วันพฤหัสบดี, 7 พฤศจิกายน 2567

เป็นเบาหวาน..ทำไมต้อง “ตัดขา”

16 ก.พ. 2024
48

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ถือว่ามีความรุนแรง โดยคาดว่าจำนวนผู้ป่วยในปี ๒๕๖๘ จะเพิ่มสูงขึ้นถึง ๓๓๓ ล้านคน ส่วนหนึ่งมาจากการที่ประชากรมีอายุขัยยาวนานขึ้น ไม่ค่อยออกกำลังกาย และรับประทานอาหารที่ไม่ถูกหลักประมาณการว่า ร้อยละ ๖.๓ ของประชากรโลกเป็นเบาหวาน ในแต่ละปีมีผู้ป่วยเสียชีวิตโดยสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานมากกว่า ๓ ล้านรายทั่วโลก และปัจจุบันถือว่าเบาหวานเป็นสาเหตุของการตายเป็นอันดับต้นๆในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วจากการที่จำนวนผู้ป่วยเบาหวานมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก จำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานก็เพิ่มขึ้นตามมาด้วย รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับเท้าด้วย ซึ่งถ้าไม่ได้รับความสนใจ จะต้องมีผู้ป่วยที่ถูกตัดเท้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก มีผู้ป่วยที่ถูกตัดเท้าถึงครึ่งหนึ่งที่เป็นเบาหวาน ถึงแม้ว่าจะมีปัจจัยอื่นๆเกี่ยวข้องอีก เช่น เชื้อชาติ ภูมิอากาศ และสภาพแวดล้อมทางสังคม ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกตัดเท้า ก็ยังพบว่าการถูกตัดเท้าในผู้ป่วยเบาหวานจะสูงกว่ากรณีอื่นๆผู้ป่วยเบาหวานเกิดแผลที่เท้าได้บ่อย ในประเทศพัฒนาแล้วพบว่าผู้ป่วยเบาหวานร้อยละ ๕ จะมีแผลที่เท้า และมีผู้ป่วยเบาหวาน ๑ รายในทุกๆ ๖ รายที่เคยเกิดแผลอย่างน้อย ๑ ครั้ง ปัญหาที่เกี่ยวกับเท้าของผู้ป่วยเบาหวานเป็นสาเหตุสำคัญของการรับผู้ป่วยให้นอนในโรงพยาบาล สำหรับประเทศที่กำลังพัฒนาแบบบ้านเรา ปัญหาเกี่ยวกับเท้าในผู้ป่วยเบาหวานดูจะยิ่งพบบ่อย และรุนแรงยิ่งขึ้นการดูแลรักษาเท้าอย่างดีจะสามารถลดอัตราการถูกตัดเท้าลงได้ ๔๙-๘๕% การให้ความรู้เพื่อให้สามารถตรวจพบปัญหาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น การให้การบริการฉุกเฉินการตรวจหาภาวะติดเชื้อ และให้การรักษาแต่ต้น การควบคุมเบาหวานอย่างดีที่สุด การดูแลรักษาแผลโดยผู้เชี่ยวชาญ สาเหตุของการเกิดแผลที่เท้าในเบาหวาน ส่วนใหญ่มาจากเส้นประสาทเสื่อม/ถูกทำลาย (ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทส่วนปลายจากเบาหวาน) ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทส่วนปลายทำให้ไม่รู้สึกเจ็บปวดเท้าชาและเมื่อมีการบาดเจ็บก็อาจไม่ได้สังเกต เพราะไม่รู้สึกเจ็บปวดผิวหนังที่เท้ามักจะแห้งมาก และเกิดรอยแตกได้ง่าย ซึ่งนำไปสู่การเกิดแผลและการติดเชื้อ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีเส้นประสาทเสื่อมแล้วไม่ได้สวมรองเท้าที่เหมาะสมก็จะยังเกิดแผลง่ายขึ้นภาวะขาดเลือดหล่อเลี้ยง ถ้าเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนเท้าได้น้อย หรือไม่เพียงพอ จะทำให้แผลหายยาก เพราะเท้าต้องการออกซิเจนและสารอาหารที่ลำเลียงมาทางเส้นเลือด ภาวะขาดเลือดจะเพิ่มความเสี่ยงให้เนื้อเยื่อถูกทำลายและตายได้ ซึ่งจะทำให้เท้าส่วนนั้นกลายเป็นสีดำได้ผู้ป่วยที่มีเส้นประสาทเสื่อมจะเกิดการบาดเจ็บได้ง่าย เพราะจะไม่รู้สึกเจ็บปวดซึ่งเป็นสัญญาณเตือนอันตราย แผลมักเกิดจากมีเศษกรวดทรายหรือชิ้นส่วนแปลกปลอมภายในรองเท้า ตะเข็บด้านในรองเท้า วัตถุมีคมที่แทงทะลุพื้นรองเท้าขึ้นมา ตุ่มพองจากการเสียดสีของรองเท้าหรือไฟลวก น้ำร้อนลวก การเดินเท้าเปล่าก็จะยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บให้รุนแรงขึ้น เนื่องจากโดนวัตถุแหลมคมทิ่มตำ หรือสะดุดนิ้วเท้าของตนเองได้ง่าย ภาวะติดเชื้อ เมื่อผิวหนังมีรอยปริแยก ทำให้เชื้อแบคทีเรียเข้าไปก่อภาวะติดเชื้อได้ ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการชาที่เท้าหรือขาดเลือดไปเลี้ยง จะยิ่งทำให้แผลหายยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีกลไกต่อต้านภาวะติดเชื้อเสื่อมด้วย บางครั้งกว่าจะพบว่าภาวะติดเชื้อเกิดขึ้นก็เป็นค่อนข้างรุนแรงแล้วควรสวมถุงเท้าเพื่อป้องกันการเสียดสี บาดเจ็บ โดยถุงเท้าไม่ควรจะรัดแน่นเกินไปและไม่มีรูโหว่เลือกซื้อรองเท้าคู่ใหม่ในช่วงบ่าย เพื่อให้เท้าขยายตัวเต็มที่และเลือกรองเท้าได้ขนาดที่เหมาะสมพอดีกับเท้า ตรวจสอบเท้าโดยทีมดูแลสุขภาพเป็นระยะ ตัดเล็บเท้าตรงในแนวขวาง แล้วใช้ตะไบลมคมที่ปลายเล็บ ถ้ามีแผลควรทำความสะอาดและปิดแผลด้วยวัสดุที่ฆ่าเชื้อแล้ว ระมัดระวังโดยสวมรองเท้าทุกขณะ ไม่ว่าจะอยู่ภายในบ้าน หรือนอกสถานที่ เพื่อหลีกเลี่ยงภยันตรายต่อเท้า การรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า ทำได้โดยลดการลงน้ำหนักที่เท้าแก้ไขภาวะขาดเลือดไปเลี้ยงที่เท้า รักษาภาวะติดเชื้อควบคุมระดับน้ำตาล ไขมันในเลือด และระดับความดันให้ดี ทำความสะอาดแผล และทำแผล รวมถึงการตัดเอาเนื้อเยื่อชิ้นส่วนที่บาดเจ็บและตายแล้วออกอบรมความรู้ให้ผู้ป่วยเบาหวานและญาติหาสาเหตุการเกิดแผล และช่วยหาวิธีป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ.คลิกอ่านคอลัมน์ “สมาร์ทไลฟ์” เพิ่มเติม