วันพุธ, 6 พฤศจิกายน 2567

๑๐๘ ปี สหกรณ์ไทย ก้าวข้ามสหกรณ์ฉาบฉวย

26 ก.พ. 2024
46

๒๖ กุมภาพันธ์ วันสหกรณ์แห่งชาติ มีที่มาจาก พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย ได้ทรงส่งเสริมให้ก่อตั้งสหกรณ์แห่งแรกขึ้นในประเทศไทย สหกรณ์วัดจันทร์ ไม่จำกัดสินใช้ ที่ ต.วัดจันทร์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก และทรงเป็นนายทะเบียนสหกรณ์ รับจดทะเบียนเป็นสหกรณ์แห่งแรก เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๕๙ “ปัจจุบันประเทศไทยมีสหกรณ์ภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตรที่ยังดำเนินงานอยู่ ๖,๒๒๕แห่ง ทั้งประเทศมีสมาชิกสหกรณ์ ๑๑,๔๔๗,๔๐๕ คน อยู่ในสหกรณ์ภาคการเกษตรมากที่สุด ร้อยละ ๕๕ รองลงมาสหกรณ์ออมทรัพย์ร้อยละ ๒๕.๖ สหกรณ์ทั้งหมดมีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น ๔.๔ ล้านล้านบาทเราจะเดินหน้าพัฒนาสหกรณ์ทั่วประเทศให้เป็นองค์กรที่มีคุณภาพ สามารถดำเนินงานเพื่อประโยชน์ของสมาชิกอย่างแท้จริง สหกรณ์ที่เข้มแข็งจะไปเสริมในสิ่งที่เขาขาดและต่อยอดให้เข้มแข็งมากขึ้น สหกรณ์ที่อ่อนแอ เราจะมีคณะผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาศึกษาว่าแต่ละแห่งต้นเหตุและปัญหาเกิดจากอะไร” นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวถึงนโยบายการพัฒนาสหกรณ์คุณภาพในโอกาสครบรอบ ๑๐๘ ปี สหกรณ์ไทย…ในปี ๒๕๖๗ การดำเนินงาน จะเดินไปในแนวทางนี้ โดยจะ มุ่งสร้างสหกรณ์คุณภาพเพื่อประโยชน์สู่สมาชิกสหกรณ์โดยรวมและจากการสรุปตัวเลขจำนวนสหกรณ์ที่มีจำนวนลดลง ไม่ใช่ปัญหาในการพัฒนางานสหกรณ์ แต่เป็นการลดลงเพื่อให้ได้สหกรณ์ที่มีคุณภาพ โดยกรมจะสนับสนุนสิ่งที่สหกรณ์ขาด อาทิ อุปกรณ์การตลาด องค์ความรู้ใหม่ๆ การเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อให้เกิดการขายผลผลิตเพิ่มขึ้น รวมกับการแปรรูปเพิ่มมูลค่าผลผลิตของสมาชิก เป็นต้น วิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ส่วนสหกรณ์อ่อนแอที่ขาดทุนสะสมมาหลายปี บางแห่งไม่ได้เกิดจากการทุจริต แต่เกิดจากการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดของสหกรณ์ เช่น ให้เงินกู้แก่สมาชิกเกินกว่าสมาชิกจะชำระหนี้ได้ เพราะมุ่งหวังที่จะได้รายได้กลับมาสู่สหกรณ์ แต่กลับเป็นว่าจ่ายไปแล้วเกิดหนี้เสียกลายเป็นหนี้สูญ…ปัญหาตรงนี้มีประมาณร้อยละ ๔๐-๕๐ ของสหกรณ์ที่มีปัญหาการจะแก้ปัญหาหนี้เสีย สหกรณ์จะเดินหน้าเร่งติดตามหนี้อย่างเดียวไม่ได้…แต่ต้องสร้างอาชีพคู่ขนานกันไปด้วย เพื่อสร้างรายได้แก่สมาชิก โดยอาจจะต้องสร้างรายได้รายวัน รายเดือน รายปี ส่วนสหกรณ์ที่ขาดทุนสะสมจำนวนมากจนไม่อาจฟื้นคืนได้ จะนำเข้าสู่กระบวนการชำระบัญชีเพื่อเลิกกิจการ โดยเฉลี่ยหนี้ให้กับเจ้าหนี้ แต่ตัวสมาชิกจะชำระได้ไม่เกินทุนหุ้นหรือทรัพย์สินที่มีอยู่ในสหกรณ์“เงินฝากสหกรณ์ส่วนใหญ่เป็นของสมาชิกสหกรณ์ เฉลี่ยกันไป อาจจะได้ไม่เต็มจำนวน โดยสมาชิกไม่ต้องรับผิดชอบหนี้ส่วนอื่น ยกเว้นหุ้นตัวเองในสหกรณ์ แต่ถ้าสมาชิกมีหนี้กับสหกรณ์ ต้องชำระหนี้นั้นด้วย” อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์บอกว่า จากสหกรณ์ ทั้งหมด ๘ พันกว่าแห่งเมื่อปี ๒๕๖๒ ขณะนี้เลิกกิจการไป เหลือเพียง ๖,๒๐๐ กว่าแห่งนั้น ได้ผ่านการตรวจสอบเป็นที่เรียบร้อยว่าสามารถดำเนินงานได้ปกติไม่มีปัญหา จากนี้ไปจะพัฒนาให้โตขึ้น มีศักยภาพมากขึ้น สร้างความเชื่อมั่นเชื่อถือให้กับผู้ถือหุ้น ผู้ฝากเงินและผู้มีส่วนได้เสียกับสหกรณ์ “การตั้งสหกรณ์ใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จะเน้นคุณภาพเป็นอันดับหนึ่ง ไม่ใช่ตั้งตามความต้องการแบบฉาบฉวย อย่างตั้งเพื่อรองรับเงินที่จะได้จากรัฐบาลพอได้เงินแล้วก็ทิ้งสหกรณ์ ไม่ได้ตั้งจากความต้องการอย่างแท้จริง ต่อไปนี้การจะตั้งสหกรณ์ขึ้นมาสักแห่ง สมาชิกจะต้องผ่านการฝึกอบรมเรียนรู้การทำงานกระบวนการสหกรณ์ก่อนอย่างน้อย ๖ เดือน โดยในระหว่างนี้จะมีการทดลองกิจกรรมต่างๆ เช่น มีการประชุมกลุ่ม ประชุมคณะกรรมการ มีการระดมทุน ถือหุ้นเป็นรายเดือน ตลอดจนการค้าการขาย การทำกิจกรรมกลุ่มทุกครั้งจะต้องมีคนมาร่วมเกินร้อยละ ๘๐ ถึงจะรับจดทะเบียนตั้งสหกรณ์”นายวิศิษฐ์ย้ำว่า ที่จริงหลักเกณฑ์หลักการเรื่องการจัดตั้งสหกรณ์นี้ เป็นแนวทางมาตั้งแต่อดีต ๑๐๘ ปีที่แล้ว เมื่อครั้งที่พระบิดาสหกรณ์ไทยจดทะเบียนจัดตั้งสหกรณ์ขึ้นมา แต่บางครั้งเกิดเหตุการณ์บางอย่างต้องรีบตั้งสหกรณ์เพื่อจะรับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล หลังจากได้เงินแล้วทุกคนแยกย้าย มันเลยเกิดความล้มเหลวทำให้เราเห็นสหกรณ์ร้างเลิกไปพันกว่าแห่ง.ชาติชาย ศิริพัฒน์คลิกอ่าน “ข่าวเกษตร” เพิ่มเติม