วันศุกร์, 8 พฤศจิกายน 2567

“ก้าวไกล” กับแนวคิดสุดโต่ง

ผู้มาก่อนกาลเวลานั้นต้องถือว่าเลิศกว่าคนปกติทั่วไป เพราะสามารถคิดคำนวณความเป็นไปได้เป็นการล่วงหน้าแต่ก็ต้องแยกออกเป็น ๒ ส่วนคือ๑.แนวคิดหรือความคิด๒.แนวปฏิบัติเพราะการคิดหรือแนวคิดนั้นสามารถกระทำได้เลย หากสามารถศึกษาและสร้างจินตนาการว่าจะเป็นอย่างไรและอะไรจะเกิดขึ้นได้แต่แนวปฏิบัตินั้นแม้จะคิดดีคิดเลิศแล้วแต่เงื่อนไขหรือองค์ประกอบยังไม่ถึงจุดที่เหมาะสมพอก็ไม่อาจสำเร็จลุล่วงไปได้อย่างที่พูดกันว่า “ต้องกินที่กินเวลา” จึงเป็นคำพูดที่เหมาะสมที่สุด“พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” ที่เกิดใหม่อีกครั้งทางการเมืองเผยว่า เวลานี้ยังไม่คิดที่จะผลักดันการแก้ไข ม.๑๑๒ หมายความว่าหยุดเรื่องนี้เอาไว้ก่อนแม้ “ปิยบุตร แสงกนกกุล” ผู้สนับสนุนอยู่ข้างหลังบอกว่าไทม์ไลน์ของ “ก้าวไกล” ที่ “พิธา” แถลงไปนั้นทำไมถึงไม่มีเรื่องนี้ข้อสงสัยจากผู้ที่มีแนวคิดต้องการให้แก้ไข ม.๑๑๒ หรือยกเลิกหากจะอ่านความคิดของ “พิธา” คงบอกได้ว่าการที่เขาไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี แม้จะมีเสียงเป็นอันดับ ๑ ก็เพราะเรื่องนี้นั่นเป็นคำตอบที่เขาสรุปได้จากประสบการณ์ที่ผ่านมาไม่นานมานี้ แม้เขาจะบอกว่าเนื่องจากไม่ต้องการให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองขึ้นมาอีกในระยะนี้ผู้มาก่อนกาลเวลาย่อมรู้และเข้าใจได้ดีว่าทุกอย่างต้องกินที่กินเวลา อะไรที่รอได้ก็ควรรอไม่ใช่เดินไปชนจนหัวแตกอีก“มาครง” ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ผู้นำรุ่นใหม่ของประเทศที่ต้องพูดได้ว่า “ประชาธิปไตยจ๋า” ที่สร้างแบบอย่างทางการเมืองให้คนไทยหัวก้าวหน้าตั้งแต่ยุคสมัย ๒๔๗๕ จนถึงยุคปัจจุบันซึ่งมีบทบาทต่อการเมืองโลกค่อนข้างสูงล่าสุดเขามีแนวคิดที่จะทดลองในประเทศฝรั่งเศส นั่นคือการให้นักเรียนต้องแต่งเครื่องแบบเวลาไปเรียนหนังสือต้องยืนเคารพธงชาติ!เขาให้เหตุผลว่าเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำเนื่องจากปัจจุบันนักเรียนไม่ต้องแต่งเครื่องแบบเนื่องจากต้องการเป็นอิสระและมีเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย แต่ก็เกิดปัญหาเพราะลูกเศรษฐีมีเงินต่างแต่งตัวด้วยสินค้าแบรนด์เนมที่มีราคาแพงแต่ลูกคนจนกลับตรงกันข้ามนี่คือปัญหาและต่างกับการแต่งเครื่องแบบที่เหมือนกันหมดทุกคนการให้ยืนเคารพธงชาติก็เพื่อให้เกิดความรู้สึกรักชาติรักแผ่นดินเหล่านี้เป็นตัวอย่างที่กำลังสอนให้รู้ว่าการมีสิทธิเสรีภาพนั้นต้องเป็นไปอย่างสร้างสรรค์เพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ไม่ใช่ก่อให้เกิดปัญหาขัดแย้งหรือความเหลื่อมล้ำของคนในชาติจึงต้องแยกแยะให้ดีตรงกันข้ามกับเด็กไทยที่โหยหาอิสระและเสรีภาพ ไม่ว่าจะเกิดจากการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือเกิดจากการยุยงส่งเสริมก็ตามก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใดในสังคมที่เปิดกว้าง เพียงแต่ต้องรู้และเข้าใจด้วยว่าอิสระและเสรีภาพนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานที่พอเหมาะพอควร ไม่ทำให้เกิดความเดือดร้อนต่อผู้อื่นที่สำคัญก็คือต้องเป็นไปอย่างสร้างสรรค์และก่อประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองด้วย!“สายล่อฟ้า”คลิกอ่านคอลัมน์ “กล้าได้กล้าเสีย” เพิ่มเติม