วันพุธ, 6 พฤศจิกายน 2567

"แพทองธาร" ควง "นพ.สุรพงษ์" สื่อสารซอฟต์พาวเวอร์ สร้างเชื่อมั่นนักลงทุน

“แพทองธาร” ควง “นพ.สุรพงษ์” สื่อสารนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ แก่นักลงทุนงาน “เกียรตินาคินภัทร : A Pathway to Prosperity” ปลุกเชื่อมั่นนักลงทุนในอนาคตจากแผนงานรัฐ จากอุตสาหกรรมเทศกาล กับการท่องเที่ยว วันที่ ๒๒ ม.ค. ๖๗ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ และ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ร่วมเป็น Key Speaker ในงาน “A pathway to prosperity” จัดโดยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ บอกเล่ายุทธศาสตร์การพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ของไทยให้แก่นักธุรกิจ นักลงทุนที่สนใจ กว่า ๑,๖๐๐ คน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นทางการลงทุนในอนาคต โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ท่องเที่ยว เทศกาล และกีฬาtt ttคำถามแบ่งเป็น ๓ ประเด็นใหญ่ คือ ทิศทางการพัฒนาของอุตสาหกรรม รายละเอียดของระยะเวลานโยบาย และงบประมาณที่จะใช้กับนโยบายtt ttรองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เล่ารายละเอียดก่อนว่า ที่ผ่านมาหลายคนตั้งคำถามเกี่ยวกับ ‘นิยาม’ ของซอฟต์พาวเวอร์ โดยอ้างอิงจากต้นทฤษฎีอย่างโจเซฟ ไนย์ แน่นอนว่าเพื่อไทยเราถอดวิธีการทำงานมาจากต้นทฤษฎี แต่วันนี้คำว่า “ซอฟต์พาวเวอร์” มีการประยุกต์ใช้ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ หรือระหว่างประเทศ ไม่ได้เน้นแค่การเมืองระหว่างประเทศเพียงเท่านั้นสังเกตได้จากการวัดผลดัชนีซอฟต์เพาเวอร์จากแต่ละสถาบันที่มีการวัดผลที่ต่างกันเสมอ เช่น ประเทศเกาหลีใต้ ที่ทุกคนยอมรับเรื่องการเผยแพร่วัฒนธรรมนั้น กลับได้การจัดอันดับว่าเป็นประเทศที่ใช้ซอฟต์พาวเวอร์สูงในบางสำนัก และได้ลำดับที่ต่ำในบางสำนัก เพราะฉะนั้นเรื่องทฤษฎีซอฟต์พาวเวอร์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามแต่จะยึดเอาเกณฑ์ หรือประเด็นใดเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งรัฐบาลเพื่อไทยเราใช้มิติทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และนโยบายต่างประเทศเป็นตัวนำtt ttประเด็นต่อมา คือ เรื่องงบประมาณ ที่ประชาชนหลายคนมองว่าใช้งบประมาณสูง เช่น งบประมาณของอุตสาหกรรมเทศกาล และการท่องเที่ยว ซึ่งกำหนดไว้ที่ราว ๑,๗๐๐ ล้านบาท เรื่องนี้ แพทองธาร อธิบายว่า จริงๆ แล้วไม่ใช่งบประมาณที่สูง ไม่มากไปกว่าที่เคยใช้ในปีก่อนๆ เพียงแต่ที่ผ่านมางบท่องเที่ยว และเทศกาลแตกไปอยู่ในหลายหน่วยงาน รวมทั้งไม่ได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์การใช้จ่ายอย่างเป็นระบบ การทำงานของเราจะทำให้เป็นระบบและชัดเจนขึ้น และที่แตกต่างคือการทำงบประมาณนี้เป็นการจัดสรรโดยเอกชน ซึ่งเป็นคนใช้งบประมาณจริงสิ่งที่คณะกรรมการฯ ตั้งใจทำในอุตสาหกรรมเทศกาล และการท่องเที่ยว คือ การทำ ‘เศรษฐกิจเทศกาล’ (Festival Economy) เป็นเรื่องใหญ่มากที่ต่างประเทศเน้นเรื่องนี้ ที่ผ่านมาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพมาโดยตลอด แต่อาจไม่ได้มีการออกแบบเศรษฐกิจเทศกาลอย่างเต็มที่ คณะกรรมการจะเริ่มพัฒนาระบบข้อมูลเทศกาลต่างๆ เช่น แพลตฟอร์ม, อมรมเรื่อง Festival academy คน โดยคนที่จะมาช่วยเรื่องนี้เป็นหลักเลยคือ วู้ดดี้ มิลินทจินดา พิธีกรชื่อดัง และผู้ปลุกปั้นเทศกาลดนตรี S๒Ott ttหรืออีเวนต์ใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเดือนเมษายนนี้คือ งานมหาสงกรานต์ World Water Festival จะเป็นตัวอย่างว่าหากมีการออกแบบทั้งระบบจะเป็นยังไง ตั้งแต่การเดินทาง อาหาร โรงแรมที่พัก ห้องน้ำ ทั้งหมดนี้ต้องถูกวางแผนทั้งระบบ และการทำโฆษณาอย่างต่อเนื่องtt ttนอกจากนี้ยังได้มีการบอกเล่ารายละเอียดของโครงการ OFOS ที่จะ Reskill และ Upskill ในอุตสาหกรรมอาหาร โดยตั้งเป้าว่าในปีแรกจะมีการอบรม “หนึ่งเชฟอาหารไทยหนึ่งหมู่บ้าน” กว่า ๑๐,๐๐๐ คน อบรมฟรี พร้อมกับหลักสูตรที่ได้มาตรฐานสากล โดยเชฟ-ชุมพล แจงไพร ที่จะมีการสอนการทำอาหารไทย ตั้งแต่พื้นฐานการใช้อุปกรณ์ วิธีการปรุง รวมทั้งมีการเรียนรู้สูตรอาหารทั้ง ๔ ภาค เรียนรู้อาหารคาว อาหารว่าง อาหารหวาน อาหารโบราณ พร้อมทั้งเตรียมหลักสูตรสำหรับการเป็นผู้ประกอบการ ร่วมทั้งสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนในการจัดหาตำแหน่งงานให้ด้วยเมื่อจบหลักสูตร.