วันอังคาร, 5 พฤศจิกายน 2567

ลดความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างด้วยเทคโนโลยี

16 มี.ค. 2024
53

ปัญหาป่าหด-เมืองขยาย เป็นเหตุที่ทำให้เกิดการรุกล้ำพื้นที่ระหว่างคนและสัตว์เพิ่มมากขึ้น และบ่อยครั้งเป็นความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง สัตว์ประจำชาติและสัตว์ป่าคุ้มครองของไทย อันเป็นต้นตอที่ทำให้ต้องมีการนำเทคโนโลยี ๕G, ๔G, ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI และ IoT มาช่วยแก้ปัญหาให้ลุล่วงความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง หรือ Human-Elephant Conflict (HEC) เป็นปัญหาใหญ่ในหลายประเทศทั่วโลกที่มีช้างป่า ในแต่ละปีมีช้างที่ทำให้มนุษย์เสียชีวิต ๖๐๐ คน ทำให้ช้างกลายเป็นสัตว์อันตรายที่คร่าชีวิตมนุษย์มากที่สุดเป็นอันดับ ๘ ของโลก (ข้อมูลจากสำนักข่าวบีบีซี) ขณะที่กองทุนระหว่างประเทศเพื่อสวัสดิภาพสัตว์ (IFAW) รายงานว่า ในทุกปีประเทศศรีลังกาจะมีช้างป่าเสียชีวิต ๒๐๐ ตัวจากความขัดแย้ง ที่อินเดียมีช้างเสียชีวิตราว ๑๐๐ ตัว และเคนยาเสียชีวิต ๑๒๐ ตัว เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว มีการริเริ่มนำเทคโนโลยีความเร็วสูง ๕G, ๔G, ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI และเทคโนโลยี IoT หรือ Internet of Things มาเป็นเครื่องมือจัดการผ่านโครงการเฝ้าระวังช้างป่าด้วยระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Elephant Smart Early Warning System) ซึ่งบริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) ประเทศไทย นำร่องในพื้นที่รอบเขตอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๑ โดยจากรายงานที่ผ่านมาระบบ Smart Early Warning สามารถลดความเสียหายและการทำลายพื้นที่เกษตรกรรม ลดความสูญเสียทั้งชีวิตคนและช้าง รวมทั้งทรัพย์สินของชุมชนโดยรอบข้อมูลจากกรมอุทยานแห่งชาติ ระบุว่า ปี พ.ศ.๒๕๖๕ มีช้างป่ากระจายอยู่ใน ๖๙ พื้นที่อนุรักษ์ แบ่งเป็น ๓๘ พื้นที่อุทยานแห่งชาติ และ ๓๑ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โดยพบว่ามี ๔๙ พื้นที่ ที่เจอปัญหาช้างป่าออกนอกพื้นที่ หากดูข้อมูลย้อนหลังช่วง ๖ ปีที่ผ่านมา ปัญหาช้างป่าออกนอกพื้นที่นำไปสู่การบาดเจ็บ ๑๑๖ คนและเสียชีวิต ๑๓๕ คน ปกติช้างป่าเป็นสัตว์ที่ชอบใช้ชีวิตในพื้นที่กว้าง เมื่อขนาดของพื้นที่ไม่สัมพันธ์กับจำนวนช้างป่าที่มีอยู่ประมาณ ๔,๐๐๐ ตัว จึงเกิดการบุกรุกขึ้น ปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นในประเทศไทยเท่านั้น การริเริ่มโครงการดังกล่าวจึงสามารถเป็นต้นแบบการจัดการและแบ่งปันความรู้ไปยังพื้นที่ประเทศอื่นๆ ที่ประสบปัญหาเดียวกันได้ด้วยนายวีรศักดิ์ พงษ์ธัญญวิชัย หัวหน้าศูนย์นวัตกรรม ทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า จุดเริ่มต้นในวิเคราะห์โจทย์ในการออกแบบ เทคโนโลยีมาจาก ๔ แกนหลัก คือ ๑.เรียลไทม์ (Realtime) ๒.ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ๓. โซลูชันเครือข่ายและพื้นที่ครอบคลุม ๕G (Network Solution & ๕G coverage) ๔. อินเตอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่งหรือ Internet of Things (IoT) คลิกอ่านคอลัมน์ “บทความไซเบอร์เน็ต” เพิ่มเติม