ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้อ่านคำพิพากษาคดีการปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยทุจริต มุ่งหมายไม่ให้มีการแข่งขันเสนอราคาอย่างเป็นธรรม กรณีการจัดจ้าง โครงการ Roadshow สร้างอนาคตประเทศไทย Thailand ๒๐๒๒ วงเงิน ๒๓๙ ล้านบาทประกอบด้วยจำเลยจำนวน ๖ คนได้แก่ อดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตรัฐมนตรี นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล อดีตเลขาฯนายกฯ สุรนันทน์ เวชชาชีวะ และบริษัทเอกชน ซึ่งศาลฎีกามีมติ ๙-๐ เสียงพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งหมด ระบุเหตุผลว่าไม่พบเจตนาในการเอื้อประโยชน์การจัดซื้อจัดจ้าง และมีคำสั่งให้เพิกถอนหมายจับอดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ด้วยณ จุดนี้ อดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ เหลือคดีโทษจำคุก คดีปล่อยให้เกิดการทุจริต ในโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งศาลฎีกาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษาจำคุก ๕ ปี เพียงคดีเดียวที่ยังจะต้องรับโทษ ส่วนคดีอื่นมีการยกคำร้องไปหมดแล้วนอกจากนี้ยังมีคำร้องข้อกล่าวหาทุจริตในโครงการจีทูจี โครงการรับจำนำข้าวภาคสอง และร่ำรวยผิดปกติ อยู่ในการพิจารณาของ ป.ป.ช. ที่ต้องลุ้นกันอีกระลอกอย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์คาดว่าจากนี้ไปจะเป็นการเริ่มต้นกระบวนการเดินทางกลับประเทศไทยของ อดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ เดินตามรอย อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ภายในปีนี้ไม่ว่าผลทางนิตินัยจะออกมาอย่างไรก็ตาม ในทางพฤตินัยก็ยังมีความเห็นที่แตกต่าง ฝ่ายหนึ่งมองว่าการดำเนินคดีกับ อดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ หรือ อดีตนายกฯ ทักษิณ มีความเป็นธรรมตามกระบวนการยุติธรรมหรือไม่ หรือเป็นการล้มล้างกันทางการเมืองผ่านกระบวนการยุติธรรม ผู้ถูกยึดอำนาจ ก็ย่อมต้องเชื่อมั่นว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรมอยู่แล้วฝ่าย ผู้ยึดอำนาจ มั่นใจว่ามีการกระทำผิดตามข้อกล่าวหาจริง จนกระทั่งยุคหนึ่ง ที่จะต้องพบกันครึ่งทางเพื่อยุติความขัดแย้งที่เกิดจากกระบวนการยุติธรรมกรณีที่ ป.ป.ช. รับคดี เว็บพนันเครือข่ายมินนี่ ไว้ในการพิจารณาไม่ส่งคืนสำนวนให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามคำร้องขอ และยังให้ขอคืนสำนวนคดีบัญชีม้า ที่เกี่ยวข้องกับคดีเว็บพนันออนไลน์ด้วยท่ามกลางความขัดแย้งขั้วอำนาจใน สตช.สาเหตุที่ ป.ป.ช.ขอสำนวนคดีนี้ไว้อยู่ในการพิจารณา เพราะ อ้างว่าเป็นคดีร้ายแรง มีมูลค่าความเสียหายสูง และเป็นการเอาผิดกับผู้ที่เกี่ยวข้องตามประมวลกฎหมายอาญา ม.๑๕๗ ประกอบ ม.๑๔๙ อยู่ในอำนาจการพิจารณาของ ป.ป.ช.อยู่แล้วส่องรายชื่อ ป.ป.ช.ชุดปัจจุบัน พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ, วิทยา อาคมพิทักษ์, สุวณา สุวรรณจูฑะ, เอกวิทย์ วัชชวัลคุ ส่วนใหญ่มาจากสายศาล ยกเว้น พล.ต.อ.วัชรพลที่ไม่เห็นด้วยกับการรับเรื่องไว้พิจารณาคือ สุรชาติ ตระกูลเกษมสุข มาจากศาลมีนบุรี จับตา นิติสงครามรอบใหม่ ที่จะกลายเป็นวิกฤติประเทศตอนจบ.หมัดเหล็กmudlek@thairath.co.thคลิกอ่านคอลัมน์ “คาบลูกคาบดอก” เพิ่มเติม
เรื่องที่เกี่ยวข้อง