วันพุธ, 6 พฤศจิกายน 2567

เพิ่มสิทธิบัตรทอง สู้มะเร็งครบวงจร

12 ก.พ. 2024
65

เมื่อปลายปีที่ผ่านมา การประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ “บอร์ด สปสช.” มีวาระพิจารณา “ข้อเสนอการเพิ่มสิทธิประโยชน์การรักษามะเร็งด้วยอนุภาคโปรตอนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ”ประเด็นสำคัญมีว่า…ที่มาของสิทธิประโยชน์นี้มาจากข้อเสนอของสมาคมรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย เป็นข้อเสนอที่ได้จากการประชุมทีมแพทย์รังสีรักษาและมะเร็งวิทยาผู้เชี่ยวชาญการฉายรังสีโรคมะเร็งในเด็กและนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะทำงานยกระดับความเป็นเลิศด้านการแพทย์ขั้นสูงสุดในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๖พุ่งเป้าไปที่การรักษามะเร็งด้วย “อนุภาคโปรตอน” เป็นวิธีรักษามะเร็งที่มีประสิทธิผล มีอัตราการควบคุมโรคเฉพาะที่และการรอดชีวิตที่สูงในกลุ่ม “โรคมะเร็งสมอง” ในเด็ก ช่วยลดผลข้างเคียงในทุกด้านเมื่อเปรียบเทียบกับการฉายรังสีโฟตอนแบบเดิมโดยการรักษาต้องใช้บุคลากรทางการแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย แพทย์รังสีรักษา แพทย์รังสีวินิจฉัย แพทย์เวชศาสตร์นิวเคลียร์ กุมารแพทย์ทางโลหิตวิทยาและรังสี (กรณีผู้ป่วยเด็ก) วิสัญญีแพทย์ นักฟิสิกส์การแพทย์ นักรังสีเทคนิค พยาบาล และวิศวกรtt ttปัจจุบันในประเทศไทยมีหน่วยบริการที่ให้บริการฉายรังสีด้วยอนุภาคโปรตอนเพียงแห่งเดียว คือ ศูนย์โปรตอนสมเด็จพระเทพฯ รพ.จุฬาลงกรณ์ เปิดให้บริการมาตั้งแต่สิงหาคม ๒๕๖๔ ดังนั้นในการบริหารจัดการจ่ายชดเชย สปสช. จึงใช้รูปแบบเหมาจ่ายรายปีจำนวน ๕๐ ล้านบาท ให้แก่ศูนย์โปรตอนสมเด็จพระเทพฯพร้อมให้มีการจัดระบบการส่งต่อ ประสานงาน เพื่อจัดบริการให้แก่ผู้ป่วยทุกวันตลอด ๒๔ ชั่วโมง ซึ่งในกรณีการนำส่งผู้ป่วยสามารถเบิกจ่ายค่าพาหนะรับส่งผู้ป่วยอัตราเฉลี่ย ๒,๓๐๐ บาทต่อครั้งนพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ บอกว่า หลังจากบอร์ด สปสช.เห็นชอบแล้ว จากนี้ สปสช. จะออกประกาศหลักเกณฑ์รองรับการจ่ายชดเชยค่าบริการ พร้อมดำเนินการตามที่บอร์ด สปสช.มอบหมาย ทั้งการกำกับติดตามประเมินผลการเข้าถึงบริการนับรวมไปถึงการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการประเมินประสิทธิภาพประสิทธิผลการรักษา รวมทั้งจัดระบบส่งต่อผู้ป่วย เพื่อความสะดวกในการเข้ารับบริการอย่างเท่าเทียมกันทุกสิทธิtt ttนพ.จเด็จ ธรรมธัชอารีรายงานต่อคณะทำงานยกระดับความเป็นเลิศด้านการแพทย์ขั้นสูงสุดฯทุก ๔ เดือนและคณะอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนฯนอกจากนี้จะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นที่นอกเหนือจากทางการแพทย์ เพื่อสนับสนุนบริการและการดูแลผู้ป่วย เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เสริมว่า รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบาย “มะเร็งครบวงจร” เพื่อดูแลผู้ป่วยมะเร็งให้เข้าถึงการรักษาและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ที่เป็นการยกระดับ…บัตรทองอัปเกรด…เป็นส่วนสนับสนุนที่สำคัญทำให้นโยบายนี้บรรลุเป้าหมายได้ และเพื่อให้เกิดความครอบคลุมการรักษาที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งการรักษามะเร็งด้วยอนุภาคโปรตอนในระบบบัตรทอง เป็นวิธีการฉายรังสีด้วยอนุภาคโปรตอนที่เป็นเทคนิคการฉายรังสีสมัยใหม่ มีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งและมีผลข้างเคียงลดน้อยลงtt ttนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว“มติบอร์ดนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยมะเร็งอย่างมาก ช่วยให้เข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ข้อมูลในระบบ สปสช. พบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับรังสีรักษาเข้าข่ายที่จะรับบริการฉายรังสีด้วยอนุภาคโปรตอนนี้ได้ประมาณ ๓๒,๐๐๐ รายต่อปี…ในปี ๒๕๖๕ ใช้งบประมาณอยู่ที่ ๕๐ ล้านบาทในการดูแลผู้ป่วย”นอกจากนี้แล้ว ยังมีมติรับทราบแนวทางดำเนินการดูแลผู้ป่วยมะเร็งสิทธิบัตรทองและสนับสนุนการพัฒนาต่อยอด เข้าถึงนวัตกรรมบริการการแพทย์ขั้นสูง “บริการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์” ครอบคลุมให้การรักษา…ผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง มะเร็งตับ ตับอ่อน และท่อน้ำดีภายใต้นโยบาย “๓๐ บาทอัปเกรด” นำร่องให้บริการผู้ป่วยมะเร็ง ๓ กลุ่ม ได้แก่ ๑.มะเร็งต่อมลูกหมาก ๒.มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง (ในกลุ่ม CA rectum, CA Anal Canal) ๓.มะเร็งตับ ตับอ่อน และท่อน้ำดี (เริ่มในบริการ Whipple Operation)คาดการณ์ว่า…จะมีกลุ่มเป้าหมายที่เป็น ผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก ประมาณ ๕๐๐ ราย ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ประมาณ ๕๐ รายและผู้ป่วย มะเร็งตับ ตับอ่อนและท่อน้ำดี อีกประมาณ ๕๐ รายรวมผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในการรับบริการทั้งหมดจำนวน ๖๐๐ รายtt ttประมาณการค่าใช้จ่ายชุดอุปกรณ์ในการผ่าตัดหุ่นยนต์อยู่ที่ ๑๐๐,๐๐๐ บาทต่อราย รวมเป็นเงินงบประมาณทั้งหมดจำนวน ๖๐ ล้านบาทนพ.จเด็จ ย้ำว่า…หน่วยบริการที่จะร่วมให้บริการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ในระบบบัตรทองฯนี้ จะต้องผ่านการประเมินศักยภาพจากคณะกรรมการการพัฒนา ระบบบริการผ่าตัดแผลเล็ก (MIS : Minimal Invasive Surgery) ที่กระทรวงสาธารณสุขแต่งตั้ง หรือคณะกรรมการอื่นตามที่ สปสช.กำหนดส่วนหน่วยบริการภาครัฐ ๗ แห่ง ที่ให้บริการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์อยู่แล้วในปัจจุบัน สามารถให้บริการต่อเนื่องและถือว่าผ่านการประเมินแล้ว“การผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์” เป็นเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ทันสมัย มีความแม่นยำในการผ่าตัด โดยเฉพาะตำแหน่งที่เข้าถึงได้ยาก ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนในการผ่าตัดได้ ทำให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยในการรักษามากขึ้น มีระยะเวลาในการฟื้นตัวเร็วขึ้น ทำให้พักรักษาตัวในโรงพยาบาลสั้นลงที่สำคัญ…ลดการสัมผัสระหว่าง “ผู้ป่วย” และ “แพทย์ผู้ผ่าตัด” ช่วยเพิ่มคุณภาพบริการและความปลอดภัยในการผ่าตัดให้กับประชาชน สิทธิประโยชน์นี้จึงนับเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างยิ่ง“สปสช.ได้ร่วมกับคณะกรรมการการพัฒนาระบบบริการ การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ (OneDay Surgery) และการผ่าตัดแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery) ผู้เชี่ยวชาญจากราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย กรมบัญชีกลาง สำนักงานประกันสังคมและสำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย…หารือแนวทางการให้บริการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ ให้สอดคล้องกันทั้ง ๓ กองทุน และจะหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดเงื่อนไข ข้อบ่งชี้ อัตราจ่าย และแนวทางการติดตามประเมินผลต่อไป”อีกสิทธิสุดท้ายที่ต้องกล่าวถึงคือการขยายขอบเขตการรักษาเนื้องอกในลูกตาด้วยการ “วางแร่ที่ตา (eye–plaque brachytherapy)” รักษาผู้ป่วยที่มีเนื้องอกในลูกตา มีภาวะเสี่ยงที่จะเป็น “โรคมะเร็งที่ตา”แม้ว่าโรคนี้จะพบได้ไม่บ่อย…อุบัติการณ์การเกิดโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ ๕-๖ คนต่อ ๑ ล้านประชากร แต่ก็เป็นทางเลือกในการรักษาที่ได้ประโยชน์กับผู้ป่วย ช่วยลดการสูญเสียดวงตาและการมองเห็นทั้งหมดเหล่านี้คือการเพิ่มสิทธิ “บัตรทอง ๓๐ บาท” เดินหน้านโยบาย “มะเร็งครบวงจร” เพิ่มการเข้าถึง…รักษาอย่างมีประสิทธิผล เติมเต็มระบบ “หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” ที่มั่นคง ยั่งยืน.คลิกอ่านคอลัมน์ “สกู๊ปหน้า ๑” เพิ่มเติม