The Power of KU พลังชาวเกษตรศาสตร์แนวคิดหลักในการรวมพลังทุกภาคส่วนของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ทั้งผู้บริหาร บุคลากร นิสิตปัจจุบัน นิสิตเก่า และภาคประชาชน ที่พร้อมจะก้าวเดินไปด้วยกันในการพัฒนามหาวิทยาลัยในช่วงปีที่ ๘๒ และทศวรรษที่ ๙ ทั้งต่อยอดถึงทศวรรษที่ ๑๐ ให้ผลงานต่างๆที่วางไว้ประสบความสำเร็จเมื่อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีอายุครบ ๑๐๐ ปี และจะเดินหน้าพัฒนาต่อไปเรื่อยๆtt ttดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ขยายความถึงแนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัย ในวาระวันแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครบรอบ ๘๑ ปี วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ว่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีความโดดเด่นระดับประเทศและระดับนานาชาติด้านการเกษตร อาหาร ประมง ป่าไม้ สิ่งแวดล้อม ซึ่งหลอมรวมเข้าไว้เป็น “ศาสตร์แห่งแผ่นดิน” และยังเป็นค่านิยมหลักที่มหาวิทยาลัยยึดมั่นต่อไป เป็นการบูรณาการศาสตร์แห่งแผ่นดินเพื่อการกินดีอยู่ดีของประชาชน เพราะเราเป็นประเทศเกษตรกรรม โดยจะเสริมความแข็งแกร่งขึ้นไปอีกขั้นด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งก็มีความเข้มแข็งเช่นกันทั้งด้านวิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อต่อยอดการกินดีอยู่ดีของประชาชนได้อย่างมีความสุขทั้งกายและใจ จึงนำมาสู่ โครงการจัดตั้งอุทยานการแพทย์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ประกอบด้วย คณะแพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และคณะที่เกี่ยวข้องอื่นๆ พร้อมกับจัดตั้งโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ โดยได้รับการอนุมัติงบประมาณ ประจำปี ๒๕๖๗ จากรัฐบาล วงเงิน ๘,๘๖๓.๙๓ ล้านบาท คาดว่าใช้เวลาพัฒนา ๒๐ ปี เมื่อก้าวเข้าสู่ปีที่ ๑๐๐ ผลงานด้านสุขภาพก็จะมีความโดดเด่นไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าด้านเกษตร อาหาร ป่าไม้ สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการบูรณาการ “ศาสตร์แห่งแผ่นดินเพื่อการกินดีอยู่ดีและมีสุขอย่างยั่งยืน”tt tt“ผมมองว่าในช่วงทศวรรษที่ ๙ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นช่วงเวลาของการเพิ่มศักยภาพของคณะแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะอื่นๆ ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพที่จะเปิดการเรียนการสอนอย่างครบวงจร เชื่อมโยงกับศาสตร์แห่งแผ่นดินทั้งด้านเกษตร อาหาร ป่าไม้ สิ่งแวดล้อม รวมเป็นสุขภาพหนึ่งเดียว พร้อมกันนี้ก็จะเชื่อมโยงกับความโดดเด่นด้านวิศวกรรมศาสตร์กับการแพทย์เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมวิศวกรรมทางการแพทย์ เครื่องมือแพทย์ เพื่อลดการนำเข้าเครื่องมือแพทย์จากต่างประเทศ ขณะเดียวกันก็มุ่งพัฒนาด้านนวัตกรรมชีววิทยา ได้แก่ วัคซีนชนิดต่างๆ ซึ่งตอนนี้เราก็ทำอยู่แล้วคือการผลิตวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า วัคซีนสำหรับป้องกันโรคในวัว ไก่ ปลา เป็นต้น สิ่งที่จะทำต่อไปคือการผลิตและพัฒนาวัคซีนที่ปลอดภัยต่อคนและสัตว์ สิ่งต่างๆดังกล่าวต้องใช้เวลากว่าจะเห็นผล ผมจึงมองว่าทศวรรษที่ ๙ คือช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่าน ปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง เพื่อจะได้เห็นผลในปีที่ ๑๐๐ ของมหาวิทยาลัย” ด็อกเตอร์จงรัก ฉายภาพการดำเนินการเพื่อไปสู่เป้าหมายtt tttt tt“…ส่วนความเชี่ยวชาญเดิมที่มีอยู่ได้แก่ ด้านการเกษตรซึ่งเป็นหัวใจของประเทศ ก็จะต้องพัฒนาต่อเนื่อง สร้างองค์ความรู้และงานวิจัยยกระดับการเกษตรของประเทศ เป็นนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ ที่เกษตรกรทำน้อยแต่ได้ผลผลิตมาก และเป็นผลผลิตที่มีคุณภาพ มีรูปแบบการรวมกลุ่มใหม่ๆที่ทันสมัย โดยให้คณะเศรษฐศาสตร์เข้ามาดูแล และจัดตั้งร้านค้าผลิตภัณฑ์เกษตรระดับพรีเมียม สนับสนุนการจัดงานเกษตรแฟร์เพื่อเป็นพื้นที่ให้เกษตรกรนำผลิตภัณฑ์มาจำหน่ายถึงมือประชาชน ซึ่งเป็นงานที่ได้รับความนิยมระดับต้นๆของประเทศมีประชาชนมาร่วมงานปีละมากกว่า ๑ ล้านคน และยังนำร้านค้าต่างๆเข้าสู่ระบบออนไลน์เพื่อขายได้ทั่วประเทศและทั่วโลก เป็นการเปิดให้ประชาชนได้เข้ามาเยี่ยมและชื่นชมผลงานมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของประชาชน นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งคณะอุตสาหกรรมบริการ เพื่อพัฒนาคนรองรับการ บริการต่างๆ โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศอีกด้านหนึ่ง นอกจากนี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ยังได้ตั้งเป้าที่จะเป็นต้นแบบการสร้างความยั่งยืนของประเทศ ในเรื่องเศรษฐกิจสีเขียว การเป็นกลางทางคาร์บอน Carbon Neutrality ด้วยการลดการใช้พลังงานฟอสซิล ซึ่งก็ได้ร่วมมือกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ติดตั้งโซลาร์เซลล์บนอาคารต่างๆ เพื่อให้พลังงานจากแสงอาทิตย์ทดแทน และเพิ่มการปลูกป่า” อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เล่าถึงหลากหลายงานที่จะสานต่อเพื่อตอบโจทย์สังคมไทยและการพัฒนาประเทศชาติtt tttt ttด้านการเตรียมคน เพื่อก้าวไปสู่จุดหมายที่วางไว้นั้น ด็อกเตอร์จงรัก กล่าวว่า บุคลากรได้ประชุมและมีความคิดที่ตรงกัน โดยมหาวิทยาลัยได้วางยุทธศาสตร์การพัฒนาไว้ ๕ ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย ๑.ยุทธศาสตร์การสร้างสรรค์ศาสตร์แห่งแผ่นดิน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน ๒.ยุทธศาสตร์ การพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการในระดับสากล ๓.ยุทธศาสตร์การเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพการดำเนินตามภารกิจบนหลักธรรมาภิบาล ๔.ยุทธศาสตร์การบูรณาการศาสตร์สุขภาพและนวัตกรรมทางการแพทย์ เพื่อสุขภาวะที่ดีของประชาชนและสังคม และ ๕.ยุทธศาสตร์การเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อความยั่งยืนภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลงพร้อมกันนี้ก็ได้กำหนด New S-Curve จำนวน ๙ ด้าน เพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ ประกอบด้วย ๑.Future Food and Bio Product อาหารและผลิตภัณฑ์ชีวะแห่งอนาคต ๒.EV and Energy พลังงาน และพลังงานไฟฟ้า ๓.AI and Digital ปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยีดิจิทัล ๔.New Platfrom for Learning แพลตฟอร์มการเรียนรู้รูปแบบใหม่และการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ ๕.Health Science วิทยาศาสตร์สุขภาพ ๖.SDGs Green Carbon Neutrality การพัฒนาอย่างยั่งยืนและการเป็นกลางทางคาร์บอน ๗.Collaborative University มหาวิทยาลัยแห่งความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ๘.Innovative and Creative Research นวัตกรรมและวิจัย ๙.Smart Thai and Global Citizen คนไทยที่สมาร์ทและการเป็นพลเมืองโลก“ทีมการศึกษา” มองว่าโครงการต่างๆที่วางรากฐานไว้จะสำเร็จได้ หากทุกคนในมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ รวมถึงนิสิตเก่า ภาคประชาชน เข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเพื่อให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นของประชาชนทุกคนอย่างแท้จริงและยั่งยืน.tt tttt ttทีมการศึกษาอ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่
เรื่องที่เกี่ยวข้อง