ในบทสัมภาษณ์นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย โดยทักเกอร์ คาร์ลสัน อดีตพิธีกรชื่อดังในสหรัฐฯ ซึ่งผู้เขียนได้นำเสนอผ่านคอลัมน์ ๗ วันรอบโลก ไปเมื่อวันที่ ๑๑ ก.พ. ที่ผ่านมา ยังมีรายละเอียดที่น่าสนใจอีกหลากหลายประเด็นนอกเหนือจากความสัมพันธ์รัสเซีย-สหรัฐฯโดยให้มุมมองทางประวัติศาสตร์ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะอำนาจเหนือ ธรรมชาติมากำหนด แต่เป็นการตัดสินใจที่มาจากเนื้อแท้ของคนเรา บางประเทศผงาดขึ้น ทวีความเข้มแข็งมากขึ้น ขณะที่บางประเทศเสื่อมถอย สูญเสียสถานะในเวทีโลกที่ตัวเองเคยคุ้นชินดูอย่างจักรวรรดิมองโกลของเจงกิส ข่าน หรือกระทั่ง “จักรวรรดิโรมัน” ที่ไม่มีใครเทียบเคียงได้และคงไม่มีใครทำได้อีกแล้วในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ แต่สุดท้ายก็เผชิญกับศักยภาพของเหล่า “คนเถื่อน” รอบด้านที่พัฒนาตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ จนสุดท้ายนำไปสู่การล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน ซึ่งใช้เวลากว่า ๕๐๐ ปี สิ่งที่แตกต่างในปัจจุบันนี้ คือทุกสิ่งดำเนินไปอย่างรวดเร็วกว่ามากเมื่อถูกถามถึง “จักรวรรดิปัญญาประดิษฐ์” หรือเอไอเอ็มไพร์ในอนาคต ผู้นำปูตินยิ้มและถอนหายใจก่อนตอบว่าถามคำถามซับซ้อนเหลือเกิน เรื่องนี้คงต้องให้ผู้เชี่ยวชาญมาชี้แจงถึงจะชัดเจน แต่ในมุมมองส่วนตัวนั้น เห็นว่ามนุษย์เรากำลังเผชิญภัยคุกคามที่มากขึ้นจากงานวิจัยทางด้านพันธุกรรม มีความเป็นไปได้มากขึ้นทุกวันว่าจะมีการสร้างมนุษย์ที่เหนือกว่ามนุษย์ทั่วไปทั้งด้านการกีฬา หรือการทหาร อย่างไม่นานมานี้ก็เพิ่งอ่านข่าว “อีลอน มัสก์” ทำการทดสอบฝังไมโครชิปในสมองคนที่สหรัฐฯมีความเห็นเช่นไรเกี่ยวกับอีลอน มัสก์? นายปูตินให้ความเห็นว่า คงไม่มีอะไรไปหยุดอีลอน มัสก์ได้ เขายังคงทำอะไรตามที่ตัวเองคิดว่าเหมาะสม เรื่องนี้คงต้องมีการคุยหาทางสายกลาง หาทางเจรจาเกลี้ยกล่อมเพื่อให้มีจุดที่ลงตัว ส่วนตัวมองว่าเป็นคนที่ฉลาด เชื่อจริงๆว่าเป็นเช่นนั้น งานนี้ต้องมีการทำข้อตกลงกันให้ชัดเจน ทำให้มันเป็นทางการและอยู่ใต้กฎเกณฑ์บางประการอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต? มองว่ามนุษย์เราเคยผ่านจุดที่รู้สึกตัวถึงภัยคุกคามในการดำรงอยู่จาก “อาวุธนิวเคลียร์” และทำให้บรรดาประเทศที่ครอบครองนิวเคลียร์เริ่มที่จะมาทำความเข้าใจกัน เพราะทราบดีว่าหากประมาทเลินเล่อย่อมอาจทำให้มนุษย์ถึงคราวสูญพันธุ์มองวันนี้…ไม่มีใครสามารถหยุดยั้งการพัฒนาทางพันธุกรรมและระบบปัญญาประดิษฐ์ได้ เหมือนกับยุคที่ทุกคนมุ่งจะพัฒนาการใช้ดินปืน… แต่เชื่อว่าจนถึงจุดหนึ่ง มนุษย์จะรู้สึกได้ว่า ไม่ควรปล่อยให้มีการค้นคว้าวิจัยสิ่งเหล่านี้อย่างไร้ขีดจำกัด และดำเนินการทำข้อตกลงระหว่างประเทศว่าจะควบคุมกันเช่นไรดี.ตุ๊ ปากเกร็ดคลิกอ่านคอลัมน์ “หน้าต่างโลก” เพิ่มเติม
ปูตินมองจักรวรรดิเอไอ
เรื่องที่เกี่ยวข้อง