วันพุธ, 6 พฤศจิกายน 2567

“ธรรมนัส” ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำที่เพชรบูรณ์ เพิ่มการเก็บกักบรรเทาเดือดร้อน

“รัฐมนตรีว่าการธรรมนัส” ลงพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยขอนแก่น และโครงการอ่างเก็บน้ำคลองลำกงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำไว้ใช้สำหรับการเกษตร อุปโภคและบริโภควันที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๗ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยขอนแก่น ณ ตำบลห้วยไร่ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นโครงการชลประทานขนาดกลาง ก่อสร้างแล้วเสร็จปี พ.ศ. ๒๕๓๗ มีความจุที่ระดับเก็บกัก ๓๓.๒๒ ล้านลูกบาศก์เมตร ใช้เป็นแหล่งเก็บกักน้ำไว้ใช้สำหรับการเกษตร และอุปโภค-บริโภคให้เป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพในช่วงฤดูแล้ง ในพื้นที่ตำบลบ้านติ้ว ตำบลห้วยไร่ ตำบลบ้านหวาย ตำบลปากดุก ตำบลปากช่อง ตำบลบ้านกลาง ตำบลช้างตะลูด และตำบลบ้านไร่ รวมพื้นที่รับประโยชน์ ทั้งหมด ๓๑,๘๘๐ ไร่ แต่ปัจจุบันในพื้นที่ยังขาดแคลนน้ำในการเกษตร อุปโภคและบริโภค จึงมีความจำเป็นต้องเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เพียงพอกับความต้องการ และเพื่อรองรับการขยายตัวด้านการอุปโภคและบริโภคในอนาคต จึงพิจารณาเพิ่มความจุของอ่างเก็บน้ำจาก ๓๓.๒๒ ล้าน ลบ.ม. เป็น ๓๗.๙๖ ล้าน ลบ.ม. ซึ่งจะทำให้สามารถช่วยแก้ปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ได้tt tttt ttขณะเดียวกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังได้ติดตามโครงการการบรรเทาอุทกภัยเทศบาลเมืองหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่เกิดปัญหาอุทกภัยซ้ำซากในฤดูน้ำหลากในพื้นที่เทศบาลหล่มสัก ตาลเดี่ยว สักหลง วัดป่า หนองไขว่ ปากดุก เนื่องจากแม่น้ำป่าสักบริเวณพื้นที่ดังกล่าว มีความจุลำน้ำเพียง ๘๐.๐๐ ลบ.ม./วินาที แต่บริเวณต้นน้ำป่าสักที่อำเภอหล่มเก่า แม่น้ำป่าสักมีความจุลำน้ำ ๓๖๐.๐๐ ลบ.ม./วินาที ซึ่งเกินศักยภาพการรับน้ำและการระบายน้ำของแม่น้ำป่าสักบริเวณพื้นที่ดังกล่าว กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทาน จึงได้ศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมการบรรเทาอุทกภัยเทศบาลเมืองหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ในการวางแนวของการศึกษาเบื้องต้น โดยมีแผนดำเนินการใน ๔ แผนงาน ประกอบด้วย ๑. การกักเก็บน้ำตอนบน และชะลอการไหลของน้ำ เพื่อการตัดยอดน้ำในช่วงฤดูฝนบางส่วนและสามารถนำน้ำไปใช้ในฤดูแล้งได้ ๒. การป้องกันพื้นที่ชุมชน โดยการทำพนังกั้นน้ำตลอดแนวแม่น้ำป่าสักในพื้นที่ชุมชน ๓. การขุดลอกแม่น้ำป่าสักเพื่อเพิ่มความสามารถในการลำเลียงน้ำ ๔. การผันน้ำเลี่ยงเทศบาลเมืองหล่มสัก โดยเสนอของบประมาณปี ๒๕๖๗ โครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมการบรรเทาอุทกภัยเทศบาลเมืองหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ แนวคลองผันน้ำเพื่อผันน้ำในเขตคลองสายหลักคลองส่งน้ำฝายฝั่งซ้ายแม่น้ำป่าสัก ซึ่งมีเขตคลองเหลืออยู่ประมาณ ๔๐ เมตร โดยจากการประเมินความเป็นไปได้ในการระบายน้ำ จะสามารถตัดยอดน้ำได้ประมาณ ๑๕๐ ลบ.ม./วินาที ระยะความยาวทางผันน้ำ ๓๐ กิโลเมตร และหากในอนาคตมีการต่อยอดโครงการโดยการก่อสร้างฝายกั้นคลองผัน จะสามารถเก็บกักน้ำในช่วงฤดูแล้งได้อีกด้วยtt tttt ttจากนั้น ร้อยเอกธรรมนัส เดินทางไปตำบลวังท่าดี อำเภอหนองไผ่ เพื่อตรวจเยี่ยมโครงการอ่างเก็บน้ำคลองลำกงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นโครงการชลประทานขนาดกลาง มีความจุที่ระดับเก็บกัก ๔๘.๕๒ ล้าน ลบ.ม. หรือ ๔๓% ของปริมาณน้ำท่าที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำ มีการก่อสร้างระบบส่งน้ำ ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองลำกง ที่ก่อสร้างเสร็จปี ๒๕๕๔ เพื่อใช้เป็นระบบส่งน้ำสำหรับการเกษตร และอุปโภค-บริโภค ให้เป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ในพื้นที่ตำบลวังท่าดี ตำบลท่าแดง ตำบลบ่อไทย และตำบลวังโบสถ์ อำเภอหนองไผ่ รวมพื้นที่รับประโยชน์ทั้งหมด ๕๐,๐๐๐ ไร่ ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างระบบส่งน้ำฝั่งซ้าย ดำเนินการแล้วเสร็จประมาณ ๕๒.๕๓% และมีแผนในการก่อสร้างระบบส่งน้ำฝั่งขวา พร้อมอาคารประกอบ จำนวน ๔ สายทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทาน มีแผนในการเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำอ่างเก็บน้ำคลองลำกง โดยการปรับปรุงอาคารระบายน้ำล้น พร้อมอาคารประกอบ ซึ่งจะสามารถเพิ่มปริมาณการเก็บกักน้ำได้อีกประมาณ ๖ ล้าน ลบ.ม. (จากเดิม ๔๘.๕๒ ล้าน ลบ.ม. เป็น ๕๔.๕๐ ล้าน ลบ.ม.) และยังเป็นการเพิ่มพื้นที่รับประโยชน์เพิ่มขึ้นอีก ๖,๐๐๐ ไร่ จากเดิม ๕๐,๐๐๐ ไร่ เป็น ๕๖,๐๐๐ ไร่.