“ฝนตก-น้ำท่วม” นับเป็นปัญหาใหญ่ของเมืองท่องเที่ยวโดยเฉพาะ เมืองพัทยา จ.ชลบุรี ถือเป็นการสร้างทุกข์ให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยวในพื้นที่มาอย่างยาวนานวันนี้เมืองพัทยา ภายใต้การบริหารของ นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ หรือ เบียร์ นายกเมืองพัทยา กำหนดให้การแก้ปัญหาน้ำท่วมเป็น “๑ ใน ๔ นโยบายหลัก” ที่จะดำเนินการให้สำเร็จตามประกาศไว้ในการหาเสียงปี ๒๕๖๕จึงเป็นช่วงโอกาสดีที่จะตรวจสอบการแก้ปัญหาน้ำท่วมตามคำพูดของ นายปรเมศวร์ ว่า ได้ทำในสิ่งที่เป็นคำสัญญาประชาคมกับพี่น้องประชาชนชาวเมืองพัทยาไปแล้วบ้างอย่างไร “แก้ได้จริงดั่งพูดหรือไม่” เครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ถูกติดตั้งพร้อมใช้งาน ระบายน้ำแก้ปัญหาน้ำท่วมพัทยา รวมถึงการกำจัดขยะที่มากับน้ำ.ผู้ที่สามารถสะท้อนถึงผลงานได้ดีที่สุดย่อมเป็นคนเมืองพัทยา โดยเฉพาะ ชาวบ้านชุมชนซอยบงกช เป็นหนึ่งในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า น้ำท่วมอยู่คู่ชุมชนมาอย่างยาวนาน“ก่อนหน้านี้ฝนตกทีทุกข์ทั้งกายและใจ ทุกคนจะรีบกลับบ้านเพื่อไปเฝ้าดูว่าน้ำจะท่วมถึงเอวเหมือนทุกครั้งไหม กระทั่ง นายปรเมศวร์ รับตำแหน่งนายกเมืองพัทยา เข้ามาแก้ไขปัญหา ปีนี้เป็นปีแรกที่ไม่มีน้ำท่วม เพราะจัดการเรื่องท่อระบายน้ำและปรับปรุงถนนใหม่” คำกล่าวที่มาพร้อมกับรอยยิ้มแห่งความสุขเช่นเดียวกับประชาชนอยู่ในพื้นที่ พัทยากลาง ให้ข้อมูลว่า นายปรเมศวร์ ทำงานเต็มที่ทำให้ไม่มีน้ำท่วมเหมือนแต่ก่อน ส่วนคนในพื้นที่ให้ความร่วมมือ ช่วยดูแลเรื่องขยะ ไม่ทิ้งตามใจเหมือนแต่ก่อน นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ นายกเมืองพัทยา จ.ชลบุรีด้าน นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ นายกเมืองพัทยา เปิดเผยว่า ทุ่มเททำงานมีการนำแผนที่เตรียมการไว้ล่วงหน้าเพื่อแก้ไขปัญหามาปฏิบัติจริงให้เป็นรูปธรรม “ไม่มีช้า เน้นทำเร็ว เห็นผลไว้”ศึกษาสาเหตุที่แท้จริง เมืองพัทยา เกิดน้ำท่วมยามฝนตก เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ต่ำ น้ำฝนไหลผ่านเมืองพัทยาเพื่อลงสู่ทะเล“ผมพยายามเร่งแก้ปัญหาน้ำท่วมหลายมาตรการ อาทิ เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ เปลี่ยนท่อระบายน้ำจากเดิมกว้าง ๖๐ ซม. ใช้มาหลายสิบปี ให้เป็นท่อกว้าง ๒ เมตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำที่มากขึ้น” นายปรเมศวร์ ย้ำส่วนการวางท่อระบายน้ำเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมแก้ไขไปได้กว่าครึ่ง จากจุดที่มีน้ำท่วมซ้ำซากกว่า ๒๐ จุดทั่วเมืองพัทยา แต่ยังต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง ท่อระบายน้ำขนาดใหญ่กว้าง ๒ เมตร ถูกวางตามเส้นทางระบายน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพระบายน้ำให้รวดเร็ว.ขณะเดียวกัน เมืองพัทยา มีการติดตามการพยากรณ์สภาพอากาศ เพื่อรับมือและเฝ้าระวังจุดเสี่ยง ติดตั้งเครื่องสูบน้ำให้พร้อมใช้งาน รวมถึงการกำจัดขยะที่มากับมวลน้ำเพื่อให้น้ำระบายได้เร็วขึ้นการดำเนินงานที่สำคัญ คือ การขุดลอกคูคลอง และ ลำรางระบายน้ำต่างๆ เช่น คลองนกยาง คลองกระทิงลาย คลองนาเกลือ และคลองเสือแผ้ว เพื่อรับมือกับมวลน้ำที่ไหลบ่ามา เกิดการระบายน้ำที่เต็มประสิทธิภาพการขุดถนนในเมืองพัทยาอย่างต่อเนื่องนั้น ดำเนินงานผ่าน ๓ หน่วยงาน ได้แก่ เมืองพัทยา วางท่อระบายน้ำแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ดำเนินโครงการนำสายไฟ สายสื่อสารลงใต้ดิน ๙ เส้นทาง ระยะทาง ๒๐ กิโลเมตร และ การประปาพัทยา เปลี่ยนท่อใหม่เพื่อขยายแรงดันน้ำ ต้องขออภัยในความไม่สะดวกนายปรเมศวร์ กล่าวอีกว่า การแก้ไขปัญหาระยะยาวให้เกิดผลสำเร็จอย่างจริงจังนั้น ต้องใช้งบประมาณที่สูงมาก โดยเฉพาะในเขตเมืองพัทยาต้องใช้งบประมาณถึง ๙,๕๐๐ ล้านบาท หน่วยงานส่วนกลางให้เพียงแผนแม่บทมา แต่เมืองพัทยาต้องหางบประมาณมาดำเนินการเอง นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ นายกเมืองพัทยา จ.ชลบุรี ออกสำรวจขุดลอกท่อระบายน้ำ คูคลอง และลำรางระบายน้ำต่างๆ เพื่อรองรับมวลน้ำที่ไหลบ่าออกไป.ดังนั้น เมืองพัทยาจึงดำเนินโครงการทีละน้อย เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมขังให้ลดระยะเวลาท่วมให้สั้นลง ก่อนที่โครงการขนาดใหญ่จะได้รับความเห็นใจจากรัฐบาล ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองมาดำเนินการจนเป็นผลสำเร็จ โครงการย่อยที่เมืองพัทยาดำเนินการอยู่ จะเชื่อมต่อเป็นโครงข่ายการระบายน้ำที่มีประสิทธิภาพวันนี้เมืองพัทยากำลังจะเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น จากการทำงานล่วงหน้า แก้ปัญหาอย่างจริงจัง เพื่อนำเมืองพัทยาก้าวสู่เมืองแห่งการท่องเที่ยวคุณภาพของคนทั้งโลก.ทีมข่าวภูมิภาคอ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่