คนกรุงคัดค้านร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ฉบับปรับปรุงครั้งที่ ๔ เผยประชาชนในพื้นที่ไม่เคยรู้ข้อมูล ส่วนเจ้าของที่ถูกเวนคืนไม่เคยรู้มาก่อน วอนร่วมร่างฉบับใหม่ จี้จัดทำร่างผังเมืองใหม่ โดยมีกระบวนการรับฟังประชาชนตั้งแต่ต้นวันที่ ๖ มกราคม ที่ผ่านมา กรุงเทพฯ จัดเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็นและปรึกษาหารือกับประชาชนเกี่ยวกับการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ ๔) หลังจากที่จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นมาแล้ว ๔ ครั้ง โดยเป็นเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งสุดท้าย ก่อนติดประกาศ แล้วให้ผู้ไม่เห็นด้วยมาคัดค้านภายใน ๙๐ วัน ก่อนประกาศบังคับใช้ผังเมืองฉบับปรับปรุงครั้งที่ ๔ โดยในเวทีมีประชาชนที่ได้รับผลกระทบออกมาคัดค้าน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการขยายถนนและถูกเวนคืนที่ดิน โดยไม่ได้แจ้งหรือรับข้อมูลจาก กทม. มาก่อนเลยสำหรับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากร่างใหม่ เครือข่ายภาคประชาชน จึงได้ออกมาร่วมกันคัดค้านร่างผังเมืองของกรุงเทพมหานคร พร้อมกับเรียกร้องให้มีการรับฟังความคิดเห็นและให้ประชาชนเข้ามาร่วมร่างผังเมืองอย่างแท้จริงtt ttนางรัชนี บูรณภาธนะ เจ้าของที่ดินมีนบุรี ซอยเสรีไทย ๖๖ เขต มีนบุรี ที่ได้รับผลกระทบกล่าวว่า ความเดือดร้อนที่เจอคือเจ้าหน้าที่วางผังเมืองขีดเส้นถนนทาบที่ดินในซอย ๖๖ เต็มพื้นที่ ๑๐ ไร่ ๓ งาน ๓๖ ตารางวา เป็นถนนทั้งหมด ซึ่งที่ดินแปลงนี้เป็นมรดกของคุณพ่อที่ต้องการให้ลูก ๔ คน ซึ่งไม่ทราบเลยว่าการวางผังเมืองไปทาบเอาที่ดินของตนเอง โดยผู้วางผังเมืองไม่เคยแจ้งให้ทราบ แม้แต่ครั้งเดียวว่าจะวางผังเมืองในที่ดินผืนดังกล่าว และทำไปโดยพลการ ดังนั้นตนจึงไม่ยอมให้ทำเป็นถนนโดยเด็ดขาดส่วนผู้ได้รับผลกระทบอีกรายคือ นางดาริณ สิริสุวรรณกิจ พร้อมด้วยชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากแนวเวนคืน ฉ.๔ ที่จะมีการตัดถนน กล่าวว่า พื้นที่เอกชัย ๓๑/๑ บ้านถูกเวนคืนโดย พระราชกำหนด ๓๑ พ.ค. ๖๖ แนวเวนคืน ฉ.๔ ซึ่งตนไม่เคยได้รับจดหมายแม้แต่ฉบับเดียว และไม่เคยรับรู้ว่ามีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น ไม่เคยรับรู้อะไร ตอนนี้ทางกลุ่มกำลังรอจดหมายจาก กทม. เพื่อที่จะนำไปยื่นต่อศาลปกครอง“เวนคืนบ้านเราทำแบบนี้ได้หรือ ก่อสร้างถนน ๑ หมื่นล้าน ไม่มีแม้แต่กระดาษใบเดียวที่จะแจ้งประชาชน ไม่เคยได้รับจดหมายแม้แต่ฉบับเดียว ไม่เคยรับรู้เวทีรับฟังความคิดเห็น ไม่เคยรับรู้อะไร คุณจะมาเอาบ้านเราไป แต่คุณยังไม่บอกเราเลย”tt ttกทม.ควรรื้อร่างแผนวางผังเมืองใหม่ โดยฟังเสียงประชาชนนายโสภณ หนูรัตน์ หัวหน้าฝ่ายคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ์ สภาผู้บริโภค กล่าวว่า การร่างผังเมืองที่นำมารับฟังความคิดเห็น มีกระบวนการที่ผิดขั้นตอน ไม่ได้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อน ซึ่งกระบวนการที่ถูกต้องควรต้องรับฟังประชาชนก่อนว่าต้องการผังเมืองแบบไหน แต่การร่างเสร็จแล้วค่อยมาบอกว่าเห็นด้วยหรือไม่ จึงถือเป็นการผิดขั้นตอนนายก้องศักดิ์ สหะศักดิ์มนตรี เครือข่ายชุมชนปกป้องคุณภาพชีวิตคนเมือง กล่าวว่า กระบวนการร่างผังเมืองเริ่มต้นผิด ไม่ได้เริ่มจากการรับฟังประชาชนก่อน เพราะประชาชนไม่รู้เรื่องการร่างผังเมืองฉบับวิปริตนี้ จนร่างผังเมืองเสร็จแล้วค่อยนำมารับฟังความคิดเห็น ซึ่งตามกฎหมายผังเมือง มาตรา ๙ ระบุให้รับฟังประชาชนก่อน แต่ประชาชนไม่รู้เรื่องและไม่เข้าใจ ซึ่งคือ จุดอ่อนของร่างผังเมืองฉบับนี้ที่ชาวบ้านไม่รู้ข้อมูลเลย“ผมขอถามว่า ในการร่างผังเมืองที่ขีดเส้นการเวนคืนถนน ๑๔๘ สาย ระยะทาง ๖๐๐ กว่ากิโลเมตร ที่พาดผ่านหลังคาบ้านประชาชน แต่ประชาชนไม่รู้เรื่องเลย แล้วใครเป็นคนขีดเส้นถนนกว้าง ๑๒ เมตร ๑๖ เมตร ๒๐ เมตร ๓๐ เมตร ๔๐ เมตร ถามประชาชนหรือยัง ช่วยมาถามประชาชนก่อนได้ไหม ประชาชนจะได้ประโยชน์อะไรจากถนนที่กว้างขึ้น นอกจากบริษัทอสังหาริมทรัพย์”ด้าน นายกรณ์ จาติกวณิช ตัวแทนภาคประชาชน กล่าวว่ากระบวนการและสาระของผังเมืองที่ กทม. เสนอก็มีปัญหา สะท้อนให้เห็นเจตนารมณ์ของผู้ร่างฯ โดยกระบวนการที่มีไม่ได้ทำให้ประชาชนเข้าใจในสิ่งที่ กทม. นำเสนอ ควรรับฟังประชาชนว่าแบบที่ กทม. เสนอมีข้อบกพร่องอย่างไร ไม่ได้มีการถามประชาชนอย่างจริงจังว่าแบบที่ประชาชนต้องการอะไรtt ttนายกรณ์ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า เจตนารมณ์ของผังเมือง ที่มาและประโยชน์ของการเปลี่ยนแผนผัง ของ กทม. ผู้ได้ประโยชน์มากสุดคือนายทุนและผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จะขยายถนน ๑๔๘ เส้นทาง วัตถุประสงค์สำคัญคือการเพิ่มโอกาสสร้างตึกสูงในพื้นที่อยู่อาศัยของพี่น้องประชาชนที่มีความแออัด ไม่ว่าจะเป็นการลดพื้นที่ซับน้ำที่เป็นการเปิดช่องจากนายทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขยายพื้นที่ได้ขณะที่ นายภัณฑิล น่วมเจิม สส.พรรคก้าวไกล เขตคลองเตย-วัฒนา กล่าวว่า การร่างผังเมือง ฉบับนี้ไม่มีกระบวนการรับฟังเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง มีประชาชนจำนวนมากไม่เข้าใจและไม่รับรู้เรื่องผังเมือง ซึ่งตามหลักการแล้ว ผังเมืองเป็นกติกาในการอยู่ร่วมกันของชาว กทม. เนื่องจากมีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง จึงอยากให้กระบวนการรับฟังความคิดเห็นเกิดขึ้นอย่างแท้จริง และมีวิธีการในการสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจผังเมืองมากขึ้นtt ttร่างผังเมืองกรุงเทพฯ ฉบับใหม่ค้างคามาถึงปัจจุบันตามที่กรุงเทพมหานครซึ่งมีสำนักการวางผังและพัฒนาเมืองเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ได้ดำเนินการเพื่อออกข้อบัญญัติท้องถิ่นในการบังคับใช้ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครภายใต้พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.๒๕๖๒ แต่เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้อยู่ภายใต้บังคับของรัฐธรรมนูญ ดังนั้นในการวางผังเมืองทุกระดับ ซึ่งนอกจากจะต้องสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่แล้ว การวางและจัดทำผังเมืองรวมจะต้องดำเนินการไป โดยคำนึงถึงผู้ที่จะได้รับผลกระทบในผังแต่ละประเภท และต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารด้วยวิธีการที่หลากหลายและทั่วถึง จึงมีการเรียกร้องดังต่อไปนี้๑. ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่๔) ตั้งแต่ฉบับเดิม ที่ได้ถูกจัดทำขึ้นมาไว้ตั้งแต่ปี ๒๕๖๐-๒๕๖๒ ขาดการประชาสัมพันธ์อย่างชัดเจน ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่ขาดการรับรู้ และมีส่วนร่วมอย่างชัดเจน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและหน่วยงานเครือข่ายภาคประชาชนได้เคยทำหนังสือทักท้วงไปทั้งในส่วนเนื้อหา และกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ตั้งแต่วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒๒.ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ ๔) ฉบับเดิมต้องชะลอการประกาศบังคับใช้ออกไป เพื่อไปปรับปรุงเนื้อหาและจัดทำร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร(ฉบับปรับปรุงครั้งที่๔) ขึ้นมาใหม่ให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.๒๕๖๒ ที่ถูกประกาศออกมาใหม่เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๒๓. กระบวนการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ ๔) ได้กลับมาเริ่มกระบวนการจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนกันใหม่ตั้งแต่ต้นปี ๒๕๖๖ จนถึงการประชุมเมื่อวันที่ ๒๓ และ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๖ รวมถึงที่จัดขึ้นในวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๗ ยังคงล้มเหลวในการประชาสัมพันธ์ อย่างจงใจที่จะไม่ให้ประชาชนได้รับรู้อย่างทั่วถึง และ เป็นการจัดขึ้นเพื่อให้ประชาชนเข้ามาเป็น “ผู้รับฟังการบรรยาย” ในชุดร่างผังเมืองรวมสำเร็จรูปฉบับเดิม ที่ถูกจัดทำมาตั้งแต่ปี ๒๕๖๐ มากกว่า“การรับฟังความคิดเห็น” จากประชาชน และไม่ได้มีการปรึกษาหารือที่จะเข้าไปถึง “การมีส่วนร่วมของประชาชน” อย่างแท้จริง .