เลือกตั้งอินโดนีเซียในวันพุธนี้ (๑๔ ก.พ.) ประชาชนกว่า ๒๗๗ ล้านคนจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกประธานาธิบดีและคู่รองประธานาธิบดี คนใหม่ จากผู้สมัคร ๓ คู่ ที่ต่างกำลังหาเสียงอย่างหนักทั้งแบบปกติและทางโซเชียลมีเดีย เพื่อช่วงชิงกลุ่มประชากรอายุต่ำกว่า ๔๐ ปีซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ ขณะที่โพลระบุว่า จากการสอบถามผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ๑,๒๐๐ คน ที่มีอายุระหว่าง ๑๗-๓๙ ปี ในปี ๒๕๖๕ พบว่ามีหลายประเด็นที่คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญ อาทิ เศรษฐกิจ โดยเฉพาะสวัสดิการสังคมและการว่างงาน ตลอดจนคุณภาพชีวิต การทุจริตคอร์รัปชัน และปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมถึงมลพิษทางอากาศ เป็นอันดับต้นๆในขณะที่ชาวอินโดนีเซียกว่า ๘๐% สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ทำให้ TikTok และ Instagram ซึ่งเป็น ๒ แพลตฟอร์มโซเชียลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับชาวอินโดนีเซีย กลายเป็น “สมรภูมิในโลกดิจิทัล” สำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ และทำให้ผู้สมัครต่างแย่งชิงความสนใจจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งรุ่นเยาว์บนโซเชียลมีเดีย๑๔ กุมภาพันธ์วันแห่งความรักปีนี้ ยังตรงกับวันเลือกตั้งของอินโดนีเซียที่จะสรรหาประธานาธิบดีคนใหม่แทนนายโจโก วิโดโด ที่ดำรงตำแหน่งมาแล้ว ๒ สมัยครั้งละ ๕ ปีมาตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๕๗ ด้วยผลงานสร้างการเติบโตของเศรษฐกิจและการนำพาอินโดนีเซียไปสู่บทบาทโดดเด่นในเวทีโลก พร้อมปูแนวทางก้าวขึ้นไปเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจในอนาคตอันใกล้ขณะที่ในการเลือกตั้งครั้งนี้ อินโดนีเซียซึ่งมีประชากรทั้งหมดประมาณ ๒๗๗ ล้านคน เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งมีอายุ ๑๗ ปีขึ้นไป ประมาณ ๒๐๔.๘ ล้านคน ในจำนวนนี้อยู่บนเกาะชวา ซึ่งเป็นเกาะใหญ่ที่มีประชากรมากที่สุดมากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศเป็นจำนวน ๑๑๕.๔ ล้านคน ส่วนผู้ที่จะลงคะแนนเลือกตั้งในต่างประเทศมีจำนวน ๑.๗ ล้านคน ขณะที่คณะกรรมการการเลือกตั้งทั่วไปของอินโดนีเซียระบุว่า ในปีนี้ประชากรวัยหนุ่มสาวของอินโดนีเซีย Generation Z และ Millennials ซึ่งเป็นรุ่นที่มีอายุต่ำกว่า ๔๐ ปี จำนวนกว่า ๑๐๖ ล้านคน คิดเป็นประมาณ ๕๖% ของประชากรที่มีสิทธิลงคะแนนเสียงทั้งหมด และในบรรดาผู้สมัคร ๓ ราย ใครครองใจคนกลุ่มนี้ไปก็มีโอกาสที่จะชนะเลือกตั้ง ในขณะที่ประเด็นที่มีส่วนสำคัญในการตัดสินใจลงคะแนนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งกลุ่มนี้ มีตั้งแต่ เรื่องงาน เศรษฐกิจ ความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และปัญหามลพิษ tt ttคนรุ่นใหม่จะออกมาใช้สิทธิมากน้อยแค่ไหนอินโดนีเซียจะจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีทุกๆ ๕ ปี และเนื่องจากปีนี้ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ดำรงครบ ๒ วาระแล้ว ทำให้ในปีนี้อินโดนีเซียจะได้ผู้นำคนใหม่ครั้งแรกในรอบ ๑๐ ปี และเป็นที่กังวลว่าในปีนี้อาจมีคนออกมาใช้สิทธิไม่มากเท่าไร ขณะที่สถิติระบุว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ออกมาใช้สิทธิในระหว่างการเลือกตั้งครั้งที่แล้วปี ๒๕๖๒ คิดเป็น ๘๒% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด ซึ่งเป็นอัตราการออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งต่ำที่สุดนับตั้งแต่ประเทศเริ่มจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี ๒๕๔๗สำหรับผู้สมัครทั้ง ๓ คนในการเลือกตั้งครั้งนี้ต่างเป็นผู้มีอายุเกิน ๕๐ ปีกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นนายกันจาร์ ปราโนโว วัย ๕๕ ปี อดีตผู้ว่าการจังหวัดชวากลาง ที่มาจากพรรครัฐบาล Indonesian Democratic Party of Struggle หรือ PDI-P และอานีส บาสเวดัน อดีตผู้ว่าการกรุงจาการ์ตา อายุ ๕๔ ปี และผู้สมัครทั้งสองคนก็ได้เลือกผู้สมัครชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีเป็นคนที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน มีเพียงนายกรัฐมนตรีปราโบโว ซูเบียนโต รัฐมนตรีกลาโหมอินโดนีเซีย ซึ่งมีอายุ ๗๒ ปี แต่เลือกผู้สมัครชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีที่มีอายุต่ำกว่า ๔๐ ปี ได้แก่ ยิบราน รากาบูมิง วัย ๓๖ ปี บุตรชายของประธานาธิบดีโจโกวี เพื่อดึงคะแนนเสียงจากกลุ่มคนรุ่นใหม่และบรรดาคนที่ชื่นชอบนายโจโกวีด้วยโดยโพลของ CNN Indonesia ที่จัดทำเมื่อช่วงเดือนที่แล้วระบุว่า นายซูเปียนโต เป็นผู้ที่มีคะแนนนำในการเลือกตั้ง โดยสอบถามความคิดเห็นจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยรวม รวมไปถึงผู้มีสิทธิเลือกตั้งคนรุ่นใหม่tt ttประเด็นใดที่คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญอาบิเกล ลิมูเรีย ผู้ร่วมก่อตั้ง Bijak Memilih ขบวนการอิสระที่นำโดยเยาวชนผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพรรคการเมือง เปิดเผยว่า สิ่งที่คนหนุ่มสาวหลายคนใส่ใจ และถือเป็นข้อกังวลหลักสำหรับเยาวชนชาวอินโดนีเซียคือ คุณภาพชีวิต การทุจริตคอร์รัปชัน และปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมถึงมลพิษทางอากาศนอกจากนี้โพลของศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์และการศึกษานานาชาติ ในกรุงจาการ์ตา ระบุว่า จากการสอบถามผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ๑,๒๐๐ คน ที่มีอายุระหว่าง ๑๗-๓๙ ปี ในปี ๒๕๖๕ พบว่ายังมีประเด็นอื่นๆ ที่คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญ อาทิ เศรษฐกิจ ปากท้องของประชาชน โดยเฉพาะสวัสดิการสังคมและการว่างงาน เป็นหนึ่งในประเด็นอันดับต้นๆ โดยข้อมูลขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ระบุว่า อัตราการว่างงานของอินโดนีเซียอยู่ที่ ๓.๕% ในปี ๒๕๖๕ ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ประมาณ ๑๔% ของชาวอินโดนีเซียที่มีอายุ ๑๕ ถึง ๒๔ ปียังเป็นกลุ่มคนที่ไม่มีงานทำ การว่างงานยังคงเป็นปัญหาใหญ่สำหรับคนรุ่นใหม่ในอินโดนีเซีย โดยอัตราการว่างงานในกลุ่มเยาวชนอายุ ๑๕-๒๔ ปีของอินโดนีเซีย ลดลงอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ แต่อย่างไรก็ตาม นับว่าเป็นตัวเลขที่สูงกว่าอัตราการว่างงานโดยรวมของประเทศ ในปี ๒๕๖๕ ถึง ๓ เท่านอกจากนี้ สำนักงานสถิติกลางของอินโดนีเซีย เปิดเผยข้อมูลปี ๒๕๖๕ ที่ระบุว่า เกือบ ๖๐% ของแรงงานในอินโดนีเซียเป็นแรงงานที่อยู่นอกระบบ ซึ่งรวมถึงคนทำงานบ้าน คนขายของริมถนน และคนทำงานผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งขาดการคุ้มครองทางสวัสดิการสังคม รายได้สุทธิเฉลี่ยต่อเดือนของแรงงานนอกระบบอยู่ที่ประมาณ ๑๒๕ ดอลลาร์ ซึ่งต่ำกว่าค่าจ้างเฉลี่ยของประเทศถึง ๔๐%ทางด้านนายโยเอส เคนาวาส อาจารย์ปริญญาเอกรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์นที่กำลังติดตามศึกษาข้อมูลการเลือกตั้งในอินโดนีเซีย เปิดเผยว่า ตลาดงานของอินโดนีเซียมีจำกัด และมีการแข่งขันสูงปัญหาเร่งด่วนที่สุด ๒ ประการสำหรับคนหนุ่มสาวชาวอินโดนีเซียคือการหางานทำและการศึกษา tt ttปัญหาสิ่งแวดล้อม มลพิษทางอากาศกำลังมาแรงนอกเหนือจากความกังวลด้านเศรษฐกิจและตลาดแรงงานในประเทศแล้ว บรรดาผู้ลงคะแนนเสียงรุ่นเยาว์จำนวนมากขึ้น ยังกังวลเกี่ยวกับปัญหาผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอีกด้วยข้อมูลจาก IQAir ของสวิตเซอร์แลนด์ ในปี ๒๐๒๓ ระบุว่า กรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซีย เป็นเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในโลก พบว่า อากาศในกรุงจาการ์ตาเป็นอันตราย หรืออยู่ในเกณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยเฉลี่ย ๕ วันต่อสัปดาห์ในปีที่แล้วโดยคุณภาพอากาศในเมืองหลวงของอินโดนีเซีย ได้รับการจัดอันดับว่าไม่ดีต่อสุขภาพ สำหรับประชาชนทั่วไป หรือเรียกได้ว่าแย่ลงทุกวันในช่วงครึ่งหลังของปีที่แล้ว และพบว่าตลอดทั้งปีมีคุณภาพอากาศดีเพียง ๓ วันเท่านั้นลิมูเรีย นักเคลื่อนไหวและผู้ก่อตั้ง Bijak Memilih มองว่า เยาวชนคนรุ่นใหม่ ไม่เพียงเรียกร้องผู้นำที่เป็นคนนิสัยดี แต่ยังต้องการคนที่มีวิสัยทัศน์และมีความสามารถในระดับหนึ่งเพื่อเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อเรียกร้องสำหรับการมีระบบขนส่งสาธารณะที่ดี การคำนึงถึงวิกฤติสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจัง และการจัดการกับความอยุติธรรมเชิงระบบที่กำลังเริ่มปรากฏให้เห็นtt ttการช่วงชิงสมรภูมิโซเชียลมีเดียรายงานข้อมูลดิจิทัลของ We Are Social ๒๕๖๖ ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับโซเชียลมีเดียทั่วโลกว่า ชาวอินโดนีเซีย ใช้เวลากับโทรศัพท์มือถือโดยเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ในโลก โดยอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีอัตราประชากรเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มากกว่า ๘๐% และผู้ที่มีอายุ ๑๖ ถึง ๖๔ ปีใช้เวลาโดยเฉลี่ยมากกว่า ๓ ชั่วโมงต่อวันบนโซเชียลมีเดีย ขณะเดียวกัน จากการสำรวจของ CSIS ในปี ๒๕๖๕ พบว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีอายุต่ำกว่า ๔๐ ปีกล่าวว่า โซเชียลมีเดีย เป็นแหล่งข้อมูลหลักของพวกเขา ตามมาด้วยโทรทัศน์ ๔๐%สิ่งนี้ได้เปลี่ยน TikTok และ Instagram ซึ่งเป็น ๒ แพลตฟอร์มโซเชียลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับชาวอินโดนีเซีย ให้เป็น “สมรภูมิในโลกดิจิทัล” สำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ และทำให้ผู้สมัครต่างแย่งชิงความสนใจจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งรุ่นเยาว์บนโซเชียลมีเดียtt ttโดยนายอานีส บาสเวดัน และคู่ชิงรองได้ ใช้ใช้แพลตฟอร์ม TikTok ในการสตรีมสดโต้ตอบกับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เมื่อเร็วๆ และยืนยันจุดยืนของเขาในบางประเด็น เช่น การเข้าถึงการศึกษาและสินเชื่อที่เท่าเทียมกัน และการไม่แบ่งแยกในการกำหนดนโยบาย หลังจากการอภิปรายเมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์tt ttในส่วนของนายกันจาร์ ปราโนโว มีผู้ติดตาม TikTok มากที่สุดจากผู้สมัครทั้งหมด เขามีเมนู “Gen Z” ให้เลือกบนเว็บไซต์แคมเปญอย่างเป็นทางการของเขา ซึ่งแสดงถึงมีส่วนร่วมของเขากับคนหนุ่มสาวและโครงการพัฒนาต่างๆ ที่มุ่งเน้นเยาวชน รวมถึงการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่ฟรีและเท่าเทียมกัน หรือนักเรียนทุกคนและธุรกิจขนาดเล็กที่มีศักยภาพเพื่อให้สามารถเข้าสู่ตลาดออนไลน์ได้นอกจากนี้นาย ปราโบโว ซูเบียนโต ซึ่งไม่มีบัญชี TikTok อย่างเป็นทางการแต่ปรากฏว่าเขามีคะแนนนำในโพลต่างๆ หลังจากเลือกจับคู่กับผู้สมัครชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดี คือนายยิบราน รากาบูมิง ซึ่งเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีที่มีผู้ติดตามติดตามมากที่สุดบนโซเชียลมีเดีย และการจับคู่กันครั้งนี้ถือเป็นจุดพลิกผันที่ทำให้ผู้คนคาดเดาว่านายโจโกวีอาจจะกำลังพยายามรักษาอิทธิพลทางการเมืองของเขาไว้ หากเปรียบเทียบกับผู้สมัครอีก ๒ คน ถือว่านายซูเบียนโตได้รับความสนใจจากสาธารณชนมากที่สุดบนโซเชียลมีเดีย ภายหลังการอภิปรายชิงตำแหน่งประธานาธิบดีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ขณะที่ผลการเลือกตั้งในวันพุธนี้ อาจเป็นข้อตัดสินว่าแคมเปญโซเชียลมีเดียมีประสิทธิภาพเพียงใดในการจัดการกับความกังวลของผู้มีสิทธิเลือกตั้งคนรุ่นใหม่.