วันพุธ, 6 พฤศจิกายน 2567

“นลินี” ชวน “อาเลีย บาตต์” นางเอกคังคุไบ ถ่ายภาพยนตร์ในไทย ผลักดัน Soft Power

“นลินี” ผู้แทนการค้าไทย กระทบไหล่ “อาเลีย บาตต์” นางเอกคังคุไบ ชวนถ่ายภาพยนตร์ในไทยเพิ่มขึ้น ผลักดัน Soft Power ด้านอาหารและสถานที่ท่องเที่ยว ปลื้มนายกสมาคมผู้ผลิตภาพยนตร์อินเดียพร้อมสนับสนุนวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๗ นางนลินี ทวีสิน ผู้แทนการค้าไทย เปิดเผยว่า ตนเองได้พบกับคุณ Alia Bhatt (อาเลีย บาตต์) นักแสดงสาวสัญชาติอังกฤษเชื้อสายอินเดีย ผู้รับบท คังคุไบ จากภาพยนตร์ฮิตเรื่อง Gangubai Kathaiwadi (หญิงแกร่งแห่งมุมไบ) โดยตนได้เชิญชวนให้คุณอาเลีย บาตต์ มาถ่ายภาพยนตร์ในไทยเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการมีนางเอกดังระดับโลกมาถ่ายทำภาพยนตร์ในไทย จะเป็นการเสริมสร้างซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) ให้แก่ประเทศไทย โดยทุกอย่างที่คุณอาเลีย ทำ อาหารที่รับประทาน สถานที่ที่ไปจะเป็นกระแส และจะได้รับความนิยมจากฐานผู้สนับสนุนจากทั้งในอินเดียและประเทศอื่นๆ ในชั่วข้ามคืน พร้อมกันนี้ นางนลินี ยังให้ข้อมูลด้วยว่า คุณอาเลีย บาตต์ นิยมเดินทางมาไทย โดยก่อนการหารือก็เพิ่งเดินทางกลับมาจากจังหวัดภูเก็ต และยังชื่นชอบอาหารไทยเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นส้มตำ ผัดไทย และที่สำคัญคือน้ำมะพร้าว ซึ่งเป็นสิ่งแรกที่ต้องทานเมื่อเดินทางถึงไทย tt ttนางนลินี เปิดเผยอีกว่า ได้มีโอกาสหารือและชักชวนให้คุณ Sajid Nadiadwala เจ้าของบริษัทภาพยนตร์ชั้นนำของอินเดีย Nadiadwala Grandson Entertainment ซึ่งผลิตภาพยนตร์ไปแล้วกว่า ๒๐๐ เรื่อง และมีภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง เช่น Kick หรือ Highway และยังเป็นประธานสภาผู้ผลิตภาพยนตร์และโทรทัศน์อินเดีย ๑๑ สมัย โดยมีบริษัทผู้ผลิตในเครือราว ๔๐๐ บริษัท สนับสนุนการถ่ายทำภาพยนตร์ Bollywood (บอลลีวูด) ในไทยเพิ่มเติม โดยชูจุดเด่นด้านซอฟต์พาวเวอร์ของไทย ทั้งในแง่ของผู้คน วัฒนธรรม อาหาร และสถานที่ท่องเที่ยว ทั้งนี้ คุณ Sajid ยืนยันว่า ผู้ผลิตภาพยนตร์อินเดียนิยมที่จะใช้ไทยเป็นสถานที่ถ่ายทำ รวมถึงชื่นชมความสามารถด้านการแสดงของนักแสดงไทย โดยเฉพาะบทการต่อสู้และศิลปะแม่ไม้มวยไทย ขณะเดียวกัน นางนลินี ระบุต่อไปว่า ยังได้มีการหารือถึงแนวการสนับสนุนการถ่ายทำภาพยนตร์ของทางประเทศอื่นๆ ด้วย เช่น สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย หรือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทั้งในรูปแบบการคืนเงินและการสนับสนุนด้านโลจิสติกส์ต่างๆ เพื่อนำไปปรับปรุงแนวทางการสนับสนุนและดึงดูดการถ่ายทำภาพยนตร์ของต่างชาติในไทยต่อไป ซึ่งการถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทยจะเป็นโอกาสสำคัญในการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของไทยไปสู่สังคมโลก รวมทั้งยังจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ดึงเงินเข้าประเทศ รวมถึงก่อให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่อีกด้วยtt tttt tt