วันพุธ, 6 พฤศจิกายน 2567

วิบากกรรม “ดิจิทัล”

ไม่มี “ไฟเขียว-ไฟแดง”ฟังจากสำนักงานกฤษฎีกาที่ออกมาชี้แจงถึงคำตอบที่ส่งให้รัฐบาล หลังจากพิจารณาข้อกฎหมายว่าด้วย “ดิจิทัลวอลเล็ต” ที่จะออก พระราชบัญญัติกู้เงิน ๕ แสนล้านบาท เพื่อนำมาดำเนินการ“ปกรณ์ นิลประพันธ์” เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ระบุว่าได้ส่งคำตอบให้รัฐบาลแล้วยืนยันไม่มีคำว่า “ไฟเขียว” แต่ตอบเป็นข้อกฎหมายอย่างเดียวที่กำหนดไว้ใน ม.๕๓ ม.๖ ม.๗ และ ม.๙ ของ พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลัง พ.ศ.๒๕๐๑ มีอะไรบ้าง“ถ้าเป็นไปตามเงื่อนไขทุกอย่างก็จะไม่มีปัญหา”ม.๕๓ ระบุว่า “เฉพาะกรณีที่มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการโดยเร่งด่วนและอย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติของประเทศ โดยไม่อาจตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีได้ทัน”หากทำตามกรอบดังกล่าวจะทำให้การออกกฎหมายของรัฐบาลปลอดภัย ไม่ว่าจะออกเป็น พ.ร.ก. หรือ พระราชบัญญัติก็ตามสาระสำคัญที่คณะกรรมการกฤษฎีกาชี้แนะให้รัฐบาลดำเนินการตามนี้รับรองปลอดภัยแน่ ถ้าเป็นไปตามเงื่อนไขทุกอย่างก็จะไม่มีปัญหาอะไรซึ่งทั้งหมดไม่ได้บอกว่าทำได้หรือทำไม่ได้ แต่บอกว่าถ้าทำอย่างนี้แล้วจะไม่มีปัญหา ปลอดภัย ไม่ต้องกลัวความผิดแต่อย่างใดด้วยเหตุผลต่างๆ “เศรษฐา ทวีสิน” นายกรัฐมนตรี จึงเลือกที่จะดำเนินการด้วยการนำเรื่องเข้าหารือกับคณะกรรมการดิจิทัลก่อน เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นก่อนที่จะตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งที่สำคัญก็คือรัฐบาลพยายามที่จะบอกว่าสถานการณ์ของประเทศกำลังเกิด “วิกฤติเศรษฐกิจ” เพื่อให้เข้าเงื่อนไขว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนและมีความจำเป็นก็คงต้องรอว่าคณะกรรมการฯ ซึ่งมีตัวแทนพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลพิจารณาด้วยที่เคยแสดงความเห็นทำนองว่า เมื่อเป็นนโยบายรัฐบาลก็ต้องสนับสนุน แต่ล่าสุดเสียงชักแปร่งๆไปแล้วระบุว่า ขอฟังเสียงของพรรคการเมืองอื่นๆก่อนเพราะหากรัฐบาลตัดสินใจแต่ขาดความรอบคอบรอบด้านอาจจะเกิดปัญหาในแง่กฎหมาย โดยเฉพาะ พระราชบัญญัติวินัยการเงินและการคลัง ซึ่งมีโทษหนักซึ่งมิใช่แค่ต้องพ้นจากตำแหน่งเท่านั้นอาจจะถึง “ติดคุก” ได้ก่อนหน้านี้ “วิษณุ เครืองาม” กูรูด้านกฎหมายได้ชี้ว่า หากรัฐบาลตัดสินใจเดินงานนโยบายนี้ก็ต้องให้รัฐสภาพิจารณาอนุมัติเบื้องต้นถ้าไม่ผ่านวาระแรกรัฐบาลก็ต้องแสดงความรับผิดชอบ ไม่ “ลาออก” ก็ต้อง “ยุบสภา” แม้ไม่มีกฎหมายบังคับแต่ถือเป็นประเพณีปฏิบัติเว้นแต่จะผ่านวาระแรกไปแล้ว แต่ไม่ผ่านวาระที่ ๒-๓ ถือว่าเป็นเรื่องของสภาที่รัฐบาลไม่ต้องรับผิดชอบแต่อย่างใดประเด็นปัญหาก็คือ๑.รัฐบาลที่มีสนับสนุน ๓๑๔ เสียงจะยกมือไปในทางเดียวกันหรือไม่๒.วุฒิสมาชิกที่มีมุมมองต่างกันมีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยซึ่งจะยื่นเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติได้กำหนดหัวข้อเอาไว้ ๒ ประเด็นคือ ๑.กรณีของ “ทักษิณ” ๒.ดิจิทัลวอลเล็ตนั่นคืออุปสรรคที่รออยู่ข้างหน้าหากรัฐบาลตัดสินใจที่ดำเนินการต่อไปซึ่งหนทางข้างหน้ายังไม่รู้ว่า พระราชบัญญัติเงินกู้จะผ่านไปได้หรือไม่อีกทางหนึ่งหากมีใครยื่นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญก็จะเป็นเรื่องใหญ่ทางการเมืองที่เคยมีการตัดสินมาแล้วในกรณีที่คล้ายๆกันคือกฎหมายไม่ผ่าน!“สายล่อฟ้า”คลิกอ่านคอลัมน์ “กล้าได้กล้าเสีย” เพิ่มเติม