วันพุธ, 6 พฤศจิกายน 2567

ค้านร่างผังเมืองกรุงเทพฯ ภาคประชาชนเตรียมยื่น ป.ป.ช.ตรวจสอบ

11 ก.พ. 2024
68

เครือข่ายภาคประชาชน ค้านร่างฯ ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ ๔) ชี้ลิดรอนสิทธิประชาชน ไม่ตอบโจทย์แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม น้ำท่วม ขาดหลักผังเมืองธรรมนูญกำหนดทิศทางเมือง เรียกร้อง กทม.ยุติการดำเนินการผังเมืองรวม ให้ประชาชนมีส่วนร่วม พร้อมเตรียมยื่น ป.ป.ช.ตรวจสอบหลังจาก กรุงเทพมหานคร เปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่ ๕๐ เขต เมื่อวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๗ ที่ผ่านมา และเปิดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นคัดค้านได้ถึงวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ แต่เครือข่ายภาคประชาชนและสภาผู้บริโภคเห็นว่ากระบวนการดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเรียกร้องให้ กรุงเทพมหานคร ยุติการดำเนินการจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ ๔) และขอให้เริ่มกระบวนการใหม่ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นtt ttวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ สภาผู้บริโภคและเครือข่ายภาคประชาชน จัดเวทีเสวนา “หยุดผังเมืองกรุงเทพฯ เหนือสิทธิประชาชน” โดยมีเครือข่ายชุมชนปกป้องคุณภาพชีวิตคนเมือง สมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม เครือข่ายประชาชนจากสุขสวัสดิ์ ซอยอารีย์ ซอยสวัสดี หมู่บ้านศุภาลัยพระราม ๒ ซอยสุขุมวิท ๔๙ และนักวิชาการ เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างผังเมืองรวม กทม. และเรียกร้องให้กรุงเทพมหานครยุติการดำเนินการทั้งหมดเครือข่ายภาคประชาชนได้ร่วมกันอ่านแถลงการณ์เพื่อเรียกร้องให้กรุงเทพมหานครยุติกระบวนการรับฟังความคิดเห็น การปรึกษาหารือ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการวาง และจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ ๔) และขอให้เริ่มกระบวนการใหม่ โดยต้องมีร่างผังเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงtt ttอิฐบูรณ์ อ้นวงษา รองเลขาธิการสภาผู้บริโภค กล่าวว่า เหตุผลที่ต้องเรียกร้องให้ กรุงเทพมหานคร ยุติการดำเนินการทั้งหมดในการร่างผังเมืองรวมฉบับนี้ ประกอบด้วย๑. การดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ ๔) ขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๖๐ มาตรา ๗๒ (๒) ที่ระบุว่า “รัฐพึงจัดให้มีการวางผังเมืองทุกระดับและบังคับการให้เป็นไปตามผังเมืองอย่างมีประสิทธิภาพรวมตลอดทั้งพัฒนาเมืองให้มีความเจริญโดยสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่” ต้องเริ่มต้นจากการรับฟังความคิดเห็น การปรึกษาหารือ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในแต่ละพื้นที่ก่อนการจัดทำร่างผังเมืองรวม แต่มีการจัดทำร่างผังเมืองรวมฉบับนี้ไม่มีกระบวนการดังกล่าว จึงขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ๒. ขัดต่อกฎหมายการวางและจัดทำผังเมืองอาจขัดต่อมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.๒๕๖๒ คือไม่มีการประชาสัมพันธ์ทำอย่างไม่ทั่วถึง ประชาชนจำนวนมากไม่ทราบถึงการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ ๔)นายก้องศักดิ์ สหะศักดิ์มนตรี เครือข่ายชุมชนปกป้องคุณภาพชีวิตคนเมือง กล่าวว่า ผังเมืองรวมฉบับนี้มีจุดอ่อนในเรื่องการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ไม่มีส่วนร่วมของประชาชน ขัดต่อกฎหมายผังเมืองปี ๒๕๖๒ มาตรา ๙ และเมื่อไม่รับฟังประชาชน อีกทั้งผังเมืองก็ไม่ได้สะท้อนความต้องการในการจัดการเมืองร่วมกันตั้งแต่ต้น เพราะฉะนั้นร่างผังเมืองฉบับนี้จึงจบแล้วตั้งแต่ต้น ไปต่ออีกไม่ได้เลยtt ttนายวีระพันธุ์ ชินวัตร อุปนายกสมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม (SCONTE) กล่าวว่า หากกางร่างฯ ผังเมืองฉบับนี้พบว่า ลิดรอนสิทธิของคนกรุงเทพฯ จำนวนมาก มีการวางสีแดง ส้ม เหลือง เขียว ที่เลือกจากย่านธุรกิจ ทำให้พื้นที่มรดกวัฒนธรรมจะหายไป ทั้งที่เป็นส่วนมรดกที่จับต้องไม่ได้ก็คือชาวบ้านที่จะต้องหาที่อยู่อาศัยใหม่ ความเป็นชุมชนจะหายไปหมดส่วนมรดกที่จับต้องได้อย่างเช่น ตึกรามบ้านเรือน ร้านค้า พื้นที่เยาวราช ส่วนใหญ่เป็นอาคารเช่า และ street food หากขยายถนน พื้นที่วัฒนธรรมสำคัญของคนกรุงเทพฯ จะหายไป สมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อมจึงไม่เห็นด้วยต่อกระบวนการประชุมรับฟังความคิดเห็นวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๗ ที่ผ่านมา และขอให้ทบทวนการดำเนินการทั้งหมดtt ttนายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ผู้แทนภาคประชาชน ได้ตั้งข้อสังเกตว่า กระบวนการทำผังเมืองรวมฉบับนี้ไม่มีการรับฟังความคิดเห็น แต่มีการรับฟังความคิดเห็นอย่างเดียวคือ การประชาพิจารณ์เรื่องบึงรับน้ำคู้บอนขนาด ๘ แสนล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งประชาชนอยากให้ดำเนินการ แต่ปรากฏว่าไม่มีการกำหนดในผังน้ำ และไม่มีการเวนคืนที่ดินดังกล่าว แต่มีการนำพื้นที่ไปให้บริษัทเอกชนทำบ้านจัดสรร โดยเรื่องนี้เตรียมจะยื่นให้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตรวจสอบ.