PFAS หรือ สารเคมีอมตะ เป็นสารประกอบฟลูออรีนที่ผลิตขึ้นมาใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมต่างๆ ตั้งแต่บรรจุภัณฑ์อาหารไปจนถึงการผลิตเซมิคอน ดักเตอร์และยางรถยนต์ สารพวกนี้ไม่ย่อยสลาย และสะสมในสิ่งแวดล้อม ก่อความกังวลเกี่ยวกับมลพิษที่เป็นพิษโดยเฉพาะในน้ำ ซึ่งได้เพิ่มสูงขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาทีมวิจัยนำโดยนักวิทยาศาสตร์ในสาขาเคมีและวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมจากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ในอังกฤษ และนักวิทยาศาสตร์จากสถาบัน Bundesanstalt für Material forschung und-prüfung (BAM) ในเยอรมนี เผยว่า ได้สร้างวิธีใหม่ในการตรวจจับสารเคมีอมตะในน้ำ ด้วยการสร้างตัวเซ็นเซอร์ที่ทำงานผ่านแผงวงจรไฟฟ้าขนาดเล็กประกอบด้วยทองคำ เชื่อมด้วยโลหะอิริเดียม ทีมเผยว่าได้ใช้แสงอัลตราไวโอเลตมากระตุ้นอิริเดียม จนแผงวงจรปล่อยแสงสีแดงออกมาทีมได้จุ่มอุปกรณ์ลงในน้ำที่ปนเปื้อน เพื่อทดสอบตรวจจับกรดเพอร์ฟลูออโรออกตาโนอิก (PFOA) ที่เป็นสารเคมีอมตะ ซึ่งเปลี่ยนแปลงของสัญญาณเรืองแสงจะปล่อยออกมาจากโลหะ ผลทดสอบชี้ว่าเซ็นเซอร์ตรวจจับสารเคมีอมตะได้ถึง ๒๒๐ ไมโครกรัมต่อน้ำ ๑ ลิตร ผลลัพธ์นี้สามารถนำไปใช้ได้กับน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม แต่สำหรับน้ำดื่มยังจำเป็นต้องมีแนวทางที่ละเอียดอ่อนมากกว่านี้เพื่อให้ตรวจจับสารเคมีที่อยู่จนชั่วนิรันดร์ในระดับนาโนได้.อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่