ความหายากของซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลเทอโรซอร์ (Pterosaur) ที่เป็นสัตว์เลื้อยคลานโบราณกลุ่มหนึ่งที่บินได้โดยใช้ปีกขนาดใหญ่ เทอโรซอร์สูญพันธุ์ไปเมื่อประมาณ ๖๖ ล้านปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปเช่นกัน ทว่ากระดูกของเทอโรซอร์เปราะบางจึงหลงเหลือซากฟอสซิลไว้น้อยมาก เมื่อหลักฐานมีน้อยก็เลยเป็นอุปสรรคของนักบรรพชีวินวิทยาที่อยากจะเข้าใจวิวัฒนาการของเทอโรซอร์ในยุคแรกๆ โดยเฉพาะยุคจูราสสิกตอนกลางtt ttเมื่อเร็วๆนี้ ทีมนักบรรพชีวินวิทยาจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยบริสตอล มหาวิทยาลัยเลสเตอร์ และมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล ในอังกฤษ เผยผลศึกษาซากเทอโรซอร์ยุคจูราสสิกตอนกลางที่พบบนชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะสกาย ในสกอตแลนด์ เมื่อปี ๒๕๔๙ ที่ปรากฏบนก้อนหินใหญ่ประกอบด้วยโครงกระดูกบางส่วนของ ไหล่ ปีก ขา กระดูกสันหลัง ถูกธรรมชาติเก็บรักษาไว้ในแบบ ๓ มิติ และยังมีกระดูกจำนวนมากฝังอยู่ในหิน ทีมจึงต้องใช้การซีทีสแกนหรือตรวจดูด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และระบุว่าเทอโรซอร์ตัวนี้อายุ ๑๖๘-๑๖๖ ล้านปี อาจนำเสนอข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆเกี่ยวกับความหลากหลายและประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของเทอโรซอร์tt ttทีมตั้งชื่อเทอโรซอร์สายพันธุ์ใหม่ว่า Ceoptera evansae โดย Ceoptera มาจากคำว่า Cheò เป็นภาษาเกลิกของสกอตแลนด์ หมายถึงหมอก เนื่องจากเกาะสกายมักถูกเรียกว่าเกาะแห่งหมอก พร้อมชี้ว่า Ceoptera evansae เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มดาร์วินอปเทอรา (Darwinoptera) ที่มักพบในจีน ซึ่งเทอโรซอร์ส่วนใหญ่จะพบในจีน แต่การพบเทอโรซอร์ยุคจูราสสิกตอนกลางในสกอตแลนด์แสดงให้เห็นว่ากลุ่มสัตว์เลื้อยคลานบินได้ปรากฏตัวเร็วกว่าที่คิดและแพร่กระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว.อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่
เทอโรซอร์ยุคจูราสสิกสายพันธุ์ใหม่
เรื่องที่เกี่ยวข้อง