วันพุธ, 6 พฤศจิกายน 2567

"บิ๊กตู่" รีเทิร์น นายกฯ กับ ตั้ง "องคมนตรี" ต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

ImageImageImageImageImage
รศ.ดร.เจษฎ์ แจงชัดๆ แต่งตั้ง “องคมนตรี” จำเป็นต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ หรือไม่? รัฐธรรมนูญกำหนดไว้อย่างไร ชี้ “เผือกร้อน” ปม “ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ” อาจตกใส่ศาลรัฐธรรมนูญ หากมีใครไปร้อง แต่ศาลจะวินิจฉัยอย่างไรเป็นอีกเรื่องหนึ่งไขข้องใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นองคมนตรี มีโอกาส “รีเทิร์น” กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี รอบ 2 เมื่อ “ปิยบุตร” ตั้งข้อสงสัย ยังไม่ลาออกแคนดิเดตนายกฯ พรรค รทสช.การเมืองหลายวันที่ผ่านมา เรื่องหนึ่งที่เป็นที่น่าสนใจ คือ การได้รับการแต่งตั้งเป็น “องคมนตรี” ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรีซึ่ง ตัวพ่อ อย่าง “ปิยบุตร แสงกนกกุล” คณะก้าวหน้า ถึงกับ โพสต์เฟซบุ๊ก ตั้งคำถาม การแต่งตั้ง “พล.อ.ประยุทธ์” เป็นองคมนตรี จะต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ หรือไม่ และยังตั้งข้อสงสัยอีกว่า หาก ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ว่างลงเมื่อใด “บิ๊กตู่” จะสามารถรีเทิร์นกลับมาได้เป็นนายกรัฐมนตรี อีกหรือไม่ โดยอ้างเหตุ พล.อ.ประยุทธ์ ยังเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรค รวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) อยู่tt ttทีมข่าวการเมืองไทยรัฐออนไลน์ ได้นำคำถามนี้ไปสอบถามกับ รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก อดีตกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อไขข้อข้องใจให้กระจ่าง โดย รศ.ดร.เจษฎ์ กล่าวกับทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ ถึงประเด็นนี้ โซเชียลฯ ตั้งข้อสงสัย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับแต่งตั้งเป็นองคมนตรี ต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการหรือไม่?รศ.ดร.เจษฎ์ เผยว่า พิจารณาตามรัฐธรรมนูญเป็นหลัก ในรัฐธรรมนูญมาตรา 10 มาตรา 11 มันเชื่อมโยงกัน คือในรัฐธรรมนูญแม้ว่าเขาจะระบุไว้ ในมาตรา 10 ชัดเจน แต่ว่ามันจะมีอันที่มีบางเรื่องที่มันเชื่อมโยงกับมาตรา 11 อยู่ ตรงที่ มาตรา 10 กำหนดจำนวนขององคมนตรี ให้มีประธานองคมนตรี 1 มีองคมนตรีทั้งหมด 18 ท่าน แล้วองคมนตรี มีหน้าที่ ถวายความเห็นต่อ พระมหากษัตริย์ใช่ไหม มีหน้าที่ให้คำปรึกษา พระองค์ท่าน แต่ที่สำคัญคือ มาตรา 11 ว่า ถ้าจะแต่งตั้งองคมนตรี การเลือกและการแต่งตั้งองคมนตรี หรือให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย แต่พระราชอัธยาศัยในที่นี้ คือ พระราชอัธยาศัยในการเลือกบุคคลที่จะมาเป็นองคมนตรี จะไม่มีกฎเกณฑ์ใดที่จะไปกำหนดพระองค์ท่าน จะไม่มีมาตรการใดหรือจะไม่มีวิธีทางไหน ที่จะไปกำหนดว่า พระองค์ท่านจะเลือกผู้ใด ทีนี้พระองค์ท่านเลือกผู้หนึ่งผู้ใดมาแล้ว จำนวนจะเกินไปจากที่รัฐธรรมนูญกำหนดไม่ได้ เมื่อเลือกแล้ว ถ้าเป็นในกรณีของประธานองคมนตรี ประธานรัฐสภา จะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ถ้าเป็นในกรณีขององคมนตรีอื่น ประธานองคมนตรี จะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อันนี้เป็นบทที่รัฐธรรมนูญกำหนด ถ้าเป็นในกรณีอื่นเท่าที่ไปค้นดู ไม่มีบทบัญญัติอื่นใดในรัฐธรรมนูญ ที่ระบุเป็นการอื่น พระราชอัธยาศัยของพระมหากษัตริย์ย่อมเป็นส่วนที่อยู่ที่การที่จะทรงเลือกบุคคลใด แต่ในเรื่องของการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ชัดเจน เพราะฉะนั้นจะบอกว่า เรื่องการรับสนองพระราชโองการเป็นพระราชอัธยาศัย มันไม่มีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ทีนี้สมมติว่า เราบอกว่า ไม่มีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มันถือว่าไม่มีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ หรือไม่ มันก็จะเป็นไปตามมาตรา 5 ให้เป็นไปตามประเพณีการปกครอง สมมติว่า เป็นเช่นนั้นให้เราลองไปดูสิว่าประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การโปรดเกล้าฯ องคมนตรีเป็นยังไง ถ้าเกิดเราไปดูแล้ว แล้วมีประเพณีการปกครอง ที่การโปรดเกล้าฯ องคมนตรีเป็นไปโดยพระราชอัธยาศัย โดยไม่ต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ สมมติมีประเพณีเช่นที่ว่านี้ ก็อาจจะบอกว่า “ไปออกทางนั้น” ถ้าจะบอกว่า จะไปเอากฎหมายระดับ พระราชบัญญัติ มาเป็นตัวกำหนด เนื่องจาก มันมีพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับ “ข้าราชการในพระองค์” ซึ่งพอเราบอกว่า ข้าราชการในพระองค์ มันก็จะมีข้าราชการในพระองค์ในตำแหน่งองคมนตรีด้วย เป็นเนื่องจากว่า องคมนตรี ในมาตรา 10 มาตรา 11 เขียนโดยเฉพาะ ถ้าเราจะไปเอากฎหมายระดับ พระราชบัญญัติ ที่พูดถึงข้าราชการในพระองค์แล้วบอกว่า ข้าราชการในพระองค์ เป็นตำแหน่งองคมนตรี ดังนั้น ต้องไปใช้ พระราชบัญญัติ นั้นพระราชบัญญัติ ย่อมไม่สามารถเกินไปจากรัฐธรรมนูญได้ เพราะ มาตรา 5 กำหนดให้ชัด รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับหรือการกระทำใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ การกระทำนั้นเป็นการใช้บังคับไม่ได้ นั่นแปลว่า ถ้าเกิดมาตรา 10 มาตรา 11 ของรัฐธรรมนูญมันชัดมาก ประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขก็ไม่มี เอาพระราชบัญญัติมาเกินไปกว่ารัฐธรรมนูญก็ไม่ได้ ก็แปลว่า ต้องทำตามมาตรา 10 มาตรา 11tt ttมีโอกาสจะเป็นโฆษะได้หรือไม่?รศ.ดร.เจษฎ์ กล่าวต่อว่า ต้องบอกว่า ผมหาไม่เจอครับ ผมไม่เจอว่า มันมีอะไรที่จะเอามาอธิบายได้ นอกจาก 2-3 อย่างที่ผมพูดไปแล้ว แล้วมาตรา 10 มาตรา 11 ก็เขียนไว้ชัด แล้วก็ไม่มีมาตราอื่น สมมติว่า มาตรา 5 เรื่องประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันทรงมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ที่ผมพูดถึง ก็ต้องเขียนไว้ในนั้น ถูกไหมครับ แล้วถ้าเกิดไปอ้างพระราชบัญญัติอื่น เช่น พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับ “ข้าราชการในพระองค์” ตำแหน่งองคมนตรีก็ต้องเขียนไว้ แต่ไม่มีเลย มันก็เลยไม่รู้จะไปหาที่ไหนว่า อะไรที่จะเป็นสิ่งรองรับว่า ไม่ต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยกเว้นแต่กรณีเดียวที่จะบอกว่า “พระบรมราชโองการ” เมื่อทรงโปรดเกล้าฯ เป็นพระราชอำนาจโดยแท้ของพระองค์ท่าน ไม่จำเป็นต้องมีผู้รับสนองพระราชโองการ แต่ผมก็ยังหาอะไรอธิบายไม่ได้ครับพล.อ.ประยุทธ์ เป็นองคมนตรี หากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีว่างลง “บิ๊กตู่” ยังกลับมาเป็นนายกฯ ได้อีกหรือไม่ ผมเข้าใจว่า คุณสมบัติของรัฐมนตรีมันล็อกเอาไว้นะ ถ้าจำไม่ผิด คุณสมบัติมันล็อกเรื่องต้องไม่เป็นองคมนตรีด้วย คือ ถ้าลาออกจากองคมนตรี ก็กลับไปเป็นได้ แต่ไม่มีใครลาออกจากองคมนตรีหรอก ใครจะไปลาออก เว้นแต่ว่ามีการให้ออกจากองคมนตรีไปเป็นนายกฯ เหมือนสมัย พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์”ต้องบอกอย่างนี้ ถ้าเป็นกลไกแบบสมัยพลเอกสุรยุทธ์ อย่างนั้นน่ะได้ แต่ถ้าไม่ใช่เป็นกลไกแบบสมัยพลเอกสุรยุทธ์มันจะไม่ได้ มันจะติดล็อก” รศ.ดร.เจษฎ์ กล่าว…อดีตกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวอีกว่า ส่วนพลเอกประยุทธ์เป็นแคนดิเดตนายกฯ อยู่ ไม่ได้ลาออกจาก พรรครวมไทยสร้างชาติ หรือไม่ ผมไม่แน่ใจว่า พลเอกประยุทธ์ ลาออกจากรวมไทยสร้างชาติหรือเปล่า เพราะหากพล.อ.ประยุทธ์ ยังสังกัด “รวมไทยสร้างชาติ” ก็จะมีปัญหาเรื่องการเป็น “องคมนตรี” เพราะองคมนตรีต้องไม่สังกัดพรรคการเมือง ไม่ต้องดูว่า ลาออกไหม ต้องไปดูว่าตำแหน่งอื่นใดมีหรือเปล่า ถ้าไม่มีตำแหน่งอื่นก็แล้วไป แต่ว่าถ้าเป็นองคมนตรีแล้วจะไปเป็นนายกฯ ต้องออกจากองคมนตรี ต้องดูว่า ขาไหนจะเกิดก่อน สมมติว่า พลเอกประยุทธ์ เป็นองคมนตรี จะถือว่า พลเอกประยุทธ์ขาดจากการเป็นผู้ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีไหม อาจจะถือว่าขาดก็ได้ เพราะว่ามันขัดกับรธน.มาตรา 160 ถ้าขัดก็ต้องก็ต้องขาดจากเป็นผู้ถูกเสนอชื่อtt ttพูดง่ายๆ เป็นองคมนตรี กฎหมายมันล็อกอยู่แล้ว คุณไม่สามารถไปเป็นตำแหน่งอื่นได้ จะต้องลาออกทุกตำแหน่งใช่ไหมใช่ครับ ไปก็ไม่ได้กลับไปก็ขัดรัฐธรรมนูญ แล้วตำแหน่งรัฐมนตรี ก็ล้อกับ สส.ในส่วนของ สส.เนี่ยเขาก็มีล็อกไว้อยู่แล้ว ว่า ต้องไม่เป็นตำแหน่งที่เป็นข้าราชการที่มีเงินเดือนประจำ นอกจากข้าราชการการเมือง จริงๆ องคมนตรี คือ ข้าราชการในพระองค์ ที่นี้พอเป็นข้าราชการในตำแหน่งองคมนตรี มันขัดตั้งแต่ตอนเป็น สส.แล้ว แล้วเราก็หยิบเอาเรื่อง สส.มาตรา 98 มาใช้กับรัฐมนตรีด้วย ถูกไหมครับ แล้วก็เรื่องรัฐมนตรีก็มาใช้กับนายกฯ ด้วย เพราะฉะนั้นเนี่ย มันก็ต้องถือว่าขัด มันก็แปลว่า ผมเข้าใจว่า ตอนนี้ พลเอกประยุทธ์ ในฐานะที่เป็นองคมนตรี น่าจะขาดจากการเป็นผู้ถูกเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีครับ ทีนี้พอขาดจากการเป็นผู้ถูกเสนอชื่อ มันก็ไม่น่าจะเสนอชื่อได้ละ เพราะรัฐธรรมนูญ ปี 60 เวลาจะเสนอชื่อ มันต้องเสนอตามที่มาตรา 88-89 กำหนด ทีนี้พอขาดจากการเป็นผู้ถูกเสนอชื่อก็ต้องแปลว่า เขาหลุดจากวงโคจรที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว ไม่เหมือนคราว พล.อ.สุรยุทธ์ เพราะพล.อ.สุรยุทธ์ มาจากการรัฐประหาร คณะปฏิวัติเขาก็ออกระเบียบในเรื่องของเขา แต่ตอนนี้มันไม่ใช่ เพราะฉะนั้นผมคิดว่า พลเอกประยุทธ์ ขาดจากการเป็นผู้ถูกเสนอชื่อนายกฯ แล้ว แต่เรื่องแคนดิเดตนายกฯ ต้องไปดูว่า ท่านลาออกหรือยัง tt ttเรื่องพระบรมราชโองการ คือ ยังดูไม่ออกใช่หรือไม่?เรื่องพระบรมราชโองการผมว่า กฎหมายชัดเรื่องมาตรา 10 มาตรา 11 ส่วนถามว่า จะเป็นโมฆะไหม คือ จะทำให้เป็นโมฆะ ก็ไม่รู้จะทำยังไงนะ อาจจะมีใครไปร้องศาลรัฐธรรมนูญไหม ศาลรัฐธรรมนูญจะว่ายังไง ก็อีกอย่างนึง”อาจต้องไปดูว่า มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการในต้นเรื่อง ต้นเรื่องทูลเกล้าฯ พลเอกประยุทธ์ เป็นองคมนตรี เพราะที่เราเห็น คือ ปลายเรื่อง คือ ตัวพระบรมราชโองการ ที่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร ต้นเรื่องทูลเกล้าฯ อาจจะมีก็ได้นะ ถ้าต้นเรื่องทูลเกล้าฯ มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ก็อาจจะถือว่าใช้ได้เหมือนกัน มันต้องไปดูที่ต้นเรื่องทูลเกล้าฯ ถ้ามีประธานองคมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการก็จบ” ล่าสุด…ปรากฎภาพ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี นำ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณ ก่อนเข้ารับหน้าที่องคมนตรี แล้วtt ttอย่างที่รศ.ดร.เจษฎ์ ว่าไว้ จากนี้ก็ต้องไปดูว่า พล.อ.ประยุทธ์ ได้ลาออกจากทุกตำแหน่งในพรรครวมไทยสร้างชาติหรือไม่? เป็นสิ่งแรก ในการเป็นองคมนตรี แล้วจึงดูต่อไปที่ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ แล้วสุดท้ายถึงไปดูว่า กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกได้หรือไม่ แต่เชื่อเถอะ “บิ๊กตู่” คงไม่ตายน้ำตื้นแน่ๆผู้เขียน:เดชจิวยี่ กราฟิก: