วันพุธ, 6 พฤศจิกายน 2567

ฟิลิปปินส์ไม่ให้ ICC สอบสวน

๓๐ มกราคม ๒๐๒๔ เวลา ๑๒.๔๕-๑๔.๐๐ น. ที่โรงเรียนคิรีวิหาร (สมเด็จพระวันรัตอุปถัมภ์) ต.ชำราก อ.เมือง จ.ตราด มีพิธี ๑.อัญเชิญรูปเหมือนสมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) ๒.เปิดผ้าคลุมป้ายอาคาร ๘๔ ปี สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) และมอบอาคารให้กระทรวงศึกษาธิการ และ ๓.ทอดผ้าป่าสามัคคี โดยรัฐมนตรีศึกษาธิการเป็นประธาน เพื่อสมทบทุนสร้างอาคารโรงอาหารและอาคารประถมวัย ท่านที่จะร่วมพิธีเชิญที่โรงเรียน ตามวันเวลาข้างต้นครับสหประชาชาติเป็นผู้สนับสนุนให้ตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) เพื่อทำหน้าที่เป็นศาลประจำสำหรับลงโทษบุคคลที่ทำความผิดร้ายแรงที่สุด ๔ อาชญากรรมคือ อาชญากรรมทำลายล้างเผ่าพันธุ์ ต่อมนุษยชาติ สงคราม และอันเป็นการรุกราน ศาลภายในประเทศ มักจะไม่สามารถดำเนินคดีกับบุคคลที่ก่ออาชญากรรมเหล่านี้ได้เนื่องจากเป็นผู้นำของประเทศ หรือเป็นบุคคลที่มีความคุ้มกัน หรือได้รับการยกย่องจากพวกเดียวกันให้เป็นวีรบุรุษที่เห็นเด่นชัดที่สุดก็คือ ผู้นำญี่ปุ่นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ก่ออาชญากรรมอันเป็นการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ + สงคราม + ต่อมนุษยชาติ + รุกราน การกระทำของอดีตผู้นำญี่ปุ่นทำให้มนุษย์หลายล้านคนเสียชีวิต บาดเจ็บและพิการ แม้ว่าผู้นำญี่ปุ่นเหล่านี้จะถูกประหารชีวิตไปนานแล้ว แต่ผู้นำและคนญี่ปุ่นในปัจจุบันก็ยังไปไหว้ดวงวิญญาณของอาชญากรที่ศาลเจ้ายาสุกุนิ แสดงให้เห็นว่าระยะเวลาผ่านไป ๘๐ ปี ยังนานไม่พอที่จะทำให้คนญี่ปุ่นทบทวนมาตรฐานทางศีลธรรม และทำความเข้าใจกับกรรมที่บรรพบุรุษของตนเคยก่อไว้ศาลอาญาระหว่างประเทศถูกตั้งขึ้นมาเพื่อต่อต้านการก่ออาชญากรรมร้ายแรงที่สุดเพื่อสร้างความสงบสุขของมนุษยชาติบนโลกใบนี้ แม้สหประชาชาติเป็นผู้สนับสนุนการจัดตั้ง แต่ศาลนี้ก็เป็นอิสระจากสหประชาชาติ มีกฎบัตรจัดตั้งของตนเอง มีสภาพนิติบุคคลระหว่างประเทศ มีประเทศสมาชิกและมีงบประมาณของตนเอง ศาลอาญาระหว่างประเทศมีฐานะต่างจากศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ซึ่งเป็นองค์กรหนึ่งของสหประชาชาติฟิลิปปินส์เคยเป็นภาคีศาลอาญาระหว่างประเทศ หลังจากอดีตประธานาธิบดีดูเตอร์เตตั้งคำถามเกี่ยวกับอำนาจของศาลฯ ที่เข้ามาสอบสวนนโยบายการปราบปรามยาเสพติดของแก รัฐบาลฟิลิปปินส์ก็ถอนตัวจากการเป็นรัฐภาคีของศาลฯ ใน ค.ศ.๒๐๑๙สัปดาห์ที่แล้ว รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมของฟิลิปปินส์ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเกียวโดของญี่ปุ่นว่าฟิลิปปินส์อาจยอมให้ศาลฯ เข้ามาสอบสวนหากทำตามขั้นตอนทางกฎหมายอย่างถูกต้อง เรื่องนี้ทำให้ผู้ที่สนับสนุนดูเตอร์เตตระหนกตกใจและต่อต้าน อดีตโฆษกประจำตัวดูเตอร์เตออกมาแถลงว่า การอนุญาตให้ศาลฯ เข้ามาสอบสวนเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ เท่ากับฟิลิปปินส์เสียสิทธิในฐานะชาติที่มีอธิปไตยเป็นของตนเองทันทีที่มีกระแสต่อต้าน ประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ ได้ออกมาพูดว่าจะไม่ให้ความร่วมมือกับศาลอาญาระหว่างประเทศในการสอบสวนสงครามยาเสพติดของอดีตประธานาธิบดีดูเตอร์เต ที่นักสิทธิมนุษยชนกล่าวหาว่าสงครามยาเสพติดนำไปสู่การฆ่าผู้ต้องสงสัยหลายพันคนโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรม พนักงานสอบสวนของศาลฯ เข้ามาในฟิลิปปินส์ได้ในฐานะประชาชนทั่วไปเท่านั้น รัฐบาลฟิลิปปินส์จะไม่อำนวยความสะดวกหรือให้ความช่วยเหลือใดๆสงครามยาเสพติดของฟิลิปปินส์เริ่มเมื่อ ๑ กรกฎาคม ๒๐๑๖ มีประชาชนถูกฆ่าในระหว่าง ค.ศ.๒๐๑๖-๒๐๒๑ จำนวน ๗,๗๔๒ คน เป็นการฆ่าโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรม มีเรื่องที่ยืนยันได้หลายกรณีที่ตำรวจไม่พอใจใครก็ถือโอกาสยัดข้อหาค้ายาเสพติด แล้วก็ยิงทิ้ง บางครั้งยิงทิ้งให้ตายกลายเป็นผีทั้งตระกูลเสียงโอดโอยโหยหวนของผู้สูญเสียญาติพี่น้องร้องระงมไปทั้งแผ่นดินฟิลิปปินส์ ผู้ที่ค้ายาเสพติดจริงตายก็ไม่กระไรดอก แต่ผู้บริสุทธิ์ที่ถูกฆ่าเพราะขัดแย้งกับตำรวจนั้นน่าสมเพชเวทนา มีการสืบสวนหาข่าวโดยหน่วยงานเอกชนและมอบผลการสืบสวนหาข่าวให้นักสิทธิมนุษยชน มีคนทำนายทายกันว่าถ้าหากมอบผลฯ ให้ศาลอาญาระหว่างประเทศ อดีตดูเตอร์เตอาจจะติดคุกหัวโต นี่เป็นเหตุผลที่ทำไมฟิลิปปินส์จึงถอนตัวจากการเป็นภาคีศาลฯ.นิติการุณย์ มิ่งรุจิราลัยsonglok๑๙๙๗@gmail.comคลิกอ่านคอลัมน์ “เปิดฟ้าส่องโลก” เพิ่มเติม