วันศุกร์, 8 พฤศจิกายน 2567

ช่องโหว่เสี่ยแป้ง หลบหนี นักโทษแหกคุกซ้ำๆ อัปยศคอร์รัปชัน ประมาทเลินเล่อ

13 ธ.ค. 2023
59

ปรากฏการณ์หลบหนีออกจากคุก ยังคงเป็นสิ่งที่เกิดซ้ำต่อเนื่องในประเทศไทย หลังจากการหลบหนีและการไล่ล่านักโทษอย่าง นายเชาวลิต ทองด้วง หรือ “เสี่ยแป้ง นาโหนด” นอกจากจะหลบหนีออกมาได้แล้วยังปล่อยคลิปออกมากระแทกความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมไทยอีกด้วย ท่ามกลางความพยายามเสาะหาและตามจับกุมอย่างทุ่มเทแต่ยังไม่ทันไรก็มีเหตุการณ์แบบตามสุภาษิตไทยที่เกิดขึ้นกับราชทัณฑ์ เรียกว่า “ความวัวยังไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรก” มีการหลบหนีของนักโทษจากโรงพยาบาลที่ชลบุรีอีก แม้ว่าในเวลาต่อมาจะสามารถจับกุมและควบคุมตัวกลับไปแล้วก็ตาม tt ttเสี่ยแป้ง นาโหนด หนีจากโรงพยาบาล จนถึงขณะนี้ยังไม่พบตัวการหลบหนีของนักโทษในวงการไทย เรียกกันว่า “แหกหัก” ส่วนในต่างประเทศ ก็จะมีคำเฉพาะที่เรียกขาน การหลบหนีของนักโทษ (Prison Escape) ว่า “Prison Break” หรือ “Jail Break” ทำให้สังคมเริ่มตั้งคำถามว่า มันเกิดอะไรขึ้น? ควันหลงจากการหลบหนีของเสี่ยแป้ง ยังไม่ทันจางแบบ “The same story that over again and again” โดยข้อเท็จจริงในต่างประเทศ การหลบหนีออกจากคุกเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง แต่ถูกมองข้าม ผลลัพธ์ที่เกิดนั้นท้าทายความเข้าใจของสังคมไม่น้อยที่พยายามจะทำความเข้าใจ tt tt“ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด็อกเตอร์ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล” อดีตประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ปริญญาโทและปริญญาเอก  นานาชาติ สาขาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยมหิดล ชี้ว่า การหลบหนีมักเป็นเหตุการณ์ที่สะเทือนอารมณ์และรุนแรง เพราะการหลบหนีออกจากสถานที่คุมขังในสภาพปัจจุบัน ไม่ได้ลดลงและมีตัวกระตุ้นความกล้ามากขึ้น แน่นอนว่าการหลบหนีนั้นส่วนใหญ่มีการวางแผน การไตร่ตรอง และการตระเตรียมรวมทั้งการได้รับความช่วยเหลือ ไม่ว่าในรูปแบบทางเทคนิค และตระหนักรู้ช่องทางที่เป็นจุดอ่อน การดำเนินการอย่างมีไหวพริบ การแหกหักหรือแหกคุกดังกล่าวเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของเรือนจำ สถานกักขังอื่นๆ อาจรวมทั้งการเข้มงวดในการคุมขังและชีวิตของทั้งผู้กระทำความผิดอื่นๆ ที่ยังอยู่ในเรือนจำ กระทบเจ้าหน้าที่เรือนจำ ตำรวจ และประชาชนในต่างประเทศมีการศึกษาวิจัยในทางอาชญาวิทยาและกระบวนการยุติธรรมจำนวนมาก ถึงเรื่องการที่ผู้ต้องขังหรือนักโทษหลบหนี เพื่อนำผลการศึกษามาใช้ประโยชน์ในเชิงการป้องกัน การพยาการณ์หรือทำนายแรงจูงใจ เงื่อนไขต่างๆ มีผลการศึกษาทั้งทางด้านแรงจูงใจในการหลบหนี เงื่อนไขและปัจจัยต่างๆ ที่น่าสนใจว่า ด้านตัวบุคคล ในด้านแรงจูงใจที่จะหลบหนี คือ ความต้องการอิสระในการดำเนินชีวิตtt ttนักโทษชายหลบหนีจากโรงพยาบาลที่ชลบุรี แต่ไม่รอดกดดัน เครียด โดนบังคับ-รังแก อยู่ไม่ได้ต้องแหกคุกส่วนในแง่ของจิตวิทยาอาชญากรรม เป็นเรื่องของตัวบุคคล ซึ่งโดยหลักพื้นฐานมนุษย์นั้นคนเราต้องการการมีอิสรภาพ หรือเสรีภาพในการแสวงหาความสะดวกสบาย ขณะที่การถูกกักขังในเรือนจำนั้น ในทางจิตวิทยา ถือว่าเรือนจำเป็นพื้นที่ที่มีความขัดสน เป็นพื้นที่ที่ตอกย้ำความรู้สึกโดดเดี่ยว หรือ Lonely feeling สิ่งที่เกิดขึ้นสำหรับจิตใจผู้ต้องขังนั้น ไม่เพียงแต่การที่จะต้องปรับตัวเรียนรู้สภาพแวดล้อมใหม่ๆ ที่ความรู้สึกหวาดกลัวอันตรายการถูกคุกคามน่าสะพรึงกลัว ผสมผสานความรู้สึกสูญเสียที่ประดังเข้ามา พร้อมกับการหายไปของอิสรภาพในพื้นที่โดดเดี่ยว โดยเฉพาะผู้ที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์เข้ามาอยู่ในเรือนจำ จะรู้สึกเกิดความกดดันและความเครียด และมีผลการวิจัยพบว่าผู้ที่เข้ามาในเรือนจำ ๒-๓ สัปดาห์แรก มีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตายหรืออาจจะมีประสบการณ์แต่มีภาระผูกพัน การกลัวการสูญเสียอำนาจ บารมี การสูญเสียความจงรักภักดี ในขณะที่ในเรือนจำนั้นความรู้สึกสูญเสียจากการที่มีอิสรภาพ ไม่มีมีอำนาจจะทำอะไรได้ตามต้องการ ไปสู่การไร้การต่อรอง การถูกบีบบังคับ ความรู้สึกโดดเดี่ยวจากญาติมิตร ซึ่งอาจจะรวมถึงการถูกรังแกต่างๆ และยังพบว่าผู้ต้องขังที่พยายามจะหลบหนี หรือ “แหกหัก” มักจะเป็นคนที่มีบุคลิกภาพพื้นฐานแบบกระตือรือร้น เป็นพวกชอบเสี่ยง ขาดความยับยั้งชั่งใจ หุนหันพลันแล่น และไม่ยอมจำนนต่อสภาพที่มีอยู่ tt ttช่องโหว่นักโทษหลบหนี บทเรียนราชทัณฑ์ ต้องทบทวนปัจจัยที่เกี่ยวข้องก็มักจะประกอบด้วยความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่ ซึ่งบางครั้งก็เกิดจากการมีพฤติกรรมที่ทำประจำสม่ำเสมออาจจะเป็นช่องโหว่ และมีปัจจัยเรื่องของความผุพังของอาคาร โรงเรือน หรือวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งง่ายต่อการทำลาย อาจจะรวมถึงการมีนักโทษอยู่ในเรือนจำที่มากไปจนแออัดในลักษณะที่เป็นแบบคนล้นคุก และมักจะรวมถึงปัจจัยในการบริหารจัดการเรือนจำที่ไม่ดีพอ อาจรวมไปถึงเงื่อนไขในเรื่องของการทุจริตคอร์รัปชันของเจ้าหน้าที่ต่างๆ ด้วยเช่นกันในแง่เงื่อนไขต่างๆ ที่พบ มักจะพบว่ามีเงื่อนไขต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสำคัญ ได้แก่ การที่จะมีการวางแผน หรือไตร่ตรองในเรื่องของการหลบหนีและแสวงหาโอกาสหรือช่องทาง จะนำไปสู่ในเงื่อนไขของการแสวงหาเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อช่วยให้การทำลายสิ่งควบคุม หรือพันธนาการเพื่อการหลบหนีนอกจากนี้ ถ้าในเรือนจำมีกฎระเบียบที่ใช้อย่างสม่ำเสมอ ไม่มีการสลับปรับเปลี่ยน ทำให้สามารถคาดเดาในเรื่องการหาช่องโหว่ของพื้นที่ เวลา สถานที่ต่างๆ เพื่อการหลบหนีได้ ประกอบกับสภาวะแวดล้อมภายในที่เอื้อต่อการหลบหนี เช่น การมีกลุ่มเพื่อนพรรคพวกที่สามารถช่วยเหลือสนับสนุนหรือช่วยดูต้นทาง ก็ทำได้ง่ายขึ้น tt tt“มีข้อเท็จจริงว่าผู้ที่มักจะมีการหลบหนีจากที่คุมขัง หรือเรือนจำ มักจะเป็นผู้ชาย และมีอายุอยู่ระหว่าง ๓๕ ถึง ๔๐ ปี กลุ่มเหล่านี้อาจจะมีปัญหาในเรื่องของครอบครัว หรือมีปัญหาในเรื่องของภาระความรับผิดชอบที่มีอยู่ภายนอก ผู้ต้องขังส่วนใหญ่จะใช้การหลบหนีทางช่องแอร์ ช่องแสง ทางระบายน้ำ การเปิด หรือทำลายกุญแจ”ผลจากการหลบหนีทางหน่วยงานด้านราชทัณฑ์ จะต้องหันกลับมาทบทวนมีการนำเอาหลักการบริหารจัดการความเสี่ยง นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยทั้งการป้องกัน การเฝ้าระวัง ระบบการเตือนเมื่อหลบหนี เช่น หากมีการตัดโซ่ตรวนออก จะมีสัญญาณส่งไปแจ้งเตือน การใช้สายวงในที่เป็นนักโทษหรือผู้ต้องขังด้วยกันหาข่าว รวมทั้งการเรียนรู้ หรือถอดบทเรียนที่เกิดขึ้นจากที่ต่างๆ มาดำเนินการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุ เป็นต้น.