ฝรั่งเตะหมอ ทำเกาะภูเก็ตสะท้าน พ่นพิษลามหนัก “ดีเอสไอ” ลงพื้นที่ปูพรมค้น ๙ จุดบริษัทนอมินี เช็กพื้นที่วิลล่า จ่อรับเป็นคดีพิเศษ ทำต่างชาติที่ทำผิดกฎหมายอยู่ยาก ระส่ำทั้งจังหวัด เมื่อเวลา ๑๑.๐๐ น. วันที่ ๑๔ มี.ค. ๖๗ ที่ห้องประชุม สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดภูเก็ต พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พร้อมด้วย นายทวีวัฒน์ สุรสิทธิ์ ผบ.คดีความมั่นคง กรมสอบสวนคดีพิเศษ ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมพัฒนาธุรกิจและการค้า กรมการท่องเที่ยว ตรวจคนเข้าเมืองภูเก็ต สำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ภาคใต้ เขต ๒ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด เพื่อหารือและติดตามการตรวจสอบธุรกิจที่เข้าข่ายนอมินีในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต โดยเฉพาะธุรกิจเกี่ยวเนื่องจากภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจนำเที่ยวจำนวน ๙ จุด และ ๑ ใน ๙ จุด คือ บริษัท อีเลเฟนท์ แซงชัวรี่ พาร์ค ภูเก็ต จำกัด ซึ่งมีนายเดวิด ชาวสวิตเซอร์แลนด์ เกี่ยวข้อง และการตรวจสอบการถือครองเอกสารสิทธิและการเชื่อมโยงธุรกิจวิลล่าที่หาดพอยท์ยามู ต.ป่าคลอก อ.ถลาง โดยทุกจุดเข้าร่วมตรวจสอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมธุรกิจการค้า กรมท่องเที่ยว ตำรวจท่องเที่ยว และ ตม. พ.ต.ต.ยุทธนา กล่าวว่า การตรวจสอบเกี่ยวกับการทำธุรกิจของคนต่างด้าวที่นอกจากจะตรวจสอบเอกสารการจดทะเบียนที่ต่างชาติจะต้องถือหุ้นร้อยละ ๔๙ และอีกร้อยละ ๕๑ เป็นคนไทยแล้วนั้น จะต้องตรวจสอบคนไทยที่ถือหุ้นด้วยว่าเข้าข่ายนอมินีหรือไม่ อย่างไร เพราะต้องชี้ชัดในการประกอบธุรกิจ ซึ่งจะต้องถึงเอกสารการเงิน การครอบงำกิจการ และอีกหลายส่วนมาประกอบกัน เพราะถือเป็นธุรกิจที่หวงห้ามไว้สำหรับคนไทย แต่ปัจจุบันชาวต่างชาติเข้ามาประกอบธุรกิจมากขึ้น ทำให้มูลค่าสินค้าและบริการมีมูลค่าสูงขึ้น อาจจะส่งผลกระทบกับคนไทยได้ จึงถือเป็นหน้าที่ของดีเอสไอตามกฎหมายว่าด้วยคดีพิเศษ อย่างไรก็ตาม การลงพื้นที่ในครั้งนี้เป็นการบูรณาการหน่วยงานต่างๆ ตามข้อกฎหมายของแต่ละหน่วย เพื่อตรวจสอบและดำเนินการตามกระบวนการกฎหมายต่อไป”การลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากส่วนกลางและในพื้นที่ จ.ภูเก็ต นั้น เพื่อร่วมกันปฏิบัติการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ๙ แห่ง ว่าเข้าข่ายให้คนไทยเป็นนอมินีหรือไม่อย่างไร ซึ่งเราจะต้องสืบให้ลึกลงไปว่าคนไทยที่ถือหุ้นอยู่ในบริษัทของคนต่างชาตินั้น เข้าข่ายเป็นนอมินีหรือไม่ เพราะหากดูจากเอกสารการจดทะเบียนแล้ว ก็จะดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด คนต่างชาติถือไม่เกิน ๔๙% ซึ่งต้องตรวจสอบในเรื่องของเอกสารทางการเงิน การครอบง่ำกิจการ และอีกหลายๆ ส่วน เพื่อพิจารณาว่าคนต่างด้าวใช้คนไทยเป็นนอมินีหรือไม่” ส่วนประเด็นการติดตามการตรวจสอบปางช้างของนายเดวิดนั้น พบว่าตามเอกสารมีการถือครองหุ้นในสัดส่วนที่ถูกต้องตามกฎหมาย คือ ชาวต่างชาติถือหุ้นไม่เกิน ๔๙% และคนไทยไม่เกิน ๕๑% ทั้งนี้ ในส่วนของคนไทยที่ถือหุ้น จะต้องมีการพิสูจน์ว่าเป็นการถือหุ้นแทนหรือเป็นนอมินีหรือไม่ โดยจะต้องดูในเรื่องเอกสารการเงิน และประเด็นอื่นๆ ประกอบกัน เพื่อชี้ชัดว่าการประกอบธุรกิจนี้ เป็นการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวที่ใช้คนไทยมาเป็นนอมินีหรือไม่ เนื่องจากธุรกิจดังกล่าวเป็นธุรกิจที่หวงห้ามสำหรับคนไทย โดยปัจจุบันพบว่ามีชาวต่างชาติเข้ามาประกอบธุรกิจมากมาย ทำให้มูลค่าสินค้าและบริการมีมูลค่าสูงขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับคนไทยได้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของดีเอสไอตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ”ปางช้างของนายเดวิดมีความเชื่อมโยงกับและมูลนิธิฯ นั้น เจ้าหน้าที่จะต้องไปดูในส่วนของมูลนิธิที่ต้องจดทะเบียนโดยไม่แสวงหากำไร และตรวจสอบการประกอบธุรกิจปางช้างว่าดำเนินการทำอะไร ซึ่งจะมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมการท่องเที่ยว ตำรวจท่องเที่ยว และหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะมีการถือกฎหมายของตนเองเข้าไปตรวจสอบร่วมกัน และที่ผ่านมาดีเอสไอได้ลงมาตรวจพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในการประกอบธุรกิจที่มีการจดทะเบียนตั้งแต่ ๕๐ ล้านขึ้นไป โดยหากทุนจดทะเบียนไม่ถึง ๕๐ ล้าน จะเป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนท้องที่” ด้านนายทวีวัฒน์ สุรสิทธิ์ ผู้อำนวยการกองคดีความมั่นคง กล่าวว่า สำหรับการปูพรมพื้นที่เป้าหมาย ๙ แห่งในวันนี้ จะตรวจสอบข้อมูลจากเอกสารและทางกายภาพ โดยให้นายทะเบียนธุรกิจท่องเที่ยวพิจารณาร่วมกับดีเอสไอ ในการสอบสวนเชิงลึกว่าจะเข้าข่ายการกระทำความผิด การประกอบธุรกิจต่างด้าวหรือไม่อย่างไร จะต้องตรวจสอบเชิงลึกของเส้นทางการเงิน รวมถึงอำนาจของการบริหารจัดการ ซึ่งมีข้อสังเกตเรื่องโครงสร้างการถือครองหุ้น หากพบเป็นลักษณะของคนต่างด้าว มีอำนาจในการบริหารจัดการ และเข้าในลักษณะของนอมินี ดีเอสไอก็จะดำเนินการต่อในการขยายผลสืบสวนสอบสวนต่อไปสำหรับภาพรวมในการตรวจสอบเป้าหมายทั้ง ๙ จุดนั้น จะใช้กฎหมาย ๒ ตัว คือ ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ซึ่งกรมพัฒนาธุรกิจเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยดำเนินการคู่กับกฎหมายธุรกิจบริการนำเที่ยว เป็นการดำเนินการแบบคู่ขนาน โดยมีเป้าหมายหลักคือ การตรวจสอบการได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว มีความถูกต้องหรือไม่ เป็นไปตามเงื่อนไขที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ และธุรกิจนั้นมีภารกิจอื่นที่เป็นในลักษณะนอมินีหรือไม่ ต่อมาเมื่อเวลา ๑๓.๐๐ น. พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ นำกำลังเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษตรวจสอบพื้นที่ต้องสงสัย อาจมีการออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบบริเวณหาดพอยท์ยามู ต.ป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต หรือไม่ อย่างไร หลังพบบริเวณดังกล่าวมีการสร้างวิลล่าหรู (บันไดและลานไม้) รุกล้ำพื้นที่สาธารณะหรือชายหาด จนเป็นเหตุให้มีผู้เช่าวิลล่าหรูชายชาวต่างชาติทำร้ายร่างกาย พญ.ธารดาว จันทร์ดำ แพทย์เวชศาสตร์ปฏิบัติการ รพ.เอกชนชื่อดัง จ.ภูเก็ต เมื่อคืนวันที่ ๒๔ ก.พ. ที่ผ่านมา และมีการแจ้งความดำเนินคดีในข้อหาทำร้ายร่างกายและจิตใจไว้ที่ สภ.ถลาง และเป็นที่มาของการเพิกถอนวีซ่าของบุคคลดังกล่าว ทำให้คนที่อยู่ใน จ.ภูเก็ต ต่างออกมาเรียกร้องให้มีการตรวจสอบเอกสารสิทธิที่ดินบริเวณริมทะเลต่างๆ รวมไปถึงการทวงคืนชายหาดรอบเกาะภูเก็ตในเวลาต่อมา โดยเจ้าหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้นำภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณที่มีการออกเอกสารสิทธิกว่า ๑๐๐ ไร่ ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันมาแสดงต่อสื่อมวลชน จากนั้นอธิบดีดีเอสไอและทีมสอบสวนได้เดินดูพื้นที่บริเวณชายหาด ทางลงชายหาด บริเวณจุดที่มีการรื้อถอนบันได และลานไม้ที่มีการรุกล้ำที่สาธารณะ หรือชายหาดพอยท์ยามู พ.ต.ต.ยุทธนา เปิดเผยว่า การลงพื้นที่ จ.ภูเก็ต ในวันนี้ เป็นไปตามข้อร้องเรียนและร้องขอให้กรมสอบสวนคดีพิเศษเข้ามาทำการตรวจสอบที่ดินบริเวณหาดยามู ต.ป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต มีการออกเอกสารสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อย่างไร ซึ่งเราต้องไปดูภาพถ่ายดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศ ตลอดจนการตรวจสอบเอกสารสิทธิเดิมออกจากเอกสารอะไร เบื้องต้นเราพบว่ามีการออกเอกสาร น.ส.๓ มาจาก สิงหาคม๑ เมื่อปี ๒๕๑๗ และมาออกเป็น น.ส.๓ ก. เมื่อปี ๒๕๔๘ อย่างไรก็ดี จะต้องไปดูว่ามีการแจ้งการครอบครองตอนเป็น สิงหาคม๑ และมีการทำประโยชน์หรือไม่ โดยเราตั้งไว้ ๒ ประเด็นในการพิสูจน์ทราบ และจะรับเป็นคดีพิเศษหรือไม่ ซึ่งเป็นไปตาม พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษหรือไม่นั้น คือ ๑. มีการรุกล้ำบริเวณชายหาดหรือที่สาธารณะหรือไม่ ๒. มีการออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ การจะรับเป็นคดีพิเศษนั้น ที่ดินจะต้องมีเนื้อที่ตั้งแต่ ๕๐ ไร่ขึ้นไป จากการตรวจสอบเบื้องต้นบริเวณดังกล่าวเข้าข่าย เพราะ น.ส.๓ ก. มี ๑๐๖ ไร่ โดยปัจจุบันมีการออกโฉนดไปแล้วบางส่วน จึงรวมราว ๘๒-๘๓ ไร่ ก็เกินตามเงื่อนไข ถ้าพบว่ามีการกระทำความผิดก็สามารถรับเป็นคดีพิเศษได้ “ถ้าดูจากตาเปล่า ยังไม่ได้ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ เราดูในเบื้องต้นในปี ๒๕๐๙-๒๕๑๓ พื้นที่ดังกล่าวยังเป็นป่าสมบูรณ์อยู่ และมีการนำ สิงหาคม๑ มาออกเป็น น.ส.๓ ในปี ๒๕๑๗ เราตั้งข้อสังเกตได้ว่าบริเวณดังกล่าวยังไม่มีการทำประโยชน์ เพราะภาพถ่ายยังคงเป็นป่า ซึ่งคิดว่าในปี ๒๕๑๗ ที่มาออกเอกสารสิทธิ มันน่าจะไม่มีการทำประโยชน์ จากนั้นในปี ๒๕๖๕ มีการสร้างวิลล่าเต็มทั้งแปลง ซึ่งเป็นข้อสันนิษฐานเบื้องต้น จึงต้องลงมาตรวจสอบพื้นที่จริงในวันนี้” พ.ต.ต.ยุทธนา กล่าวย้ำ