วันพุธ, 6 พฤศจิกายน 2567

ผู้แทนไต้หวันให้ไอเดีย ทิศทางความร่วมมือ

24 ก.พ. 2024
87

แม้เวลาจะผ่านไปแล้วกว่า ๓ ทศวรรษ ก็ยังจำบรรยากาศตอนที่ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่เศรษฐกิจในประเทศไทยได้ดี มาวันนี้ ผมก็ได้กลับมาประจำการอีกครั้งในฐานะผู้แทนรัฐบาล สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทยจาง จวิ้น ฝู หัวเรือแห่งสำนักงานไทเป และมือทองเรื่องการเจรจาการค้า ระหว่างประเทศ กล่าวพร้อมรอยยิ้ม หลังเปิดห้องทำงานออฟฟิศถนนวิภาวดีรังสิต ให้การต้อนรับทีมข่าวต่างประเทศ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เข้าสัมภาษณ์เป็นการส่วนตัวถึงสถานการณ์ความเป็นไป หลังจากรัฐบาลไต้หวันผ่านพ้นการเลือกตั้งเดือน ม.ค. และได้ประธานาธิบดีคนใหม่ “ไล่ ชิงเต๋อ” ที่จะเข้าดำรงตำแหน่งแทนผู้นำ “ไช่ อิงเหวิน” ในวันที่ ๒๐ พฤษภาคมนี้เมืองไทยเมื่อ ๓๐ ปีก่อน กับเมืองไทยในวันนี้มีการพัฒนาอย่างมาก โครงสร้างพื้นฐานมีการขยายตัว ที่ยังให้ความรู้สึกเก่าๆอันน่าคิดถึงคือเรื่องรถติด (หัวเราะ) ซึ่งผมก็อยากรู้เหมือนกันว่า จะแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้อย่างไร ไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลย อย่างไอเดียเรื่องการออกระเบียบให้ผู้ใช้รถต้องมีที่จอดรถเสียก่อนถึงจะซื้อรถใหม่ได้ ไต้หวันก็ยังทำไม่สำเร็จถูกมองในเรื่องการจำกัดสิทธิคนรุ่นใหม่ที่ยังไม่มีรถใช้เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ระหว่างคนไทย-ไต้หวันก็กำลังเพิ่มพูน มีการไปมาหาสู่ระหว่างกันเพิ่มอย่างต่อเนื่อง จำนวนนักท่องเที่ยวมาประเทศไทยที่กำลังกลับมาอยู่ในระดับ ๙๔% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-๑๙ ขณะที่ชาวไทยมาเที่ยวไต้หวันก็ปรับตัวเพิ่มอย่างต่อเนื่อง อย่างเดือน ธันวาคมที่ผ่านมาเดือนเดียวก็มีมากกว่า ๔๗,๔๙๓ คนซึ่งเป็นผลพวงจากทดลองใช้นโยบายวีซ่าฟรีระหว่างกันแต่แน่นอนว่าสิ่งที่ต่างไปคือความสัมพันธ์ทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก หลายสิ่งต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวังมากขึ้น ซึ่งผมก็ตั้งคำถามเหมือนกันว่าระวังกันมากเกินไปหรือเปล่า ทุกอย่างสามารถนั่งโต๊ะเจรจาพูดคุยกันได้ อีกทั้งระหว่างเราก็มีความสัมพันธ์กันมายาวนาน ผมยังจำความได้เรื่องที่ไต้หวันเข้ามาสนับสนุนเรื่องการปราบฝิ่น สนับสนุนให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชชนิดอื่นเมื่อหลายทศวรรษก่อน ทั้งยังมีการลงทุนธุรกิจไทย-ไต้หวัน สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน อย่างตอนนี้ก็เรื่องพลังงานสีเขียวส่วนตัวไม่อยากที่จะตอบเรื่องการเมืองระหว่างประเทศมากนัก เพราะสนใจและถนัดในเรื่องของเศรษฐกิจและการลงทุน ในมุมนี้ที่ถามผมว่าความสามารถในการแข่งขันทางการค้าจะทำเช่นไร ในเมื่อชาติมหาอำนาจมีขุมกำลังในการทุ่มทุนพัฒนา เจาะตลาดสินค้าที่เคยเป็น “ความโดดเด่น” ของประเทศอื่นๆ? ต้องขออธิบายก่อนว่า นโยบายของไต้หวันคือการลงทุนในหลายด้าน เพื่อลดความเสี่ยงในการพึ่งพาสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไปยอมรับว่าบางประเทศถ้าเขาคิดจะเอาจริง ก็ยากที่จะไปแข่งขันด้วย เพราะไม่ใช่แค่ราคาถูกอย่างเดียว แต่คุณภาพก็ดีขึ้นเป็นลำดับเมื่อเวลาผ่านไป เขามีขีดความสามารถในการวางแผนงานระยะยาว ด้วยเหตุนี้การสร้าง “นวัตกรรม” คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆจึงเป็นสิ่งจำเป็น อย่างอุตสาหกรรม “เซมิคอนดักเตอร์” ชั้นนำของไต้หวันก็มีความเสี่ยงที่จะถูกเบียดได้ในอนาคต เพียงแต่เรายังมีเวลา เนื่องจากการสร้างเทคโนโลยีขั้นสูง (ที่ไต้หวันมีอยู่แล้ว) ขึ้นมาใหม่ด้วยตัวเองไม่ใช่เรื่องง่าย อีกทั้งบางประเทศที่กล่าวถึงก็มีคู่แข่งรายใหญ่อันทรงอิทธิพล พยายามเดินเกมขัดขวางอยู่ตลอดผมมีความสนใจในเรื่องที่รัฐบาลไทยต้องการดึงดูดนักลงทุน ถามผมว่ามีความคิดเช่นไร ก็ขอตอบว่า การที่บริษัทไต้หวันจะเลือกฐานการผลิตที่ใดที่หนึ่ง จะต้องพิจารณาก่อนในเรื่อง “ต้นทุนการผลิตและทรัพยากรมนุษย์” กล่าวคือค่าแรง ค่าน้ำ ค่าไฟ ไปจนถึงจำนวนแรงงานที่เพียงพอ ตามด้วยดูเรื่อง “นโยบายด้านการลงทุน” มีแรงจูงใจเพียงพอหรือไม่ โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงที่ต้องใช้ต้นทุนมหาศาล รวมถึงการพิจารณาด้วยว่า ประเทศนั้นๆมี “ซับพลายเชน” ห่วงโซ่วัตถุดิบที่สามารถเอื้อต่อบริษัทไต้หวันที่จะเข้าไปลงทุนหรือไม่สำหรับประเทศไทยสิ่งที่น่าสนใจคือ รัฐบาลไทย เสนอนโยบายสร้างแรงจูงใจให้เข้ามาลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) มีระบบบริการให้คำปรึกษานักลงทุนต่างชาติที่ดี และมีมาตรการสนับสนุนต่างๆ การเมืองประเทศไทยมีเสถียรภาพ มีโครงสร้างขั้นพื้นฐานเหมาะสม และมีนโยบายที่คาดเดาได้ มองทิศทางออก มีแรงงาน มีน้ำ มีไฟฟ้าเหลือเฟือนอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีตำแหน่งที่เหมาะสมทางภูมิศาสตร์ ตั้งอยู่บนศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สามารถเข้าถึงห่วงโซ่วัตถุดิบทั้งในภูมิภาคอาเซียนและภูมิภาคเอเชียตะวันออก และบริษัทไต้หวันเองก็ใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตระดับภูมิภาค เพื่อเจาะตลาดอาเซียน ไปจนถึงตลาดสหรัฐฯ ยุโรป ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์อย่างไรก็ตาม บริษัทในไต้หวันบางส่วนก็มองด้วยว่า สิทธิพิเศษจากบีโอไอของประเทศไทยมีมากมายก็จริง แต่จะมีความน่าสนใจมากกว่านี้ หากมีการ “คัสตอมไมซ์” ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับธุรกิจในแต่ละประเภท บางธุรกิจมองว่าไม่ได้ประโยชน์อะไร จากเงื่อนไขแบบครอบคลุมของบีโอไอ แถมอาจจะต้องลงทุนเพิ่ม ซึ่งถือเป็นสิ่งที่เสียโอกาสไปโดยใช่เหตุ อีกประการหนึ่งคือประเทศไทยยังมีห่วงโซ่วัตถุดิบ ที่ยังไม่สมบูรณ์แบบ ทำให้บริษัทที่อยากมาลงทุนต้องนำเข้าของมาเองซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุน รวมถึงปัญหา ขาดแรงงานทักษะสูงที่จะมารองรับการเติบโต ของธุรกิจเทคโนโลยีขั้นสูงรัฐบาลไต้หวันมองว่า ทิศทางของการลงทุนในอนาคตสำหรับประเทศที่ไม่ใช่มหาอำนาจ คือการพยายามสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ มุ่งเน้นการเจาะตลาดทางเลือก เพื่อฉีกตัวออกจากการผลิตในสิ่งที่ใครก็ทำได้ อย่างในไต้หวันก็พบว่า ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงธุรกิจเกิดใหม่จำนวนมากที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง บางประเภทสามารถทำกำไรได้สูงถึง ๓๐-๕๐%ผมมีความคาดหวังที่จะได้ร่วมมือกับประเทศไทยมากขึ้น มองประเทศไทยเป็นชาติที่มีวิสัยทัศน์ มีนโยบายมองไปข้างหน้าที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลไต้หวัน ไม่ว่าจะเป็นไทยแลนด์ ๔.๐ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และโมเดลเศรษฐกิจบีซีจีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีความร่วมมือในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ แผงวงจรมายาวนาน และกำลังก้าวเข้าสู่ความร่วมมือใหม่ๆ อย่างพลังงานสะอาดและรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า มองเห็นศักยภาพที่จะเกิดจากความร่วมมือของสองเรา.ทีมข่าวต่างประเทศคลิกอ่านคอลัมน์ “๗ วันรอบโลก” เพิ่มเติม