นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เผยว่า ที่ผ่านมากรมวิชาการเกษตรใช้นโยบาย “ตลาดนำการวิจัย” และ “ตลาดนำการผลิต” โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูง เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพสูงสำหรับเกษตรกร อีกหนึ่งของแผนการดำเนินงานคือ การผลักดันการรับรองห้องปฏิบัติการกำจัดตรวจสอบศัตรูพืชของบริษัทเอกชน ในการอำนวยความสะดวก ในการออกใบรับรองสุขอนามัยพืช เพื่อยืนยันว่าพืชและผลิตภัณฑ์ จากพืชที่ส่งออกจากประเทศไทยปราศจากศัตรูพืชและโรค และเป็นไปตามข้อกำหนดการนำเข้าของประเทศที่นำเข้าtt tt“ตั้งแต่ปี ๒๕๖๔ กรมวิชาการเกษตรมีนโยบายให้บริษัทเอกชนยื่นความประสงค์ขอรับการตรวจสอบการยอมรับความสามารถห้องปฏิบัติการตรวจสอบศัตรูพืช ทางอีสท์ เวสท์ ซีดได้เข้าร่วมในการขอรับรองมาตรฐานนี้ และเมื่อ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ทางอีสท์ เวสท์ ซีด ได้การรับรองจากกรมวิชาการเกษตรว่าห้องปฏิบัติการตรวจสอบสุขภาพเมล็ดพันธุ์ของฝ่ายประกันคุณภาพ ที่ จ.เชียงใหม่ มีคุณสมบัติที่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ของกรมวิชาการเกษตร ในการตรวจสอบโรคไวรัส ToBRFV ที่สำคัญในพริกและมะเขือเทศ”tt tttt ttอธิบดีกรมวิชาการเผยอีกว่า จากการรับรองนี้ทำให้บริษัทมีความพร้อมและได้ยื่นขอขยายขอบ ข่ายความสามารถในการตรวจสอบโรคต่อไปนี้ ๑.BFB โดยวิธีการ SE-qPCR ในพืชตระกูลแตง ๑๑ ชนิด ๒.CGMMV, SqMV โดยวิธีการ ELISA ในพืชตระกูลแตง ๑๑ ชนิด ๓.TMV, ToMV, PMMoV โดยวิธีการ ELISA ใน มะเขือเทศ, มะเขือ, และ พริก และ ๔.Pospiviroids โดยวิธีการ SE-qPCR ในมะเขือเทศ และพริกtt ttทั้งนี้ที่ผ่านมา อีสท์ เวสท์ ซีด ได้ทำงานร่วมกับกลุ่มวิจัยการกักกันพืช สมาคมเมล็ดพันธุ์พืชภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค (APSA) และสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย (THASTA) เพื่อร่วมกันปรับปรุงมาตรฐานการรับรองการตรวจห้องปฏิบัติการเพื่อการรับรองโรคในเมล็ดพันธุ์ตามข้อกำหนดในการส่งออกเมล็ดพันธุ์ เพื่อการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชโดยกรมวิชาการเกษตรtt tt“การตรวจสอบศัตรูพืชถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือ ที่จะสร้างความเชื่อมั่น ในระบบการตรวจสอบศัตรูพืชของไทย และผลักดันให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านเมล็ดพันธุ์ผักเขตร้อนคุณภาพสูงของโลก (World Leader of Tropical Seeds) โดยกรมวิชาการเกษตร ได้วางเป้าหมายการส่งออกเมล็ดพันธุ์มูลค่ากว่า ๑๕,๐๐๐ ล้านบาทต่อปี ซึ่งจะต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ประสานการทำงาน ทำให้เกษตรกรและชุมชนเข้มแข็ง พร้อมกับการเติบโตของอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์อย่างยั่งยืน” นายระพีภัทร์ กล่าว.คลิกอ่าน “ข่าวเกษตร” เพิ่มเติม
เรื่องที่เกี่ยวข้อง