วันพฤหัสบดี, 7 พฤศจิกายน 2567

ส่องสถานการณ์การเมืองปีมังกรทอง ชนวนร้อน “บิ๊กการเมือง”

“ทีมข่าวการเมือง” ได้ถือโอกาสการเปลี่ยนผ่านสู่ศักราชใหม่ เปิดหน้าสัมภาษณ์พิเศษ โดยคัดสรรบุคคลระดับที่ผ่านประสบการณ์เป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ ประมุขฝ่ายบริหาร และ สส.ยาวนานที่สุดในสภาผู้แทนราษฎรติดต่อกันถึง ๑๗ สมัย มาพลิกมุมคิดการเมืองจากอดีต ปัจจุบัน และอนาคตบุคคลแรกในปีมังกรทองที่ “ทีมข่าวการเมือง” เลือก คือ นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี ๒ สมัย ประเดิมมองตั้งแต่บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๙ ปี ในภาพรวมบ้านเมืองพัฒนาไปมาก ทั้งพัฒนาทางด้านวัตถุโครงสร้างทั้งหลายแต่มองในเชิงการเมือง เราเปลี่ยนรัฐธรรมนูญ (รธน.) ไปถึง ๒๐ ฉบับ แสดงให้เห็นถึงปัญหาเกิดขึ้นในช่วงของแต่ละตอนของจังหวะเวลา มันไม่ได้เป็นเหตุการณ์ที่ปกติในฐานะประจักษ์พยานที่เห็น ผมเริ่มใช้ รธน.ฉบับ ๒๕๑๑ ลงสมัคร สส.ครั้งแรก รธน.ฉบับแรก ถึงฉบับปี ๒๕๑๑ ประชาธิปไตยพัฒนาก้าวหน้าพอสมควร แต่โครงสร้างระบบประชาธิปไตยไม่ก้าวหน้าเพราะเอื้ออำนวยให้จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกฯต่อ ในที่สุดสภาอยู่ได้ ๒ ปี ๙ เดือน ผมพูดได้เต็มปากในฐานะประจักษ์พยานว่า ในที่สุดรัฐบาลยึดอำนาจตัวเอง จอมพลถนอมรำคาญที่ สส.เหล่านี้ขอเพิ่มเงินจาก ๓.๕ แสนบาท เป็น ๑ ล้านบาท ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้องในการให้เงิน สส.บนถนนยึดอำนาจอยู่ได้ไม่มั่นคง เพราะประชาชนตื่นตัวพอสมควรเมื่อรัฐบาลจอมพลถนอมล้มลง มี รธน.ฉบับ ๒๕๑๗ อยู่ได้นาน เกิดเหตุ ๖ ตุลา ๑๙ และมี รธน.ปรับเปลี่ยนมาเรื่อยจนถึงปัจจุบัน ประชาธิปไตยมีความมั่นคงมากขึ้น เงื่อนไขที่เป็นผลให้ทหารยึดอำนาจ เป็นปัญหามาตั้งแต่ต้นอุปสรรคประชาธิปไตยคือทหารยึดอำนาจไม่ค่อยเป็นเรื่องเป็นราว เหมือนกับอยากยึดเมื่อไหร่ก็ยึด นึกว่าจะหมดไปแต่ไม่หมดปี ๒๕๓๔ “บุฟเฟต์ คาร์บิเน็ต” เป็นเหตุผลยึดอำนาจรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ แต่จริงๆเหตุผลการยึดคือการโยกย้ายทหารความตื่นตัวในแง่มุมของในสภา ในฝ่ายของผู้มีอำนาจอาจดูถดถอยไป แต่ประชาชนและสื่อมวลชนตื่นตัวสูงขึ้นเป็นลำดับ ใครทำผิดทำนองคลองธรรม ประชาชนเริ่มรับไม่ได้มากขึ้น“ผมเคยใช้คำว่าทหารน่าจะไม่ใช่เงื่อนไข ไม่ใช่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาประชาธิปไตย แต่เมื่อภัยจากการยึดอำนาจมันค่อยๆจางลงไม่คิดว่ามีโรคชนิดใหม่เกิดขึ้น คือธุรกิจการเมือง ก็ต้องหาประโยชน์ ซื้อทุกอย่างที่ ขวางหน้า ซื้อเสียง ซื้อนักการเมือง ซื้อพรรคการเมือง รวมถึง สว.ก็โดนซื้อองค์กรอิสระปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ การเมืองมีปัญหา ถึงเกิดเหตุยึดอำนาจปี ๔๙ ประชาธิปไตยสะดุด และภัยธุรกิจการเมืองก็ยังมีอยู่แม้กระทั่ง รธน.ฉบับปราบโกง ใช้มาถึงบัดนี้ แนวโน้มโกงปราบ ไม่ใช่ รธน.ปราบโกง เมฆหมอกเหล่านี้ทำให้ความโปร่งใส สดใสของประชาธิปไตยไม่เกิดขึ้น”tt ttขณะเดียวกัน ในฐานะที่ผมเป็นคนผลักดันนโยบายกระจายอำนาจให้เกิด “อบจ.-อบต.” เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสปกครองตนเอง แต่ยังมีการอภิปรายในสภา ว่าท้องถิ่นกับภูมิภาคใครโกงมากกว่ากัน โดยสรุปไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่มีโกงผมเป็นห่วงตรงนี้ เพราะนโยบายกระจายอำนาจ คือเส้นทางประชาธิปไตยเบื้องต้นเราต้องพยายามทำให้ได้มาโดยสุจริต ถึงเปลี่ยนรูปแบบคุมการเลือกตั้งจากกระทรวงมหาดไทย กกต.ก็เกิดขึ้น กฎหมายกำหนดให้ต้องทำให้เลือกตั้งบริสุทธิ์ สุจริต ยุติธรรม แต่ทำได้อย่างเดียวคือทำให้การเลือกตั้งจบ นับเป็นปัญหาที่เรายังต้องเผชิญสำหรับภาพอนาคตของบ้านเมือง ต้องยึดหลักปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ระบบนี้พึ่งฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติทั้งหมดไม่ได้ เพราะฝ่ายบริหารมาจากฝ่ายนิติบัญญัติ รัฐบาลดีก็ต่อเมื่อได้ สส.ดี ถ้าได้ สส.ซื้อเสียง รัฐบาลก็โกงเอาคืนสมัยผมเป็นนายกฯจึงให้กำลังใจฝ่ายตุลาการ เสมอ ที่เป็นหนึ่งในอำนาจอธิปไตย ถ้าฝ่ายนี้ไม่ยึดหลักนิติธรรม หลักกฎหมายบ้านเมืองก็ยากที่จะไปรอด จะมีเหตุวุ่นวายเกิดขึ้น ฉะนั้นเหนือสิ่งอื่นใด ขอให้หลักการเคารพกฎหมาย หลักนิติธรรมยังคงยืนหยัดให้ได้หลักนิติธรรมเป็นหัวใจ ต้องไม่เลือกปฏิบัติ ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายเท่าเทียมนายชวน ที่แจ้งเกิดทางการเมืองในยุคนั้นไม่ต้อง ใช้เงิน ยังชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมการซื้อเสียงหลายรูปแบบในแต่ละยุคให้เห็นภาพ ตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป ค่าครองชีพสูงขึ้น รายจ่ายมากขึ้น พฤติกรรมคนก็เปลี่ยนทำให้นักการเมืองต้องมีอะไรไปแถม เมื่อก่อนมีคืนหมาหอนก่อนวันเลือกตั้ง เดี๋ยวนี้ไม่มี ทำกันล่วงหน้าพร้อมชี้ให้เห็นภาพ ชัดขึ้นระหว่างที่ตัวเองอาจจะแพ้ ถ้าไม่ใช้เงิน กับใช้เสียงละ ๕๐๐ บาทแล้วมีโอกาสชนะ นักการเมืองจะเลือกอะไร เป็นคำถามที่ตอบยาก แล้วเปรียบเปรยทำนอง ถ้าผมลงสมัคร สส.เขตในปี ๒๕๑๒ จะไปรอดหรือไม่ในสถานการณ์ปัจจุบัน อันนี้เป็นข้อเตือนใจประชาชนปี ๒๕๖๗ ประชาชนยังไม่ไว้วางใจวิกฤติการเมืองจะกลับมาเหมือนเดิม เป็นชนวนไปสู่การยึดอำนาจ นายชวน บอกว่า รอติดตามดูบทบาทผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (ชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล) เห็นให้สัมภาษณ์อาจจะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในปี ๒๕๖๗ต้องให้เวลารัฐบาลได้ทำงาน เว้นแต่ชัดเจนว่าทำผิด แต่ถ้าเป็น เรื่องทั่วๆไป ต้องให้เวลารัฐบาลได้ทำงานสักระยะหนึ่งค่อยว่ากันไปtt ttรัฐบาลทำอะไรก็ตามเป็นนโยบายของเขา ย่อมมีสิทธิทำได้ แต่ภายใต้กติกาของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ความจริงมีหลายเรื่องที่เป็นประโยชน์ ที่ควรสนับสนุน แต่มีหลายเรื่องที่มีการทักท้วง มุ่งเพื่อหาเสียงจนลืมนึกถึงกฎเกณฑ์ กติกา วินัย อันนี้ต้องระมัดระวังนิรโทษกรรมที่ตอนนี้พยายามจะเปิดสุดซอย นายชวน บอกว่า ยังตอบไม่ได้ว่าเป็นอย่างไร เพราะยังไม่ได้อ่าน คุยกับคุณราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้น ในฐานะเป็นคนที่ตาม แล้วให้ช่วยสรุปถ้าจะพูดไปสิ่งหนึ่งที่คิดถึง คือคนที่ไปประท้วงที่ไม่ชอบพฤติกรรมของรัฐบาล เช่น ประท้วงแก้ไข รธน. โกง คอร์รัปชัน คนเหล่านี้ ไม่ได้มาเพื่อรักษาความถูกต้องของบ้านเมือง ไม่ได้มาเพื่อประโยชน์ของตัวเอง คนเหล่านี้โดนคดี ผมว่าอันนี้น่าคิดแต่เรื่องอื่นๆ ทั้งเรื่องของนักการเมืองต้องทบทวนให้ดี ไม่เช่นนั้นอาจกลายเป็นเข้าเพื่อช่วยพวกตัวเอง“ทีมข่าวการเมือง” ถามว่ามองการเมืองการปกครองในปี ๒๕๖๗ จะเป็นอย่างไร หรืออาจเป็นปีของคนที่มีอิทธิพลทางการเมืองเข้ามามีบทบาท นายชวน บอกว่า เคยให้สัมภาษณ์ตอนเลือกตั้งเสร็จใหม่ว่า คงไม่ต้องตั้งรัฐบาล ๑๙ พรรค หรือ ๑๖ พรรคเป็นรัฐบาล ๓ พรรค คือ “เพื่อไทย-ก้าวไกล-ภูมิใจไทย” แต่บังเอิญมี ปัญหา ๓ พรรคจึงไม่เกิด พรรค ก้าวไกล เสียโอกาสไม่ได้เป็นนายกฯ และพรรคเพื่อไทยก็มารัฐบาลมีเสียงข้างมาก เสียงในสภาพอ แต่สิ่งนอกเหนือจากนั้นที่ผมว่า อาจทำให้เกิดความ รู้สึก เช่น……การใช้ อภิสิทธิ์โดยเอาเรื่อง ครอบครัวอยู่เหนือกว่า ประโยชน์ของชาติหลักนิติธรรมคือหลักของชาติ ทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเท่าเทียมกัน“ขอพูดตรงๆ กรณีคุณทักษิณ ชินวัตร ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณลดโทษ เป็นเรื่องยิ่งใหญ่ โทษหลายปี ๘ ปี ลดเหลือปีเดียว เป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเหลือแล้วสิ่งที่ต้องทำคือเมื่อลดโทษเหลือเท่านี้ ก็ต้องลงโทษตามที่เป็นอยู่ โทษติดคุกก็ต้องติดคุก ไม่ใช่หนีไป และทำให้คนข้องใจ ทั้งประเทศในอนาคตผู้รับผิดชอบอาจจะติดคุก ถ้ารายงานไม่ตรง มันพิสูจน์ได้วันข้างหน้าอาการโรคเป็นอย่างไร อันนี้เตือนไว้ด้วยความหวังดี”ผมไม่แน่ใจว่าแพทย์ก็ดี ผู้ดูแลเรือนจำก็ดี กรมราชทัณฑ์ก็ดี ในอนาคตท่านอยู่สุขไหม แม้เกษียณไปแล้ว ไม่แน่ใจว่าคดีจะเกิดเมื่อไหร่ แต่มันต้องมีแน่ ในที่สุดคนที่ร่วมก็จะได้รับผลนี้ไปด้วยฉะนั้นไม่มีอะไรดีไปกว่ายึดความถูกต้อง.ทีมการเมืองคลิกอ่านคอลัมน์ “วิเคราะห์การเมือง” เพิ่มเติม