วันพฤหัสบดี, 7 พฤศจิกายน 2567

"ออปเพนไฮเมอร์" กวาด ๗ รางวัลบาฟตา ภาพยนตร์-ผู้กำกับ-นักแสดงยอดเยี่ยม

ภาพยนตร์มหากาพย์ระเบิดปรมาณู “ออปเพนไฮเมอร์” คว้ารางวัล ๗ รางวัล ซึ่งรวมถึงภาพยนตร์ ผู้กำกับ และนักแสดงยอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัลบาฟตาครั้งที่ ๗๗ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาภาพยนตร์มหากาพย์ระเบิดปรมาณู “ออปเพนไฮเมอร์” คว้า ๗ รางวัล ซึ่งรวมถึงภาพยนตร์ ผู้กำกับ และนักแสดงยอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัลบาฟตาครั้งที่ ๗๗ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ด้านภาพยนตร์แฟนตาซีสไตล์โกธิคเรื่อง “พัวร์ ธิงส์” (Poor Things) คว้าไป ๕ รางวัล และภาพยนตร์เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นาซีเยอรมัน เรื่อง “เดอะ โซน ออฟ อินเทอเรสต์” (The Zone of Interest) คว้าไป ๓ รางวัลคริสโตเฟอร์ โนแลน ได้รับรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมครั้งแรกของบาฟตา ส่วน คิลเลียน เมอร์ฟี ได้รับรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม จากการรับบท เจ. โรเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ นักฟิสิกส์เจ้าของฉายาบิดาแห่งระเบิดปรมาณู เมอร์ฟีกล่าวว่า เขารู้สึกขอบคุณที่ได้รับบท “ตัวละครที่มีความซับซ้อนมาก”เอ็มมา สโตน ได้รับรางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จากการรับบทเป็น เบลลา แบ็กซ์เตอร์ ใน “Poor Things” ที่ยังคว้ารางวัลสาขาเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม การออกแบบงานสร้าง การออกแบบเครื่องแต่งกาย และรางวัลการแต่งหน้าและทำผมยอดเยี่ยม”ออปเพนไฮเมอร์” ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงถึง ๑๓ รางวัล ซึ่งต้องแข่งขันในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมร่วมกับ “Poor Things” “Killers of the Flower Moon” “Anatomy of a Fall” และ “The Holdovers” ยังได้รับรางวัลด้านการตัดต่อ การถ่ายภาพ ดนตรีประกอบ รวมถึงรางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม ที่ตกเป็นของ โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์ด้าน “The Zone of Interest” เป็นภาพยนตร์ที่ผลิตโดยอังกฤษ ซึ่งถ่ายทำในโปแลนด์ โดยมีนักแสดงชาวเยอรมันเป็นส่วนใหญ่ ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นทั้งภาพยนตร์อังกฤษยอดเยี่ยม และภาพยนตร์ที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษยอดเยี่ยม ผลงานการกำกับของ โจนาธาน เกลเซอร์ ที่เล่าเหตุการณ์ในบ้านของครอบครัวที่ตั้งอยู่หลังกำแพงค่ายมรณะเอาชวิทซ์ ขณะที่ภาพยนตร์ “Killers of the Flower Moon” ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงถึง ๙ รางวัล แต่กลับบ้านมือเปล่า เช่นเดียวกับภาพยนตร์ชีวประวัติของ ลีโอนาร์ด เบิร์นสไตน์ เรื่อง “Maestro” ซึ่งได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงถึง ๗ รางวัล ภาพยนตร์เรื่อง “All of Us Strangers” ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงถึง ๖ รางวัล และภาพยนตร์สงครามชนชั้นเรื่อง “Saltburn” ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง ๕ รางวัล ล้วนกลับบ้านมือเปล่าเช่นกันส่วน “Barbie” ภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดแห่งปี ก็กลับบ้านมือเปล่า จากการได้รับการเสนอชื่อถึง ๕ รางวัล ขณะที่ เกรตา เกอร์วิก ผู้กำกับ ไม่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลผู้กำกับ ทั้งรางวัลบาฟตา และออสการ์ ซึ่งหลายคนมองว่าเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่สถาบันภาพยนตร์ของอังกฤษ ได้แก้ไขข้อกำหนดบางประการเพื่อเพิ่มความหลากหลายของรางวัลในปี ๒๕๖๓ หลังจากไม่มีผู้กำกับหญิงได้รับการเสนอชื่อในสาขาผู้กำกับเป็นปีที่ ๗ ติดต่อกัน ส่วนผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้ง ๒๐ คน ในประเภทนักแสดงนำและนักแสดงสมทบล้วนเป็นคนผิวขาว.ที่มา: APติดตามข่าวต่างประเทศเพิ่มเติมที่ https://www.thairath.co.th/news/foreign