บลูบิคชี้ ๓ ความท้าทายการใช้ AI ตั้งแต่ ความท้าทายด้านจริยธรรม, การนำไปใช้งานจริง และความท้าทายด้านเทคนิค ประเมินการเคาะมาตรฐานระดับนานาชาติ ISO/IEC ๔๒๐๐๑ สำหรับการใช้ AI ครอบคลุมเรื่องจริยธรรม ความโปร่งใส และกระบวนการทำงาน จะช่วยสร้างโอกาสในระยะยาวได้นายพิพัฒน์ ประภาพรรณพงศ์ ผู้อำนวยการสายงาน Advanced Insights บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BBIK เปิดเผยว่า ปัจจุบันเทคโนโลยี AI หรือปัญญาประดิษฐ์ ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนศักยภาพการเติบโตของธุรกิจ องค์กรต่างจำเป็นต้องศึกษาและนำ AI มาประยุกต์ใช้ อย่างไรก็ตาม ธุรกิจจำนวนมาก ยังต้องเผชิญกับความท้าทายในการพัฒนา AI ซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ ด้านหลัก ได้แก่ ความท้าทายด้านจริยธรรม, ความท้าทายในการนำ AI ไปใช้งานจริงในภาคธุรกิจ และความท้าทายด้านเทคนิค ความท้าทายสำคัญส่วนแรก คือเรื่องจริยธรรม โดยเฉพาะเรื่องผลลัพธ์จากโมเดล AI ที่มีอคติ เช่น กรณีการทำ Risk Scoring หรือการวัดระดับความเสี่ยงของลูกค้า ที่หากข้อมูลมีความบิดเบือน อาจส่งผลให้คนบางกลุ่มไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินบางประเภทได้ อีกประเด็นที่กำลังเป็นที่ถกเถียงกันคือเรื่องความสุ่มเสี่ยงในการละเมิดความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล ในกระบวนการเอาข้อมูลมาใช้เทรนโมเดลขณะที่ความท้าทายส่วนที่สอง คือ ด้านการพัฒนาและนำ AI ไปปรับใช้จริงของภาคธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการขาดกลยุทธ์ที่ชัดเจนว่าจะนำ AI ไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในส่วนไหน และขาดแนวทางการใช้งาน (Use cases) ที่เหมาะสม รวมถึงความไม่พร้อมด้านบุคลากร เช่น การที่พนักงานมองว่า AI เป็นภัยคุกคามมากกว่าจะเป็นผู้ช่วยในการทำงานสำหรับความท้าทายที่สาม คือ ด้านเทคนิค ได้แก่ ความไม่พร้อมด้านข้อมูล เช่น เรื่องข้อมูลไม่มีคุณภาพจนไม่สามารถนำไปใช้งานได้ ข้อมูลไม่ครบหรือไม่เพียงพอต่อการนำไปเทรนโมเดล ขณะที่บุคลากรขาดความรู้เชิงเทคนิคในการพัฒนาโมเดลวิเคราะห์ เป็นต้น ความท้าทายดังกล่าว นำมาซึ่งความจำเป็นในการวางกรอบการพัฒนาและนำ AI ไปใช้งาน โดยหนึ่งในแนวทางที่เริ่มมีการพูดถึงกันอย่างกว้างขวางในต่างประเทศ คือ มาตรฐาน AI สำหรับองค์กร หรือ ISO/IEC ๔๒๐๐๑ ที่เป็นมาตรฐานสำหรับการบริหารจัดการระบบ AI เพื่อเป็นแนวทางสำหรับองค์กรในการวางโครงสร้างการบริหารจัดการความเสี่ยงและโอกาสที่มีเกี่ยวกับการใช้ AI ครอบคลุมเรื่องจริยธรรม ความโปร่งใส และกระบวนการทำงานต่างๆ“แม้ว่ามาตรฐาน AI ไม่ได้เป็นมาตรการบังคับ แต่การมีมาตรฐาน AI ของธุรกิจจะสร้างความเชื่อมั่นในด้านการกำกับดูแล ลดความเสี่ยงจากการไม่สามารถวัดผลจาก AI และช่วยลดความเสี่ยงของผลกระทบจากกรณีการละเมิดข้อมูลหรือข้อมูลรั่วไหล เป็นต้น โดยการมีมาตรฐาน AI และกรอบการประยุกต์ใช้ AI อย่างมีกลยุทธ์ จะเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างโอกาสจาก AI และขับเคลื่อนศักยภาพการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว”.คลิกอ่านคอลัมน์ “บทความไซเบอร์เน็ต” เพิ่มเติม
เรื่องที่เกี่ยวข้อง