วันพุธ, 6 พฤศจิกายน 2567

สหรัฐฯ ปล่อยตัวคนสนิท "มาดูโร" แลก ๑๐ ชาวอเมริกันถูกเวเนซุเอลาควบคุมตัว

สหรัฐฯ และเวเนซุเอลาบรรลุข้อตกลง ในการแลกเปลี่ยนนักโทษชาวอเมริกัน ๑๐ คน กับคนสนิทของประธานาธิบดีนิโคลัส มาดูโรสหรัฐฯ และเวเนซุเอลาบรรลุข้อตกลงเมื่อวันพุธ (๒๐ ธ.ค.) เพื่อแลกเปลี่ยนนักโทษชาวอเมริกัน ๑๐ คน กับคนสนิทของประธานาธิบดีนิโคลัส มาดูโร ในขณะที่สหรัฐฯ เริ่มผ่อนคลายแรงกดดันต่อรัฐบาลเวเนซุเอลา และผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าในประชาธิปไตยเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ กล่าวว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ทำการตัดสินใจที่จะปล่อยตัวนายอเล็กซ์ ซาบ อดีตคนสนิทของผู้นำเวเนซุเอลา ซึ่งถูกสหรัฐฯ กล่าวหาว่าฟอกเงิน รวมถึงนักโทษการเมืองเวเนซุเอลา ๒๐ คน เป็นการตอบแทน แลกกับการที่ทางการเวเนซุเอลาปล่อยพลเมืองอเมริกัน ๑๐ คน รวมถึงการส่งตัวนายลีโอนาร์ด เกลนน์ ฟรานซิส ที่มีฉายาว่า “แฟต ลีโอนาร์ด” ซึ่งพัวพันกับข่าวอื้อฉาวเกี่ยวกับการคอร์รัปชันที่เลวร้ายที่สุดของกองทัพเรือสหรัฐฯไบเดนกล่าวในแถลงการณ์ว่า “วันนี้ชาวอเมริกัน ๑๐ คนที่ถูกควบคุมตัวในเวเนซุเอลาได้รับการปล่อยตัวแล้ว และกำลังจะกลับบ้าน” พร้อมเสริมว่า เขา “ดีใจที่เรื่องเลวร้ายของพวกเขาสิ้นสุดลงในที่สุด” คำแถลงของไบเดน ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงการปล่อยตัวนายซาบ ระบุว่า สหรัฐฯ “รับรองว่าเวเนซุเอลาได้ปฏิบัติตามพันธกรณี”ทำเนียบขาวระบุชื่อชาวอเมริกัน ๔ คนที่ได้รับอิสระ ได้แก่ โจเซฟ คริสเตลลา, ไอวิน เฮอร์นันเดซ, เจอร์เรล เคเนมอร์ และซาวอย ไรท์การแลกเปลี่ยนนักโทษเกิดขึ้นหลังจากที่สหรัฐฯ เห็นชอบที่จะผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรด้านน้ำมันและก๊าซต่อรัฐบาลเวเนซุเอลาเมื่อเดือนตุลาคม หลังจากที่สหรัฐฯ บรรลุข้อตกลงกับฝ่ายค้านที่จะจัดการเลือกตั้งนายซาบ ซึ่งเป็นชาวโคลอมเบีย ซึ่งมาดูโรมอบสัญชาติเวเนซุเอลาและตำแหน่งเอกอัครราชทูต ถูกจับกุมเมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๖๓ ขณะแวะพักที่หมู่เกาะเคปเวิร์ด และมีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนไปยังสหรัฐฯ ในอีก ๔ เดือนต่อมานายซาบ และนายอัลวาโร ปูลิโด และหุ้นส่วนทางธุรกิจของเขา ถูกตั้งข้อหาจากการดำเนินการเครือข่ายที่ใช้ประโยชน์จากความช่วยเหลือด้านอาหารที่มีปลายทางในเวเนซุเอลา ทั้งคู่ถูกกล่าวหาว่าได้ย้ายเงิน ๓๕๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ออกจากเวเนซุเอลาไปยังบัญชีที่พวกเขาควบคุมในสหรัฐฯ และที่อื่นๆ เหตุดังกล่าวส่งผลให้นายมาดูโรแสดงความไม่พอใจอย่างมาก โดยระงับการเจรจากับฝ่ายค้านที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ เกี่ยวกับการยุติวิกฤติทางการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศในขณะเดียวกัน นายลีโอนาร์ด เกลนน์ ฟรานซิส ผู้ลี้ภัยที่ถูกเวเนซุเอลาจับกุมและส่งตัวกลับ เป็นผู้รับเหมาด้านการทหารที่รู้จักกันในชื่อ “แฟต ลีโอนาร์ด” ซึ่งหลบหนีการกักบริเวณในบ้านในแคลิฟอร์เนีย เมื่อเดือนกันยายน ๒๕๖๕ฟรานซิส ซึ่งมีสัญชาติมาเลเซีย สารภาพว่า ในปี ๒๕๕๘ เขาได้เสนอสินบนจำนวน ๕๐๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ แก่เจ้าหน้าที่กองทัพเรือ เพื่อให้ส่งงานไปที่อู่ต่อเรือของเขา ซึ่งอัยการระบุว่า เขาเรียกเก็บเงินกองทัพเรือเกินจริง เป็นเงิน ๓๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐการแลกเปลี่ยนนักโทษอยู่ในการหารือกันมานานแล้วระหว่างสองรัฐบาล ในขณะที่สหรัฐฯ เปลี่ยนกลยุทธ์ไปใช้การมีส่วนร่วมกับมาดูโรในปี ๒๕๖๒ สหรัฐฯ ภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศให้นายมาดูโร ขาดความชอบธรรมตามกฎหมาย หลังจากถูกกล่าวหาเกี่ยวกับความผิดปกติของการเลือกตั้ง และได้เริ่มการรณรงค์ผ่านการคว่ำบาตรและการกดดันให้ถอดถอนเขาออก แต่ไม่สามารถสร้างแรงกดดันต่อนายมาดูโรได้ เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากฐานสนับสนุนทางการเมืองที่จงรักภักดีและกองทัพ รวมถึงจากคิวบา รัสเซีย และจีน.ติดตามข่าวต่างประเทศเพิ่มเติมที่ https://www.thairath.co.th/news/foreign