วันพุธ, 6 พฤศจิกายน 2567

นักวิจัยสำรวจการสะสมน้ำขนาดใหญ่ที่ชั้นหินเมดูเซย์

25 ม.ค. 2024
40

เมื่อกว่า ๑๕ ปีที่แล้วยานสำรวจดาวอังคาร “มาร์ส เอกซ์เพรสส์” (Mars Express) ได้ศึกษาพื้นที่การก่อตัวทางธรณีวิทยาที่ชื่อ เมดูเซย์ ฟอซเซย์ (Medusae Fossae-MFF) เผยให้เห็นชั้นหินขนาดใหญ่ที่ลึกถึง ๒.๕ กิโลเมตร แต่การสังเกตในช่วงแรกๆนั้น ยังไม่ชัดเจนว่าพื้นที่นี้ก่อตัวจากอะไรล่าสุด มีการวิจัยใหม่ทีมนักวิทยาศาสตร์สถาบันสมิธโซเนียน สหรัฐอเมริกา เผยว่า หลังจากสำรวจเมดูเซย์ ฟอซเซย์อีกครั้งโดยใช้ข้อมูลใหม่จากเรดาร์ MARSIS ของยานมาร์ส เอกซ์เพรสส์ ก็พบว่าตะกอนที่เมดูเซย์ ฟอซเซย์ มีความหนามากกว่าที่คิดไว้ โดยหนาถึง ๓.๗ กิโลเมตร และยังน่าประหลาดใจที่สัญญาณเรดาร์ตรงกับสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าจะเห็นชั้นน้ำแข็ง คล้ายคลึงกับสัญญาณที่เห็นจากบริเวณขั้วดาว ที่รู้กันว่ามีน้ำแข็งอยู่มาก และหากน้ำแข็งที่ขังไว้ในเมดูเซย์ ฟอซเซย์ละลาย ก็จะปกคลุมดาวทั้งดวงด้วยชั้นน้ำลึก ๑.๕-๒.๗ เมตร ถือเป็นน้ำปริมาณมากที่สุดเท่าที่เคยพบในส่วนนี้ของดาวอังคารเมดูเซย์ ฟอซเซย์ ประกอบด้วยลักษณะภูมิประเทศที่ถูกกัดกร่อนด้วยลมหลายแห่ง มีเส้นผ่าศูนย์ กลางหลายร้อยกิโลเมตรและสูงหลายกิโลเมตร พื้นที่แถบนี้อาจเป็นแหล่งกำเนิดฝุ่นที่ใหญ่ที่สุดบนดาวอังคาร และเป็นหนึ่งในแหล่งทับถมที่กว้างขวางที่สุดของดาวเคราะห์สีแดง ซึ่งขอบเขตและตำแหน่งของแหล่งสะสมน้ำแข็งในเมดูเซย์ฟอซ อาจทำให้พวกมันมีค่าต่อการสำรวจดาวอังคารในอนาคต ที่ต้องการน้ำเป็นทรัพยากร ดังนั้น การค้นหาน้ำแข็งในภูมิภาคนี้จึงดูเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับภารกิจของมนุษย์ที่จะมาสำรวจดาวอังคารในวันข้างหน้า.Medusae Fossae Formation Credit : ESAอ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่