วันศุกร์, 8 พฤศจิกายน 2567

“ตะวัน” โผล่ศาลอาญา ลั่นไม่กลัวกำลังจะมีหมายจับ ยันไม่มีพรรคการเมืองอยู่เบื้องหลัง

ทานตะวัน-สายน้ำ ทะลุวัง เดินทางมาศาลอาญา มาให้กำลังใจ ๒ นักข่าวที่ถูกจับ ท้าเจ้าหน้าที่มาจับเลย ไม่ได้หนี ระบุยังไม่ทราบถูกยัดข้อหาอะไรบ้าง และโดนกี่ข้อหา ยันสิ่งที่ทำไม่มีพรรคการเมืองใดอยู่เบื้องหลังวันที่ ๑๓ ก.พ. ๒๕๖๗ ที่ศาลอาญา น.ส.ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ ผู้ต้องหาหลายคดีนักกิจกรรม เดินทางมาศาลอาญาเพื่อแสดงตัวหลังจากมีข่าวว่าตำรวจนครบาลจะมาขอออกหมายจับแล้ว มีนายเอกชัย หงส์กังวาล มาร่วมสร้างสีสันนายกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน พร้อมด้วย น.ส.คุ้มเกล้า ส่งสมบูรณ์ ทนายความจากศูนย์เพื่อสิทธิมนุษยชนเดินทาง มายังศาลอาญา ในคดีที่มีการยื่นคำร้องฝากขัง นายณัฐพล เมฆโสภณ ผู้สื่อข่าวประชาไท และนายณัฐพล พันธ์พงส์สานนท์ นักข่าวและช่างภาพอิสระ ถูกจับกุมตามหมายจับของศาลอาญา ลงวันที่ ๒๒ พ.ค. ๒๕๖๖ โดนตำรวจจาก สถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง  ในคดีตาม พระราชบัญญัติโบราณสถานโดย น.ส.คุ้มเกล้า กล่าวว่าหมายจับออกโดยศาลอาญาเมื่อวันที่ ๒๒ พ.ค. ๒๕๖๖ เป็นการออกหมายจับหลังจากเหตุเกิดเมื่อวันที่ ๒๖ มี.ค. ๒๕๖๖ จากกรณีที่มีนักกิจกรรมได้พ่นสีข้อความเชิงสัญลักษณ์บนกำแพงวัดพระแก้ว ซึ่งคดีมีการฟ้องแล้วอยู่ระหว่างสืบพยานในศาล แต่กลับมีการออกหมายจับนักข่าว ๒ คนจากสำนักข่าวประชาไท และสำนักข่าวออนไลน์แห่งหนึ่ง ทั้งที่เวลาผ่านไปกว่า ๑ ปีโดยข้อหาที่โดนแจ้งเป็นผู้สนับสนุนทำลายโบราณสถาน ตาม พระราชบัญญัติโบราณสถานมีโทษจำคุกไม่เกิน ๗ ปีปรับไม่เกิน ๗ แสนบาท ซึ่งในการลงโทษฐานสนับสนุนจะไม่สูงเท่าตัวการ โดยผู้สนับสนุนจะมีโทษ ๓ ใน ๔ ของโทษเต็มซึ่งถือว่ายังเป็นโทษที่สูง ในชั้นสอบสวนผู้ต้องหาให้การปฏิเสธ โดยให้การว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนและช่างภาพเพื่อนำเสนอข้อเท็จจริง เพื่อที่จะนำพิจารณาในชั้นสอบสวนไปถึงพนักงานอัยการต่อไป เมื่อวานนี้ทางทนายความได้ขอยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นสอบสวนซึ่งมองว่าจากข้อหาความผิดในคดีและไม่มีพฤติการณ์หลบหนี โดยการออกหมายจับไม่ใช่ออกเพราะจะหลบหนี แต่เป็นการออกหมายจับเพราะฐานความผิดโทษเกิน ๓ ปี ซึ่งพนักงานสอบสวนมีเหตุที่จะให้ประกันในชั้นสอบสวนได้ แต่กลับไม่ให้ประกันและนำตัวมายื่นฝากขัง ซึ่งการฝากขังควรต้องมีเหตุจึงฝากขังได้ แต่คดีนี้ผ่านมา ๑ ปีการสืบสวนสอบสวนควรต้องแล้วเสร็จไปแล้ว ก็เป็นสิทธิ์ของผู้ต้องหาที่จะมีการยื่นคัดค้านการฝากขังซึ่งแม้อาจจะใช้ระยะเวลานานบ้างในวันนี้ แต่ผู้ต้องหาประสงค์ให้ยื่นเพราะไม่เห็นด้วยกับการดำเนินคดีฝากขังจากการทำหน้าที่นักข่าวในครั้งนี้ แต่ทางทนายก็จะถามความยินยอมว่าจะขอให้ทนายคัดค้านการฝากขังหรือยื่นประกันตัวเลย เมื่อถามถึงเหตุที่พนักงานสอบสวนไม่ให้ประกันตัว น.ส.คุ้มเกล้า กล่าวว่า พนักงานสอบสวนระบุว่ามีหมายจับและคดีมีอัตราโทษจำคุกเกิน ๓ ปีจึงให้เป็นอำนาจศาลพิจารณาซึ่งการดำเนินคดีครั้งนี้พนักงานสอบสวนเจ้าของสำนวนกลับมองว่า ผู้สื่อข่าวไปทำข่าวเป็นผู้สนับสนุน สื่อมวลชนเองควรต้องตั้งคำถามกับพนักงานสอบสวนด้วย และคดีนี้ตำรวจได้ควบคุมตัวผู้ต้องหาไม่ถูกต้องตามกฎหมายเพราะเหตุเกิดในพื้นที่ สถานีตำรวจนครบาลพระราชวังสถานที่คุมตัวควรเป็นที่นั่นเพราะมันเกี่ยวกับสิทธิผู้ต้องหา เช่น ญาติทราบก็สามารถติดตามได้ แต่นี่ถูกแยกออกไปเป็น ๒ สถานีตำรวจนครบาลคือ สถานีตำรวจนครบาลฉลองกรุง อีกที่ก็ไม่ทราบว่าใช่อำนาจอะไรในการแยกการคุมตัวทั้งที่ สถานีตำรวจนครบาลฉลองกรุง ไม่มีอำนาจสอบสวนด้วยทั้งที่เรื่องนี้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ตนคิดว่า วงการวิชาชีพสื่อควรตั้งคำถามกับพนักงานสอบสวนในพื้นที่ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติถึงแนวปฏิบัติในการดำเนินคดี กับผู้สื่อข่าวเพราะในปัจจุบันมีทั้งผู้สื่อข่าวที่มีสังกัดและผู้สื่อข่าวอิสระ ว่าการยืนยันพฤติการณ์การทำข่าวจะเป็นอย่างไรต่อไปมันจะกลายเป็นภาระ ของตัวบุคคลนั้นในการต่อสู้คดีอาญาด้านนายกฤษฎางค์ กล่าวว่าคดีนี้เป็นเรื่องแปลกประหลาดที่รัฐบาลและกระบวนการยุติธรรมจะต้องรับผิดชอบเต็มที่ จริงอยู่ที่มีหมายจับแต่หมายจับออกจากครบหนึ่งปีแล้วจนคดีที่นักกิจกรรมไปพ่นสีจะมีการสืบพยาน คดีฐานความผิดก็ไม่ได้รุนแรง ใช้เวลาสืบกว่า ๖-๗ เดือนแล้วค่อยออกหมายจับแล้วก็ไม่ไปจับ เรื่องนี้สื่อมวลชนควรเรียกร้องไปยังรัฐบาล เพราะตำรวจก็อยู่ภายใต้รัฐบาลว่าทำไมทำแบบนี้ ยังจำกันได้หรือไม่ว่าอนุสาวรีย์ปราบกบฏหลักสี่ มันหายไป ๗-๘ ปีแล้ว แต่ตำรวจยังไม่ไปตามจับสักที ทั้งที่หลักฐานข้อมูลก็มีจำนวนมาก ถ้ายังทำแบบนี้คุณก็จะเห็นว่าเป็นการดำเนินกระบวนการยุติธรรมแบบสองมาตรฐาน คดีนี้โทษเจ็ดปีก็จริงแต่ไม่มีอัตราโทษขั้นต่ำ ศาลจะลงโทษแค่ปรับก็ได้ และนักข่าวไม่ใช่โจรผู้ร้าย ทีโจรผู้ร้ายกลับให้ประกัน คดีฆ่ากันที่ชลบุรีตนไม่ได้ว่าเขาผิดแต่ให้ประกันตัวไป ๘ แสนบาท แต่ทำไมนักข่าวกลับไม่ให้เขาประกันตัว เป็นคำถามที่ตนอยากให้ผู้สื่อข่าวทุกคนรักษาสิทธิ์ของตัวเอง รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่าสิทธิของสื่อมวลชนมีเสรีภาพในการทำข่าว เพราะหากสื่อมวลชนไม่มีเสรีภาพจมอยู่ในความหวาดกลัวประชาชนก็ไม่ต้องทำอะไรแล้ว เรื่องนี้เป็นเรื่องหยามเกียรติสื่อมวลชนไทยผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างที่ น.ส.ทานตะวัน มาศาลได้มี นายนภสินธุ์ ตรีรยาภิวัฒน์ หรือ สายน้ำ นักกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งเป็นผู้ต้องหาที่มีหมายจับในคดีทำให้โบราณสถานเสียหาย ของ สถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง มานั่งรวมอยู่ในกลุ่มด้วยเช่นกัน ซึ่งช่วงหนึ่ง นายนภสินธุ์ ตะโกนออกมาขณะที่นั่งอยู่บริเวณหน้าศาล ว่า “จะจับก็มาเลยพี่ พวกผมไม่ได้หนี และมาแสดงตัวให้เห็นแล้วที่ศาล”จากนั้นนายนภสินธุ์ ให้สัมภาษณ์ว่า วันนี้ตั้งใจมาแสดงตัวตามหมายจับ ไม่มีความกังวลอะไร และไม่ได้หนีไปไหน และตนเองพึ่งได้รับแจ้งจากทนายความว่า ตำรวจได้เข้าไปตรวจค้นที่บ้านของตนเอง และบ้านของญาติด้วยถัดมา น.ส.ทานตะวัน บอกด้วยว่า วันนี้ตนเองตั้งใจเดินทางมาให้กำลังใจเพื่อนนักข่าวที่ถูกจับกุม และเพิ่งมาทราบว่า ตนเองก็กำลังจะมีหมายจับ ดังนั้น ก็จะไม่หนี ไม่กลัว หากจะจับก็มาที่ศาลอาญารัชดาได้เลย จะรออยู่ที่นี่ พร้อมมองด้วยว่า ก่อนหน้านี้ มีการออกหมายเรียกแค่สร้างความเดือดร้อนรำคาญ เป็นความผิดลหุโทษ จ่ายค่าปรับก็จบ แต่วันนี้ไม่ทราบว่าจะมีการยัดข้อหาอะไรให้ตนเองบ้าง รวมถึงไม่ทราบว่าจะมีหมายจับกี่ใบส่วนประเด็นที่จะมีการเพิกถอนการประกันตัวของ ๓  สถานีตำรวจนครบาล นั้น ยอมรับว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกะทันหัน ยังไม่ทันตั้งตัว และไม่ได้คิดว่าจะสู้ต่อไปอย่างไร แต่ยืนยันว่าจะสู้ต่อไปแน่นอนน.ส.ทานตะวัน ยังบอกอีกว่า กรณีที่มีความพยายามที่จะปลุกปั่นว่ามีคนอยู่เบื้องหลังปลุกเยาวชน ซึ่งตนเองยืนยันว่า ไม่มีใครและกลุ่มใดอยู่เบื้องหลังใดๆ ทั้งสิ้น เพราะพวกตนเองมีแต่อุดมการณ์ และออกมาด้วยใจล้วน เพื่อเป็นการตั้งคำถามในการยืนยันสิทธิและเสรีภาพ  และมองว่าปัจจุบันคนไทยกำลังตกเป็นเหยื่อไอโอจากภาครัฐ ส่วนที่มีการพยายามโยงพรรคการเมืองมาถึงกลุ่มพวกตนเองนั้น ยืนยันว่าไม่มีพรรคการเมืองใดๆ เช่นเดียวกันเมื่อถามว่ามองอย่างไรบ้างที่เหมือนมีการพยายามปลุกปั่นฝั่งขวาขึ้นมาหรือไม่นั้น ส่วนตัวไม่ได้กังวล และไม่ได้กลัวอะไร เพราะยืนยันในจุดยืนเดิม แต่ขออย่าถอยหลังกลับไปในปี ๒๕๑๙ และขออย่าตกเป็นเหยื่อของขบวนการไอโอ ขณะที่การดูแลความปลอดภัย บริเวณพื้นหน้าศาลอาญา มีตำรวจศาล และเจ้าหน้าที่ รปภ.ของศาล กระจายกำลัง คอยสังเกตการณ์และดูแลความสงบเรียบร้อย พร้อมนำแผงเหล็กมากั้นไว้บริเวณ ทางขึ้นบันไดศาล