วันพฤหัสบดี, 7 พฤศจิกายน 2567

งานวิจัยยืนยันการวิ่งเล่นออกกำลังกายทำให้เด็กมีความสุขเพิ่มขึ้น

30 ม.ค. 2024
48

เด็กๆ กับการวิ่งเล่นออกกำลังกายนั้นเป็นของคู่กันมาแต่ไหนแต่ไร แต่ด้วยวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปทำให้เด็กๆ ได้ออกไปวิ่งเล่นน้อยลง เด็กบางคนต้องเรียนเยอะจนไม่มีเวลาว่าง บางคนเสียเวลาไปกับการเดินทางเพราะรถติดหนัก หรือบางคนก็ไม่สนใจการออกไปวิ่งเล่นเพราะสนุกกับโทรศัพท์มือถือมากกว่า และโดยเฉพาะช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ที่ทำให้ต้องเว้นระยะห่าง งดกิจกรรมนอกบ้าน และสวมใส่หน้ากากอนามัย ก็ยิ่งทำให้เด็กๆ ได้วิ่งเล่นออกกำลังกายลดลง ในขณะที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่งเพิ่มสูงขึ้นเมื่อดูข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทยในปี ๒๕๖๕ จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ก็พบว่าเด็กไทยถึง ๓ ใน ๔ ยังมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ เรื่องนี้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อร่างกายที่กำลังอยู่ในวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงและเจริญเติบโต และที่น่าห่วงเป็นพิเศษก็คือ ภาวะเครียด ที่กำลังเป็นภัยเงียบคุกคามเด็กไทยข้อมูลจากสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์เผยว่า มีเด็กและวัยรุ่นไทยอายุ ๑๐-๑๙ ปีกว่า ๑๐,๐๐๐ คน โทรเข้าสายด่วนสุขภาพจิต ๑๓๒๓ เพื่อขอรับคำปรึกษา โดยปัญหาที่พบมากที่สุด คือ ความเครียดและความวิตกกังวล ปัญหาความรัก และภาวะซึมเศร้า ในขณะที่ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตในปี ๒๕๖๒ พบว่าเด็กและเยาวชนไทยอายุ ๑๐-๒๙ ปี ราว ๘๐๐ คนฆ่าตัวตายสำเร็จด้วยเหตุนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พร้อมด้วยภาคีเครือข่าย จึงสานพลังร่วมกันผ่านแคมเปญรณรงค์ “สามเหลี่ยมสมดุล” เพื่อส่งต่อความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และสร้างแรงกระตุ้นให้พ่อแม่ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของดูแลลูกหลานให้เจริญเติบโตสมวัย มีสุขภาพดีแข็งแรง ด้วยการปรับสามพฤติกรรมหลักที่ต้องทำร่วมกันอย่างสมดุล นั่นคือ การออกกำลังกาย การกินอาหาร และการนอนหลับพักผ่อนหนึ่งในความสมดุลที่สำคัญ คือการวิ่งเล่นออกกำลังกาย ที่นอกจากจะช่วยให้เด็กๆ มีร่างกายที่แข็งแรง มีพัฒนาการสมวัย ยังส่งผลดีต่อจิตใจและอารมณ์ ช่วยลดโอกาสเกิดภาวะเครียดและซึมเศร้า ซึ่งมีแนวโน้มที่จะพบในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่นมากขึ้นทุกวัน งานวิจัยหลายชิ้นยืนยันว่าการออกกำลังกายช่วยให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนบางชนิดที่ช่วยส่งเสริมอารมณ์และความรู้สึกเชิงบวกได้ ไม่ว่าจะเป็น โดปามีน เซโรโทนิน และเอ็นดอฟีน ตัวอย่างเช่น จากงานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสาร International Journal of Environmental Research and Public Health พบว่าการออกกำลังกายนั้นส่งผลต่ออารมณ์เชิงบวกในเด็กและวัยรุ่น โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมกิจกรรมทางกายนั้นมีอารมณ์เชิงบวกมากกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่มีกิจกรรมทางกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการออกกำลังกายแบบแอโรบิกเป็นเวลา ๓๐–๖๐ นาที ในวัยรุ่นอายุน้อยกว่า ๑๒ ปี ช่วยเพิ่มอารมณ์เชิงบวกมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดทำความรู้จักฮอร์โมนอารมณ์ดีที่ได้จากการออกกำลังกาย:โดปามีน (Dopamine) เป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยให้สมองส่งสัญญาณไปยังเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย ทำให้เซลล์ต่างๆ สื่อสารระหว่างกันได้ โดปามีนเป็นส่วนสำคัญของระบบการให้รางวัลของสมอง เกี่ยวข้องกับระบบประสาทหลายๆ ส่วน เช่น การเคลื่อนไหว และความรู้สึกพึงพอใจ เวลาที่ออกกำลังกาย สมองจะถูกกระตุ้นให้สร้างโดปามีน ทำให้เรารู้สึกดี มีความสุข และถ้าออกกำลังกายเป็นประจำก็ยิ่งกระตุ้นให้โดปามีนเพิ่มขึ้น ในการวิจัยทดลองแบบสุ่ม ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใหญ่ที่รักษาอาการใช้สารเสพติด โดยให้ทำกิจกรรมออกกำลังกาย เดิน และวิ่งจ๊อกกิ้ง เป็นเวลา ๑ ชั่วโมง สัปดาห์ละ ๓ ครั้ง หลังจาก ๘ สัปดาห์ผ่านไปตรวจพบสารโดปามีนในสมองเพิ่มขึ้น และทำให้รู้สึกดีมีความสุขได้โดยไม่ต้องพึ่งพาสารเสพติดเซโรโทนิน (Serotonin) ฮอร์โมนและสารสื่อประสาทนี้ช่วยควบคุมอารมณ์ให้เป็นปกติ ช่วยในการนอนหลับ เพิ่มความอยากอาหาร และการย่อยอาหาร ช่วยในการเรียนรู้ และความจำ มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Medical Hypotheses พบว่าการออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน เพื่อให้ร่างกายได้รับแสงแดด ช่วยกระตุ้นการผลิตสารเซโรโทนินในร่างกาย ผู้ที่มีเซโรโทนินต่ำมีแนวโน้มที่จะมีภาวะซึมเศร้าเอ็นโดรฟิน (Endorphin) ฮอร์โมนนี้ถือเป็นยาแก้ปวดตามธรรมชาติของร่างกายเลยก็ว่าได้ โดยร่างกายผลิตขึ้นจากต่อมใต้สมองและต่อมไฮโปทาลามัส เพื่อตอบสนองต่อความเครียด หรือความรู้สึกไม่สบาย ช่วยกระตุ้นความรู้สึกเชิงบวกในร่างกาย ช่วยให้เกิดความรู้สึกดี มีความสุข ทำให้อารมณ์ดีขึ้น ลดอาการซึมเศร้าและวิตกกังวลได้ ซึ่งการออกกำลังกายถือเป็นกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นการหลั่งสารเอ็นโดรฟินได้ดีออกซิโตซิน (Oxytocin) เป็นอีกหนึ่งฮอร์โมนที่ส่งผลเชิงบวกต่อร่างกาย ทำให้จิตใจสงบ ผ่อนคลาย เป็นที่รู้จักในชื่อของฮอร์โมนแห่งสายสัมพันธ์ เพราะช่วยกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกไว้ใจเชื่อใจ ผูกพัน และเอาใจใส่กันและกัน เช่น สายสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว หรือแม่ที่เพิ่งคลอดบุตรและให้นมบุตร ฮอร์โมนออกซิโตซินนอกจากจะถูกกระตุ้นผ่านการกอดและสัมผัสที่อบอุ่นแล้ว ยังพบว่าสามารถเพิ่มได้ผ่านการออกกำลังกาย ตัวอย่างงานวิจัยจากวารสาร Nature ในปี ๒๐๑๘ พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่เล่นกีฬาศิลปะการต่อสู้ที่ต้องมีการเคลื่อนไหวร่างกายไปพร้อมกับมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นนั้นมีระดับฮอร์โมนออกซิโตซินเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญการออกกำลังกายช่วยกระตุ้นให้เด็กๆ มีความสุขได้ผ่านฮอร์โมนสำคัญในร่างกาย พ่อแม่ควรสนับสนุน และสร้างสภาพแวดล้อมให้ลูกได้วิ่งเล่นเป็นประจำสม่ำเสมอ รวมถึงการกินดี และนอนพอ ที่ต้องทำร่วมกันอย่างสมดุล เพียงพอ และเหมาะสม จะช่วยให้เด็กๆ มีร่างกายแข็งแรง เติบโตสมวัย สุขภาพจิตดี เป็นพื้นฐานสำคัญทั้งในวันนี้และต่อไปในอนาคตtt ttขอเชิญชวนพ่อแม่ผู้ปกครองทุกท่าน มาสร้างความรู้ความใจที่ถูกต้องร่วมกัน ผ่าน “คู่มือเลี้ยงลูก ๖-๑๒ ปี ให้พัฒนาการดีรอบด้านด้วย สามเหลี่ยมสมดุล” ซึ่งภายในคู่มือนี้จะช่วยตอบข้อสงสัยในการเลี้ยงลูกให้สมดุล โดยเฉพาะสามสมดุลหลัก คือ การออกกำลังกาย การกินอาหาร และการนอนหลับ โดยเนื้อหาแบ่งให้เข้าใจง่าย และมีแบบฝึกหัดให้ลองปฏิบัติตามสามารถดาวน์โหลดมาอ่านกันได้ที่นี่ คลิกอ้างอิง: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC๙๖๕๗๕๓๙/https://www.insider.com/guides/health/mental-health/happy-hormoneshttps://www.nature.com/articles/s๔๑๕๙๘-๐๑๙-๔๙๖๒๐-๐?utm_medium=affiliate&utm_source=commission_junction&utm_campaign=CONR_PF๐๑๘_ECOM_GL_PHSS_ALWYS_DEEPLINK&utm_content=textlink&utm_term=PID๑๐๐๐๒๔๙๓๓&CJEVENT=๔๖๐d๔๖๘๐๘๙c๐๑๑ee๘๑f๙๐๔bf๐a๑๘b๘fcกดติดตามข้อมูลข่าวสาร แคมเปญที่น่าสนใจ และกิจกรรมดีๆ จาก สสส. เพิ่มเติมได้ที่ :Facebook : Social Marketing Thaihealth by สสส.Line : @thaihealththailandTiktok: @thaihealthYoutube: SocialMarketingTHWebsite : Social Marketing การตลาดเพื่อสังคม