ตำรวจอินเดียยิงแก๊สน้ำตาสลายการชุมนุมเกษตรกรในระหว่างการเดินขบวนประท้วงไปยังกรุงนิวเดลี เพื่อกดดันรัฐบาลให้ปฏิบัติตามคำสัญญาที่จะจ่ายเงินสนับสนุนผลิตผลทางการเกษตรตำรวจอินเดียยิงแก๊สน้ำตาสลายการชุมนุมเกษตรกรในระหว่างการเดินขบวนประท้วงไปยังกรุงนิวเดลี เพื่อกดดันรัฐบาลให้ปฏิบัติตามคำสัญญาที่เคยให้ไว้ในปี ๒๕๖๔ ที่จะจ่ายเงินสนับสนุนผลิตผลทางการเกษตรการเดินขบวนครั้งนี้ถือเป็นการประท้วงครั้งล่าสุด หลังจากการประท้วงในลักษณะเดียวกันนี้เมื่อปี ๒๕๖๓ และเกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งนายกรัฐมนตรี นเรนทรา โมดี จะลงสมัครชิงตำแหน่งเป็นสมัยที่ ๓ โดยกลุ่มเกษตรกรถือเป็นผู้มีสิทธิออกเสียงที่มีความสำคัญอย่างมากเกษตรกรเดินขบวนมุ่งหน้าไปสู่กรุงเดลี หรือหนึ่งวันหลังจากการเจรจาระหว่างสหภาพเกษตรกรรมและรัฐมนตรีประสบความล้มเหลวในการให้คำมั่นที่จะกำหนดราคาขั้นต่ำสำหรับพืชผลทางการเกษตรหลายชนิด โดยเกษตรกรและผู้สนับสนุนหลายร้อยคนร่วมเดินขบวน รวมถึงขบวนรถแทรกเตอร์ขนาดใหญ่ในหลายพื้นที่ของรัฐปัญจาบและหรยาณา ตำรวจได้ยิงแก๊สน้ำตาหลายนัดเพื่อสลายผู้เดินขบวนที่จุดผ่านแดนชัมภู ระหว่างรัฐปัญจาบและหรยาณา ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงนิวเดลีไปทางเหนือประมาณ ๒๓๐ กม.คลิปวิดีโอเผยให้เห็นผู้ประท้วงพยายามบุกทะลวงเครื่องกีดขวางด้วยการยกบล็อกซีเมนต์ที่วางอยู่เพื่อขัดขวางการเดินขบวน ขณะที่ตำรวจใช้โดรนยิงแก๊สน้ำตาใส่ฝูงชน ส่วนผู้ประท้วงบางคนได้ถูกควบคุมตัว ส่วนในย่านชานกรุงนิวเดลี ทีมปราบจลาจลได้ประจำการบริเวณเครื่องกีดขวางบนถนนสายหลักที่มุ่งสู่เมืองหลวง เพื่อห้ามไม่ให้มีการรวมตัวของฝูงชนสหภาพแรงงานเกษตรกรต้องการค้ำประกันผลผลิตที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อให้รัฐบาลสนับสนุนหรือซื้อพืชผลทางการเกษตรในราคาขั้นต่ำ พวกเขายังต้องการให้รัฐบาลปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่จะเพิ่มรายได้เป็น ๒ เท่า นายอาร์จัน มุนดา รัฐมนตรีกระทรวงเกษตร กล่าวหลังจากการหารือกับผู้นำสหภาพแรงงานว่า ปัญหาบางอย่างได้รับการแก้ไขแล้ว แต่จำเป็นต้องมีการหารือเพิ่มเติม ด้านพรรคคองเกรส ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านหลักของอินเดียกล่าวว่า รัฐบาลทำให้เกษตรกรผิดหวัง นายไจรัม ราเมช สมาชิกสภาฯ จากพรรคคองเกรส กล่าวว่า “ผลจากราคาตลาดที่ไม่เพียงพอและราคาวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นพร้อมๆ กัน ส่งผลให้เกษตรกรตกอยู่ในภาวะหนี้สินมากขึ้น” รัฐบาลประกาศราคาขั้นต่ำสำหรับพืชผลทางการเกษตรมากกว่า ๒๐ ชนิดในแต่ละปี แต่หน่วยงานของรัฐซื้อเฉพาะข้าวและข้าวสาลี ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรเพียงประมาณ ๖% เท่านั้นในปี ๒๕๖๔ หลังการประท้วงของเกษตรกรที่กินเวลานานตลอดทั้งปี ส่งผลให้รัฐบาลของนายโมดียกเลิกกฎหมายด้านการเกษตรบางฉบับ ซึ่งประกาศใช้เพื่อลดการควบคุมตลาดสินค้าเกษตรกรรมขนาดใหญ่ รัฐบาลกล่าวว่าจะจัดตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อหาวิธีที่จะรับรองราคาผลผลิตทางการเกษตรทั้งหมด แต่เกษตรกรกล่าวหาว่ารัฐบาลดำเนินการตามคำสัญญาดังกล่าวล่าช้า.ติดตามข่าวต่างประเทศเพิ่มเติมที่ https://www.thairath.co.th/news/foreign
ม็อบเกษตรกรอินเดียบุกกรุงนิวเดลี ประท้วงราคาผลผลิต
เรื่องที่เกี่ยวข้อง