจับและศึกษาลักษณะทางดาราศาสตร์ที่จางเกินกว่าจะมองเห็นด้วยกล้องโทรทรรศน์ทั่วไป ทีมนักดาราศาสตร์ได้ลองใช้กล้องคอนดอร์ศึกษา “กระแสธารดาวฤกษ์” ที่จางมากรอบๆกาแล็กซี NGC ๕๙๐๗ ที่เป็นประเภททรงกังหันหรือก้นหอย อยู่ห่างจากโลกประมาณ ๕๐ ล้านปีแสง พบว่ากระแสธารดาวฤกษ์แห่งนี้เกิดขึ้นเมื่อกาแล็กซีแคระที่อยู่ข้างๆถูกรบกวนโดยแรงโน้มถ่วงของกาแล็กซีหลัก ซึ่งภาพที่เคยได้รับจากกล้องโทรทรรศน์อีกตัวในปี ๒๕๕๓ ดูเหมือนจะแสดงให้เห็นกระแสธารดวงดาวก่อตัวเป็นเกลียวกังหันที่สมบูรณ์ ๒ วงรอบกาแล็กซี แต่อีกภาพหนึ่งที่ได้รับจากกล้องโทรทรรศน์ดรากอนฟลาย เทเลโฟโต อาร์เรย์ (Dragonfly Telephoto Array) ในปี ๒๕๖๒ กลับไม่พบร่องรอยของเกลียวนี้ทั้งนี้ การใช้กล้องโทรทรรศน์คอนดอร์ รวมถึงชั่งน้ำหนักความคลาดเคลื่อนจากข้อมูลเก่าๆทำให้ได้ภาพถ่าย NGC ๕๙๐๗ ในเชิงลึกเมื่อปี ๒๕๖๕ สอดคล้องกับภาพจากกล้องดรากอนฟลาย เทเลโฟโต อาร์เรย์ โดยภาพจากคอนดอร์ไม่แสดงร่องรอยของเกลียวกังหันเช่นกัน ทำให้ทีมนักดาราศาสตร์สรุปได้ว่าเกลียวหมุนของภาพปี ๒๕๕๓ น่าจะเกิดขึ้นจากการประมวลผลภาพในเวลานั้น.Credit : Condor Teamอ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่