กลายเป็นประเด็นร้อนในแวดวงสื่อสารมวลชน หลังทักเกอร์ คาร์ลสัน อดีตพิธีกรโทรทัศน์ชื่อดังชาวอเมริกัน ได้รับโอกาสเข้าสัมภาษณ์ “วลาดิเมียร์ ปูติน” ประธานาธิบดีรัสเซีย แบบส่วนตัว ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ-รัสเซีย กำลังดำเนิน ไปอย่างเต็มรูปแบบโดยเฉพาะประเด็นปฏิบัติการพิเศษทางทหารใน “ยูเครน” ที่กำลังจะครบ ๒ ปีเต็มในวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์นี้ ซึ่งนายปูตินเริ่มเปิดประเด็นด้วยว่า เราจะคุยแบบซีเรียสหรือคุยแบบรายการทอล์กโชว์ ก่อนที่จะร่ายยาวประวัติศาสตร์เป็นเวลากว่าครึ่งชั่วโมงหลังได้รับคำตอบว่าขอคุยจริงจัง อธิบายตั้งแต่ต้นกำเนิดของอาณาจักรที่สรุปใจความได้ว่า สองราชวงศ์เคียฟ-นอฟโกรอดเป็นพี่น้องร่วมสายเลือด แต่ถูกแบ่งแยกตามกงล้อของกาลเวลา เผชิญกับอิทธิพลของจักรวรรดิมองโกลเจงกิส ข่าน อิทธิพลของอาณาจักรโปแลนด์-ลิทัวเนียไปจนถึงรัฐบาลนาซีเยอรมนี และการก่อตั้ง-ล่มสลายของสหภาพโซเวียตที่เป็นตัวกำหนดเขตแดนในโลกยุคปัจจุบันเมื่อถามว่าทำไมถึงบุกยูเครนกันตอนนี้ทั้งที่เป็นผู้นำรัสเซียมานานกว่า ๒ ทศวรรษ นายปูตินได้ยกมือเบรก พร้อมขอเท้าความว่าเรื่องนี้ต้อง ย้อนกลับไปเริ่มที่ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-รัสเซีย หลังสิ้นสุดยุคสงครามเย็น ที่อุดมการณ์ทางการเมืองแบ่งแยกตะวันตก-ตะวันออกไม่หลงเหลืออีกต่อไป ในตอนนั้นชาวรัสเซียมีความเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า การล่มสลายของสหภาพโซเวียตจะนำมาซึ่งคำเชิญจากชาติตะวันตกให้มาร่วมมือคบค้าสมาคมกัน และก็เป็นความประสงค์ของรัฐบาลรัสเซียที่ต้องการร่วมสร้างระบบความมั่นคงขึ้นมาใหม่ในยุโรปโดยเฉพาะเรื่ององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) ที่ไม่จำเป็นต้องขยายอิทธิพลอีกต่อไป มิฉะนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับยุคสงครามเย็น ผู้นำคนก่อนหน้าผม “บอริส เยลต์ซิน” ได้เดินทาง เยือนอเมริกา และกล่าวต่อสภาคองเกรสด้วยถ้อยคำว่า “ก็อด เบลส อเมริกา” ซึ่งทั้งหมดคือการส่งสัญญาณเป็นมิตร แต่จากนั้นก็เกิดความขัดแย้งในยูโกสลาเวีย รัสเซียได้แสดงจุดประท้วงว่าไม่ควร มีปฏิบัติการทางทหาร เพราะละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ ซึ่งคำตอบที่เราได้รับคือกฎบัตร สหประชาชาติ กฎหมายสากลเป็นสิ่งที่ล้าสมัย ตามด้วยการสาดโคลนใส่ผู้นำเยลต์ซินต่างๆนานา ว่าเป็นคนติดเหล้า ไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจอะไรเลยหลังจากผมได้ขึ้นเป็นผู้นำรัสเซียเมื่อปี ๒๕๔๓ ตอนนั้นสถานการณ์ยูโลสลาเวียจบลงแล้วก็มองว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะรื้อฟื้นอะไรกันใหม่ แต่มีปัจจัยสามประการที่ทำให้เราตั้งคำถามในเรื่องความสัมพันธ์ ประการแรก ผมเคยพูดกับประธานา ธิบดี “บิล คลินตัน” เป็นไปได้หรือไม่ที่รัสเซียจะได้รับคำเชิญเข้าร่วมองค์การ NATO คลินตันตอบว่ารู้ไหม นั่นเป็นเรื่องที่น่าสนใจ คิดว่านะ แต่พอในงานรับประทานอาหารเย็นก็ได้รับคำตอบว่า เรื่องนี้ผมได้คุยกับทีมงานแล้ว ตอนนี้ดูท่าจะเป็นไปไม่ได้ ถามว่าตอนถามผู้นำคลินตันผมจริงใจไม่พอรึเปล่า? ถ้าไม่จริงใจก็คงไม่ถามนะขมขื่นหรือเจ็บแค้นหรือไม่ในเรื่องนี้? นี่มันไม่ใช่ประเด็นทะเลาะเบาะแว้งของผัว-เมีย แต่มันคือการแสดงจุดยืน หากคุณไม่โอเค เราก็ไม่มีปัญหา มาหาทางอื่นกัน ซึ่งรัสเซียก็พยายามทำแบบนุ่มนวล ใช้วิธีแสดงความกังวลท้วงติงในประเด็นที่เราไม่เห็นด้วย นำไปสู่ปัจจัยเรื่องที่สอง สถานการณ์แบ่งแยกดินแดน และการก่อการร้ายในภูมิภาคคอเคซัส ทางภาคใต้ของรัสเซีย ผมเคยนำหลักฐานไปแสดงให้ประธานาธิบดีสหรัฐฯดูว่าสหรัฐฯให้การสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายนะ และได้รับคำตอบว่า เดี๋ยวผมจะไปจัดการเตะก้นไอ้คนที่รับผิดชอบจนสุดท้ายเรื่องก็เงียบไป ผมได้บอกกับผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรอง FSB (เคจีบีเก่า) ให้เขียนจดหมายไปหา สำนักงานข่าวกรองกลางแห่งชาติสหรัฐฯ CIA ครั้งแรกเงียบ ครั้งที่สองได้รับคำตอบจากซีไอเอว่า เรากำลังทำงานร่วมกับฝ่ายต่อต้านในรัสเซีย เราเชื่อว่าสิ่งที่เราทำคือสิ่งที่ถูกต้อง ตรงจุดนี้อดีตพิธีกรได้ถามว่า นี่หมายความว่าซีไอเอพยายามล้มรัฐบาลรัสเซีย นายปูตินตอบว่าแน่นอน ฝ่ายต่อต้านที่ซีไอเอพูดถึงก็คือกลุ่มแบ่งแยกดินแดน กลุ่มก่อการร้ายในภูมิภาคคอเคซัสเช่นเดียวกับปัจจัยที่สาม ผมเคยเสนอกับประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่ โครงการตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธในยุโรป ซึ่งตอนนั้นอเมริกาอ้างว่าเพื่อป้องปรามอิหร่านจะมีรัสเซียเข้าร่วมด้วย เรามาทำงานร่วมกัน เพื่อเปลี่ยนแปลงฉากความมั่นคงในภูมิภาคยุโรป และความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับตะวันตกหลังจากนี้ จะได้เหลือเพียงเรื่องของเศรษฐกิจและการเมือง ตอนนั้นทางสหรัฐฯถามผมว่านี่เอาจริงหรือ? ผมก็ตอบเดินหน้าได้เลย แต่จากนั้นทีมที่มาคุย ซึ่งมีทั้งโรเบิร์ต เกตส์ รัฐมนตรีว่าการกลาโหมสหรัฐฯ นางคอนโดลีซซา ไรซ์ รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศสหรัฐฯ ก็ให้คำตอบว่าขอปฏิเสธ ทางผมเลยแสดงจุดยืนว่า ถ้าเป็นเช่นนี้ รัสเซียจำเป็นที่จะต้องหามาตรการรับมือนะ ตอนนั้นทีมงานรัฐบาลสหรัฐฯจึงตอบกลับมาว่า ถ้าจะคิดเช่นนั้นก็ไม่เป็นไรถามเรื่องการหารือกับ โจ ไบเดน ประธานาธิบดี สหรัฐฯคนปัจจุบัน? ผู้นำปูตินตอบว่าจำไม่ได้แล้วว่าคุยครั้งสุดท้ายเมื่อไร น่าจะช่วงปี ๒๕๖๕ งานใน ประเทศผมเยอะ ผู้นำของคุณ คุณควรจะไปถามเขาเองนะในฐานะพลเมืองชาวอเมริกัน หากอยากให้รัสเซียจบสงครามก็เลิกส่งอาวุธยุทโธปกรณ์สิ รับรองจบภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ จะให้ผมโทร.ไปหาผู้นำสหรัฐฯทำไม โทร.ไปบอกว่ากลัวแล้วๆ ขอร้องอ้อนวอนหรือ? ส่วนเรื่องการส่งทหารอเมริกันมารบ ขอถามกลับว่าจะมีประโยชน์อะไร ปัญหาในสหรัฐฯก็มีเยอะแยะ ทั้งเรื่องพรมแดน เรื่องผู้อพยพ และเรื่องหนี้สาธารณะที่สูงเป็นประวัติการณ์ ๓๓ ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่อาสาสมัครทหารรับจ้างที่มาร่วมรบกับกองทัพยูเครนก็มีชาวอเมริกันมากเป็นอันดับ ๒ อันดับ ๑ คือโปแลนด์ อันดับ ๓ คือจอร์เจียมองว่า โวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครน มีอิสระในการยุติความขัดแย้งหรือไม่? เป็นเรื่องยากที่จะตัดสิน เคยคุยกับเจ้าตัวอยู่ว่า พ่อของคุณก็ต่อสู้กับนาซีเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทำไมถึงทำเช่นนี้ ไม่ขอเล่าละกันว่าคำตอบคืออะไร แต่ผมมองไว้สองประเด็นคือ ๑.หลังจากขึ้นเป็นผู้นำยูเครนแล้ว เซเลนสกีค้นพบว่า อุดมการณ์ชาตินิยมและนีโอนาซีในยูเครนมีอิทธิพลสูงและอะไรก็เกิดขึ้นได้ ๒.กลุ่มอิทธิพลเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากชาติตะวันตก เพราะชาติตะวันตกย่อมสนับสนุนอะไรก็ตามที่ต่อต้านรัสเซีย อย่าไปแตะเรื่องนี้จะปลอดภัยกว่าเอาจริงๆแล้วใครคือผู้กุมอำนาจตัวจริงในสหรัฐฯ? ประธานาธิบดีปูตินเลี่ยงว่า แน่นอนถึงรัฐบาลสหรัฐฯจะมีสองพรรคหลักเดโมแครต รีพับลิกัน แต่การเมืองอเมริกามีความซับซ้อนจนเรายากจะเข้าใจ แต่สิ่งที่รัสเซียประสบพบเจอ มาตลอดคือการกดดัน กดดัน และกดดัน ซึ่งปัจจัยหนึ่งคงมาจากการที่หน่วยงาน-องค์กรยุคสงครามเย็น ไม่มีความเชี่ยวชาญอย่างอื่นนอกจากเรื่องรัสเซีย เกลี้ยกล่อมฝ่ายการเมืองของสหรัฐฯให้เล่นงานรัสเซียต่อไป โดยหวังที่จะชำแหละดินแดนของรัสเซียเป็นส่วนๆเพื่อที่จะเข้าควบคุมได้ง่าย และนำไปสู่แผนการขั้นต่อไปนั่นคือการรวบรวมศักยภาพของดินแดนเหล่านั้นไว้สำหรับการต่อสู้กับ “สาธารณรัฐประชาชนจีน” ในอนาคต.วีรพจน์ อินทรพันธ์คลิกอ่านคอลัมน์ “๗ วันรอบโลก” เพิ่มเติม
เจาะบทสัมภาษณ์ผู้นำปูติน
เรื่องที่เกี่ยวข้อง