วันพฤหัสบดี, 7 พฤศจิกายน 2567

ตรวจการบ้านรัฐบาลแก้ฝุ่น ปี ๒๕๖๗ ส่อเค้าโหมหนัก

11 ม.ค. 2024
56

ปัญหาฝุ่นพิษ PM๒.๕ “ประเทศไทยยังอยู่ระดับวิกฤติติดอันดับโลก” สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมหาศาลเฉพาะ “ครัวเรือนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล” ต้องสูญเสียไปกว่า ๔.๓๖ แสนล้านบาท/ปีสาเหตุหลักคงหนีไม่พ้นปัญหาไฟป่า ควันข้ามแดน มลพิษการขนส่ง-อุตสาหกรรม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แม้ในช่วงปีที่ผ่านมานั้น“รัฐบาลยกระดับปัญหาเป็นวาระแห่งชาติ” ด้วยการกำหนดมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพ และการบริหารจัดการมลพิษเชิงพื้นที่ออกมาบังคับใช้มากมายหลายโครงการแต่ก็ดูเหมือนว่า “การแก้ปัญหายังคงไร้ผล” ด้วยสถานการณ์ฝุ่นมีแนวโน้มสูงขึ้นกระทบต่อสุขภาพประชาชนในหลายพื้นที่ตามข้อมูล “กระทรวงสาธารณสุข” ตั้งแต่วันที่ ๑ ม.ค.-๑๙ มีนาคม๒๕๖๖ มีผู้ป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศราว ๑.๗ ล้านคน กลุ่มโรคพบสูงสุด คือ โรคทางเดินหายใจ โรคผิวหนังอักเสบ และโรคตาอักเสบtt ttรศ.ด็อกเตอร์วิษณุ อรรถวานิชการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษนี้ รองศาสตราจารย์ด็อกเตอร์วิษณุ อรรถวานิช คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บอกว่า สถานการณ์ฝุ่น PM๒.๕ ในปี ๒๕๖๗ มีแนวโน้มรุนแรงใกล้เคียงปีที่แล้ว ถ้าสังเกตลักษณะฝุ่นจะก่อตัวมาตั้งแต่เข้าฤดูหนาวปลายปี ๒๕๖๖ สะสมเพิ่มความเข้มข้นขึ้นมาเรื่อยๆทำให้ช่วงสัปดาห์แรกของเดือน มกราคม๒๕๖๗ เป็นต้นไป “ฝุ่น PM๒.๕ เริ่มยกระดับความเข้มข้นสูงขึ้น” สามารถสังเกตจากจุดฮอตสปอตเกิดการเผาของเกษตรกรในประเทศอย่างต่อเนื่อง “ก่อควันพิษเคลื่อนตัวมาสมทบกับฝุ่นในพื้นที่ต่างๆ” ขณะที่ตอนนี้ก็พบว่า “จุดความร้อนในกัมพูชา” ค่อนข้างกระจายตัวเยอะมากเรื่อยๆเสมือนส่งสัญญาณว่า “ฝุ่นควันจากประเทศเพื่อนบ้านกำลังข้ามพรมแดนเข้ามาประเทศไทย” ที่มักจะเริ่มกระทบในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล “อันเป็นช่วงเกิดปรากฏการณ์ฝาชีครอบต่ำ” บวกกับมีปัญหาฝุ่นควันไอเสียรถยนต์ดีเซลในระบบที่เพิ่มขึ้นทุกวัน ทำให้ฝุ่นข้ามแดนมาสมทบฝุ่นพื้นที่จนมีปริมาณหนาแน่นมากขึ้นแม้ว่าที่ผ่านมาจะเริ่มเห็น “มาตรฐานน้ำมันยูโร ๕” ถูกบังคับใช้ในกลุ่มเบนซิน และแก๊สโซฮอล์มาตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม๒๕๖๗ “ตามนโยบายลดปัญหามลพิษทางอากาศ” เรื่องนี้ก็ยังเป็นความท้าทายใหม่ที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิดว่า “รัฐบาล” จะสามารถดำเนินการตามคำประกาศได้ร้อยเปอร์เซ็นต์หรือไม่…?tt ttเพราะหากย้อนดูนโยบายนี้ “ถูกเลื่อนมาตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ และปี ๒๕๖๕ ก่อนประกาศบังคับใช้ได้ในปี ๒๕๖๗” แล้วก็เชื่อว่ามาตรฐานน้ำมันยูโร ๕ “ไม่สามารถจะช่วยลดปัญหาฝุ่น PM๒.๕ ได้มาก” เนื่องจากสต๊อกรถยนต์ดีเซลที่ซื้อก่อนวันที่ ๑ มกราคม๒๕๖๗ ยังเป็นมาตรฐานน้ำมันยูโร ๔ หรือยูโร ๓ ยูโร ๒ ออกมาวิ่งอยู่บนถนนเต็มไปหมดพูดง่ายๆ “แม้ว่านํ้ามันยูโร ๕ จะบังคับใช้ได้ ๑๐๐%” แต่ในระบบกรมการขนส่งทางบกยังคงมีรถยนต์เป็นแหล่งกำเนิดฝุ่น PM๒.๕ ในปริมาณมากโดยไม่ได้รับการแก้ไข ทำให้ปัญหาฝุ่นพิษยังเยอะอยู่เหมือนเดิมตอกย้ำด้วย “ภาคเกษตร” ที่มีการเผาวัสดุการเกษตรทั้งในที่โล่ง และที่ไม่โล่งอยู่มากมาย “ภาครัฐกลับไม่มีนโยบายการแก้ปัญหาการเผาเป็นรูปธรรม” คงปรากฏแค่เพียงไม่นานมานี้ “นายกฯ” ได้ประกาศกำหนดเป้าหมายในการลดการเผาพื้นที่เกษตรลง ๕๐% ในฤดูฝุ่นครั้งนี้ที่เป็นเรื่องทำได้สำเร็จค่อนข้างลำบากเนื่องจากปัจจัย “งบประมาณไม่ได้เตรียมไว้ล่วงหน้า” จะเกิดปัญหาการเบิกจ่าย ทั้งโครงสร้างพื้นฐานอย่างอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร และการช่วยเหลือเกษตรกรต้องใช้เวลาเตรียมพร้อมไม่ต่ำกว่า ๑ เดือนยิ่งกว่านั้นคือ “แหล่งกำเนิดฝุ่น PM๒.๕ ที่แท้จริงยังมิได้ถูกแก้ไข” อย่างกรณีการเผาอ้อยแม้ว่า “รัฐบาล” ออกมาตรการอุดหนุนเกษตรกรตัดอ้อยสดในอัตรา ๑๒๐ บาท/ตัน แต่ถ้าสังเกตปีที่แล้วการเผาก็ยังสูงเช่นเดิมต่อมาคือ “การเผาตอซังข้าวและไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์” เพราะเป็นวิธีที่ง่ายประหยัดแรงงาน และค่าใช้จ่ายสำหรับเกษตรกร “ผู้มีรายได้น้อย” ประเด็นนี้ ก็ไม่มีมาตรการใดออกมาเหมือนกับ “การลดการเผาอ้อยในการอุดหนุนเกษตรกรด้วยซ้ำ” ส่งผลให้การแก้ปัญหาลดการเผาอาจไม่สัมฤทธิผลก็ได้tt ttซ้ำร้ายในส่วน “ภาคป่าไม้” ที่ผ่านมาปรากฏพบเห็นบางพื้นที่มีการเผาเพื่อหาของป่า การเผาบุกรุกป่าจับจองพื้นที่ทำมาหากิน แล้วยิ่งในปี ๒๕๖๗ “ประเทศไทยต้องเผชิญปรากฏการณ์เอลนีโญ” ทำให้ปริมาณฝนตกน้อยจนเกิดความแห้งแล้งแนวโน้มการเกิดไฟป่าก็จะรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะป่าเผาไหม้ ๑๐ แห่งในภาคเหนืออย่างไรก็ดี ในปีนี้ “รัฐมนตรีว่าการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” ได้กำหนดให้เร่งดำเนินการเจาะจงพื้นที่นี้เพื่อลดการเผา ๕๐% จากปี ๒๕๖๖ ทำให้เจ้าหน้าที่ต่างตื่นตัวกระฉับกระเฉง อันจะช่วยบรรเทาปัญหาระดับหนึ่งได้ แต่ด้วยมาตรการมุ่งเน้นไปกดดัน “บังคับสั่งการผู้ว่าฯ หรือนายอำเภอ” การแก้ปัญหาอาจจะไม่เกิดผลสำเร็จก็ได้หนำซ้ำอย่าลืมว่า “มิติโครงสร้างพื้นฐานของปัญหายังมิได้ดำเนินการแก้ไขให้เกิดความยั่งยืนถาวร” ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงบประมาณมีเพียงพอหรือไม่ หรือมาตรการส่งเสริมให้ชุมชนเกิดการปรับตัว ทำให้เกษตรกรยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ สุดท้ายก็จะพากันเข้าไปหาของป่า และเผาบุกรุกป่าจับจองพื้นที่ทำมาหากินเหมือนเดิมจริงๆแล้ว “หากดูแผนการลดการเผาของภาครัฐ” ส่วนใหญ่กำหนดมาตรการแนวทางแก้ปัญหาไว้ครอบคลุมทุกมิติแล้ว ทั้งเรื่องการไถกลบตอซัง หรือนำเศษซากพืชมาสร้างมูลค่า การเปลี่ยนเป็นพลังงานชีวมวล และการนำมาทำปุ๋ยอินทรีย์ “แต่โครงการเหล่านี้ทำอยู่ ๒-๓ หมื่นไร่/ปี” สวนทางกับการเผาที่เกิดขึ้นเป็นล้านไร่/ปีtt ttสิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่า “โครงการแก้ปัญหาแหล่งกำเนิดฝุ่น PM ๒.๕ เป็นเพียงโมเดล” ที่ไม่สามารถขยายผลครอบคลุมทั่วประเทศได้ “ในแง่ลดการเผาภาคการเกษตร” จึงยังไม่มีประเด็นเปลี่ยนไปจากเดิมที่เคยกระทำกันมาในทุกปี “เว้นแต่ภาคป่าไม้เริ่มขยับลดการเผาป่า ๕๐%” แต่เสียดายตื่นตัวกันในช่วงใกล้ถึงฤดูการเกิดฝุ่นแล้วเหตุนี้ทำให้ยังไม่สามารถปิดช่องว่าง “ต้นตอแหล่งกำเนิดฝุ่นพิษ PM๒.๕ ในปี ๒๕๖๗ ได้ทัน” ยกเว้นแต่จะพัฒนาดำเนินการไปอย่างต่อเนื่อง แล้วผลที่ทำนั้นอาจจะช่วยบรรเทาปัญหาฝุ่นในปี ๒๕๖๘เช่นเดียวกับ “ภาคอุตสาหกรรม” ที่ยังพบโรงงานอุตสาหกรรมปล่อยมลพิษทางอากาศปริมาณมาก “ในแง่การแก้ปัญหากลับไม่มีความคืบหน้า” เพราะหน่วยงานรัฐเน้นตรวจโรงงานขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่ค่อนข้างมีมาตรฐาน “การดูแลสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดีอยู่แล้ว” มิฉะนั้นจะมีผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าได้ปัญหาอยู่ที่ “โรงงานขนาดกลาง-ขนาดเล็กเดินเครื่องทำงาน ๒๔ ชม.” เป็นแหล่งกำเนิดฝุ่น PM๒.๕ ค่อนข้างมาก “ไม่มีแนวโน้มจะลดการปล่อยลงด้วยซ้ำ” แต่เรากลับไม่มีข้อมูลทราบเลยว่า “โรงงานเหล่านี้ปล่อยมลพิษออกมาปีละเท่าใด” เพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่มีระบบการติดตามตรวจสอบเรื่องนี้ทำให้ปัจจุบัน “เป็นจุดอ่อนกล่องดำ” ที่ไม่อาจเข้าถึงข้อมูลตรวจวัดการปล่อยฝุ่น PM๒.๕ ได้เหมือนเดิมเมื่อเทียบกับ “ภาคการเกษตร” ยังสามารถวัดความร้อนจากดาวเทียมได้tt ttถัดมาคือ “ฝุ่นข้ามพรมแดน” โดยเฉพาะภาคเหนือมักเกิดปัญหาในเดือน ธ.ค.-เม.ย. มีต้นกำเนิดจากการเผาในประเทศเพื่อนบ้าน “นับแต่บ้านเรากำหนดฝุ่นเป็นวาระฝุ่นแห่งชาติ” มีการเข้มงวดการเผาจนนายทุนไทยเคลื่อนย้ายการเพาะปลูกไปประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศไทยนำเข้าข้าวโพดจากเมียนมาเป็นอันดับ ๑สุดท้ายแล้ว “ฝุ่นควันก็ปลิวข้ามพรมแดนเข้าประเทศ” เป็นปัญหาการเผาไม่รู้จบ จนปีนี้ “รัฐบาลไทย” เริ่มพูดถึงมาตรการจะไม่อนุญาตนำเข้าข้าวโพดในแปลงเกษตรที่มีการเผา “แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่มีระบบตรวจสอบย้อนหลังการนำเข้านั้น” ทำให้เป็นเพียงการเขียนเสือให้วัวกลัวไม่มีหลักฐานดำเนินการกับใครได้ส่วนภาคใต้จะเกิดตั้งแต่เดือน มิ.ย.-ส.ค. จากการเผาในอินโดนีเซียส่งผลกระทบหลายจังหวัดภาคใต้นี่เป็นการย้ำว่าแหล่งกำเนิดปัญหา “มิได้พัฒนาลดการปล่อย” บวกกับปัจจัยไทยต้องเผชิญเอลนีโญฝนน้อย ส่งผลให้การเผาทำได้ง่ายขึ้น สะท้อนถึงปี ๒๕๖๗ สถานการณ์ฝุ่น PM๒.๕ จะเข้มข้นรุนแรงหนัก.คลิกอ่านคอลัมน์ “สกู๊ปหน้า ๑” เพิ่มเติม