นิด้าโพล คนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย ราชทัณฑ์มีอำนาจลดโทษ-พักโทษ หลังศาลมีคำพิพากษา และเห็นด้วยควรมีผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกร่วมเป็นกรรมการพิจารณา มอง “ทักษิณ” จะมีบทบาทในการให้คำปรึกษาพรรคเพื่อไทยวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง อำนาจราชทัณฑ์กับการเมืองหลังพักโทษ โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ ๒๐-๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ จากประชาชนที่มีอายุ ๑๘ ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น ๑,๓๑๐ หน่วยตัวอย่าง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของนิด้าโพล สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ ๙๗.๐เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่ออำนาจของกรมราชทัณฑ์ในการพิจารณาลดโทษ หรือพักโทษให้กับนักโทษหลังจากศาลมีคำพิพากษา พบว่า ร้อยละ ๔๐.๐๐ ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย ร้อยละ ๑๙.๔๗ ระบุว่า เห็นด้วยมากร้อยละ ๑๙.๑๖ ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วยร้อยละ ๑๘.๐๑ ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วยร้อยละ ๓.๓๖ ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจส่วนความคิดเห็นของประชาชนต่อการพิจารณาลดโทษ หรือพักโทษของกรมราชทัณฑ์ ควรมีผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกร่วมเป็นกรรมการ พบว่า ร้อยละ ๔๑.๖๙ ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ ๒๔.๕๘ ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วยร้อยละ ๒๔.๒๗ ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลยร้อยละ ๘.๗๐ ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วยร้อยละ ๐.๗๖ ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ ขณะที่ถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองหลัง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้รับการพักโทษ พบว่า ร้อยละ ๕๐.๓๘ ระบุว่า นายทักษิณ จะมีบทบาทในการให้คำปรึกษากับพรรคเพื่อไทย ร้อยละ ๒๘.๙๓ ระบุว่า การชุมนุมต่อต้าน นายทักษิณ จะไม่สามารถจุดติดเป็นการชุมนุมใหญ่ร้อยละ ๒๖.๗๒ ระบุว่า คะแนนนิยมพรรคเพื่อไทยจะลดลงจากบทบาทที่มากขึ้นของ นายทักษิณร้อยละ ๒๑.๖๘ ระบุว่า การชุมนุมต่อต้าน นายทักษิณ จะสามารถจุดติดเป็นการชุมนุมใหญ่ร้อยละ ๑๙.๖๙ ระบุว่า การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคก้าวไกลจะเข้มข้นขึ้นร้อยละ ๑๙.๒๔ ระบุว่า เร็วๆ นี้จะมีการปรับคณะรัฐมนตรีร้อยละ ๑๗.๖๓ ระบุว่า นายทักษิณ จะไม่ยุ่งกับการเมืองอีกแล้วร้อยละ ๑๗.๐๒ ระบุว่า นายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน จะอยู่ในตำแหน่งจนครบวาระร้อยละ ๑๔.๔๓ ระบุว่า ประเทศไทยจะดูเหมือนมีนายกรัฐมนตรี ๒ คนร้อยละ ๑๒.๒๑ ระบุว่า ศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองยังคงอยู่ที่ทำเนียบรัฐบาลร้อยละ ๑๑.๑๕ ระบุว่า ศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองจะย้ายไปอยู่ที่บ้านจันทร์ส่องหล้าร้อยละ ๑๑.๐๗ ระบุว่า จะมีการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี จาก นายเศรษฐา ทวีสิน เป็น น.ส.แพทองธาร ชินวัตรร้อยละ ๙.๕๔ ระบุว่า คะแนนนิยมพรรคเพื่อไทยจะสูงขึ้นจากบทบาทที่มากขึ้นของ นายทักษิณร้อยละ ๖.๑๑ ระบุว่า พรรคเพื่อไทยกับพรรคก้าวไกลจะเป็นมิตรกันมากขึ้นร้อยละ ๑๐.๐๐ ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ