วันพุธ, 6 พฤศจิกายน 2567

เบาะแสรังสีเอกซ์ชี้วิวัฒนาการทางช้างเผือก

วิธีการวิวัฒนาการของดาราจักรหรือกาแล็กซี เป็นหนึ่งในข้อถกเถียงอย่างต่อเนื่องในชุมชนวิทยาศาสตร์ ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์จากศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ด องค์การนาซา สหรัฐอเมริกา รายงานการค้นพบกิจกรรมของรังสีเอกซ์ ที่จะช่วยไขความกระจ่างเกี่ยวกับวิวัฒนาการของกาแล็กซีทีมเผยว่าพบรังสีเอกซ์รอบเมฆก๊าซเย็นในกาแล็กซีทรงกังหันชื่อ NGC ๔๙๔๕ ที่อยู่ใกล้เคียง เป็นดาราจักรกัมมันต์ อยู่ห่างโลกประมาณ ๑๓ ล้านปีแสงในกลุ่มดาวคนครึ่งม้า ดูเหมือนว่าก๊าซดังกล่าวเป็นผลจากหลุมดำมวลยวดยิ่งที่ใจกลางกาแล็กซีระเบิดเมื่อประมาณ ๕ ล้านปีก่อน ซึ่งดาวเทียม XMM-Newton ขององค์การอวกาศยุโรปที่โคจรรอบโลก กล้องโทรทรรศน์อวกาศที่เป็นกล้องโทรทรรศน์ศึกษาดาราศาสตร์ในช่วงคลื่นรังสีเอกซ์ขององค์การนาซา ได้ตรวจสอบกิจกรรมรังสีเอกซ์ของ NGC ๔๙๔๕ ระบุว่า พบสัญญาณพลังงานยึดเหนี่ยวและพลังงานของรังสีเอกซ์ที่คายออกมา เรียกว่า “iron K-alpha line” เกิดจากการที่รังสีเอกซ์จากหลุมดำพุ่งเข้าไปในก๊าซเย็นจัด และด้วย NGC ๔๙๔๕ มีความเอียงมาก ดาวเทียม XMM-Newton จึงสร้างแผนผังขอบเขตของ “iron K-alpha line” ของมันตามแนวและเหนือระนาบของกาแล็กซี โดยลากเส้นออกไปที่ ๓๒,๐๐๐ และ ๑๖,๐๐๐ ปีแสง ตามลำดับการค้นพบนี้ให้ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างหลุมดำมวลยวดยิ่งและการก่อตัวดาวฤกษ์ โดยจะนำไปสู่การพิจารณาวิวัฒนาการของกาแล็กซี โดยจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สร้างแบบจำลองที่ดีขึ้น ว่าดวงดาวและหลุมดำก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกาแล็กซีทางช้างเผือกได้อย่างไร.Credit : ESOอ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่

เรื่องที่เกี่ยวข้อง