วันอังคาร, 5 พฤศจิกายน 2567

สกมช.จัดเวทีเสริมแกร่งผู้หญิง เป็นบุคลากรด้านความมั่นคงไซเบอร์

28 ธ.ค. 2023
84

“สกมช.-หัวเว่ย” จับมือเฟ้นหาสุดยอดทีมหญิงไทยไซเบอร์ คว้าแชมป์การแข่งขัน “Woman Thailand Cyber Top Talent ๒๐๒๓” หวังส่งเสริมผู้หญิง-เพศสภาพเป็นบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ผลักดันไทยสู่ฮับดิจิทัลในระดับภูมิภาคเมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม๖๖ ที่สยามพารากอน สํานักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ร่วมกับ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จํากัด จัดการแข่งขันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สําหรับ “ผู้หญิง” และ “เพศสภาพเป็นหญิง” ครั้งแรกของประเทศไทย ภายใต้ชื่อ “Woman Thailand Cyber Top Talent ๒๐๒๓” โดยเริ่มต้นรอบคัดเลือก เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม๖๖ ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งในรอบคัดเลือกมีทีมเข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น ๒๑๘ ทีม แบ่งออกเป็น ๓ ระดับ ระดับนักเรียน (Junior) ๙๒ ทีมระดับนักศึกษา (Senior) ๗๑ ทีม และระดับประชาชนทั่วไป (Open) ๕๕ ทีม รวมผู้เข้าแข่งขันทั้ง ๓ ระดับ กว่า ๔๐๗ คน มีวัตถุประสงค์ให้ผู้หญิงหรือมีเพศสภาพเป็นหญิง ได้เรียนรู้ เพิ่มทักษะ และพัฒนาประสบการณ์ ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และเป็นการสร้างศักยภาพบุคลากรไซเบอร์ในระดับองค์กรหรือทั่วไป รวมถึงส่งเสริมให้ผู้หญิงทุกคนมีสิทธิและใช้สิทธิในการแสดงออก ถึงศักยภาพของตนได้อย่างเต็มที่พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กล่าวว่า สกมช.มีแผนผลักดันสร้างบุคลากรด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ให้เพิ่มมากขึ้น จากปัจจุบันที่ไทยยังมีการขาดแคลนอยู่จํานวนมาก โดยเฉพาะบุคลากรที่เป็นผู้หญิงหรือมีเพศสภาพหญิง เพราะจากสถิติของโลกจะมีผู้หญิงเข้ามาทํางานสายไซเบอร์ซีเคียวริตี้ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ ๑๐% ขณะที่ในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ ๓% เท่านั้น ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้เข้ามาทํางานในด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้มากขึ้น จึงได้จัดการแข่งขันขึ้นเป็นปีที่ ๒ Woman Thailand Cyber Top Talent ๒๐๒๓ ซึ่งเป็นการแข่งขันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สําหรับผู้หญิงและเพศสภาพเป็นหญิงของไทยด้าน บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด โดยมี อนาริสา ศรีนวล ผู้จัดการฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร เป็นตัวแทนในการขึ้นมอบรางวัลให้กับผู้ชนะ ซึ่งการส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านไอซีที ให้แก่นักเรียนและบุคคลทั่วไปในไทย ที่เป็นผู้หญิงหรือมีเพศสภาพเป็นหญิงเป็นอีกหนึ่งความมุ่งมั่นที่หัวเว่ยให้ความสำคัญตลอดมา ผ่านการจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับบุคลากรกลุ่มนี้ให้กลายเป็นขุมพลังสำคัญ ด้านบุคลากรไซเบอร์ซีเคียวริตี้ของประเทศ ความร่วมมือกับ สกมช.ในการแข่งขันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สําหรับหญิงและเพศสภาพเป็นหญิง ซึ่งครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งโครงการที่หัวเว่ยตั้งใจ ที่จะร่วมส่งเสริมความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของไทย ผ่านเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านดิจิทัลของประเทศไทยผ่านการบ่มเพาะบุคลากร ตามพันธกิจของหัวเว่ยที่ว่า “เติบโตในประเทศไทย เพื่อประเทศไทย” (In Thailand, For Thailand) ผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลอย่างยั่งยืนในระดับภูมิภาคต่อไปในอนาคตtt ttสำหรับทีมเข้าแข่งขันจํานวน ๓๐ ทีม ชิงเงินรางวัลรวมกว่า ๓๓๐,๐๐๐ บาท พร้อมเหรียญที่ระลึกโล่รางวัลและเกียรติบัตร โดยผลการแข่งขันปรากฏว่า ระดับนักเรียน รางวัลชนะเชิศ ทีม NR๐๑ สังกัดโรงเรียนนางรอง, รางวัลรองชนะเชิศอันอับที่ ๑ ทีม คีรีบุน สังกัดโรงเรียนดรุณสิกขาลัย, รางวัลรองชนะเชิศอันอับที่ ๒ ทีม หมาแดงยอดนักสู้ สังกัดโรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวรtt ttขณะที่ ระดับนักศึกษา รางวัลชนะเชิศ ทีมเป็ดย่าง MK สังกัดสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง, รางวัลรองชนะเชิศอันอับที่ ๑ ทีม Need๒know สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, รางวัลรองชนะเชิศอันอับที่ ๒ ทีม KAK๑๐๑ สังกัดมหาวิทยาลัยมหิดลtt ttสำหรับระดับประชาชนทั่วไป รางวัลชนะเชิศ ทีม hacKEr๔nDtHECA๗-๑ สังกัด ศูนย์ไซเบอร์ทหาร, รางวัลรองชนะเชิศอันอับที่ ๑ ทีม สวัสดีวันเสาร์ สังกัด ประชาชนทั่วไป, รางวัลรองชนะเชิศอันอับที่ ๒ ทีม JummhengHasF๑ag สังกัด KBTG