ผลการประชุมกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เพื่อจัดทำแผนที่คาดการณ์ปริมาณฝนตลอดปี ๒๕๖๗ (One Map) ใช้เป็นข้อมูลจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำสำหรับหน่วยงานต่างๆ นำไปใช้จากการประเมินของกรมอุตุนิยมวิทยาร่วมกับสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) พบว่า ช่วง ๖ เดือนแรก จะมีปริมาณฝนน้อยกว่าค่าปกติ และปีนี้ฝนจะมาล่าช้ากว่าทุกปี ขณะที่ช่วง ๖ เดือนหลัง จะมีปริมาณฝนมากกว่าค่าปกติ และอาจมีพายุเกิดขึ้นบ่อยกว่าในช่วง ๔ ปีที่ผ่านมาสำหรับปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขณะที่อยู่ที่ ๕๙,๖๘๗ ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น ๗๒% ปริมาณน้ำใช้การ ๓๕,๔๗๕ ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น ๖๑% เพียงพอต่อความต้องการในช่วงฤดูแล้ง แต่ยังประมาทไม่ได้ เนื่องจากประเทศไทยยังอยู่ในช่วงของสถานการณ์เอลนีโญสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สนทช.) ได้กำชับให้ทุกหน่วยงานดำเนินการตาม ๙ มาตรการรองรับฤดูแล้งอย่างเคร่งครัด ขณะนี้อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศปริมาณน้ำรวม ๑๖,๐๑๐ ล้าน ลบ.ม. มีผลการจัดสรรน้ำอยู่ที่ ๖,๓๖๖ ล้าน ลบ.ม. (๔๐%) เกินกว่าที่แผนจัดสรรน้ำกำหนดไว้ที่ ๕,๖๗๒ ล้าน ลบ.ม. (๓๕%)เนื่องจากปีนี้ข้าวมีราคาสูง เกษตรกรจึงมีการเพาะปลูกเกินกว่าแผนที่กำหนดไว้ ๕.๘๐ ล้านไร่ ปัจจุบันมีผลการเพาะปลูกแล้ว ๖.๗๓ ล้านไร่ โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาสำหรับการเฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่และกลางที่มีปริมาณน้ำน้อยทั่วประเทศ ๙๙ แห่ง แบ่งเป็น ภาคเหนือ ๒๕ แห่ง ภาคกลาง ๗ แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๔๐ แห่ง ภาคตะวันตก ๑๐ แห่ง ภาคตะวันออก ๑๓ แห่ง และภาคใต้ ๔ แห่ง และมีอ่างขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำเกินความจุ (๑๐๐%) อยู่ ๑ แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำป่าพะยอม จ.พัทลุงสำหรับสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ขณะนี้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ แม้ว่าจะยังพบว่ามีปริมาณฝนกระจายอยู่ในบางพื้นที่แต่ก็อยู่ในเกณฑ์ปกติ.สะ-เล-เตคลิกอ่านคอลัมน์ “หน้ามองฟ้า เท้าหยั่งดิน” เพิ่มเติม
เรื่องที่เกี่ยวข้อง