ในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา มีทีมนักดาราศาสตร์ได้ออกแบบและสร้างเครื่องมือใหม่ที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียสเตต หรือเพนน์ สเตต ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งสามารถตรวจจับแสงจากดาวฤกษ์ที่เย็นเป็นพิเศษและสลัว เครื่องมือดังกล่าวมีชื่อว่า Habitable Zone Planet Finder ติดตั้งอยู่กับกล้องโทรทรรศน์ Hobby–Eberly ขนาด ๑๐ เมตรในทางตะวันตกของรัฐเท็กซัส สหรัฐฯ เครื่องมือนี้วัดการเปลี่ยนแปลงเล็กๆน้อยๆ ในความเร็วของดาวฤกษ์ในขณะที่ดาวเคราะห์ดึงแรงโน้มถ่วงมาบดบังดาวฤกษ์ เหมาะสำหรับตรวจหาดาวเคราะห์นอกระบบล่าสุด เครื่องมือ Habitable Zone Planet Finder ได้ตรวจพบดาวฤกษ์แคระดวงเล็กๆ ชื่อ LHS ๓๑๕๔ มีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะของเรา มีมวลน้อยกว่าดวงอาทิตย์ถึง ๙ เท่า และส่องสว่างน้อยกว่าถึง ๑๐๐ เท่า แต่ที่น่าแปลกใจก็คือนักดาราศาสตร์ได้ค้นพบดาวเคราะห์ขนาดใหญ่คือ LHS ๓๑๕๔b หนักกว่าโลกมากกว่า ๑๓ เท่า กำลังโคจรรอบดาวฤกษ์ดวงเล็ก LHS ๓๑๕๔ ซึ่งดาวฤกษ์ดังกล่าวไม่น่าจะมีสสารในปริมาณที่จำเป็นในจานฝุ่นก๊าซที่ล้อมรอบ จนนำไปสู่การก่อตัวดาวเคราะห์ขนาดใหญ่เช่นนี้tt ttนักดาราศาสตร์อธิบายว่า ดาวเคราะห์ก่อตัวในจานหมุนที่ประกอบด้วยก๊าซและฝุ่น จานพวกนี้จะดึงเม็ดฝุ่นเกาะตัวกันเป็นก้อนกรวดให้มารวมตัวกันจนกลายเป็นแกนของแข็งของดาวเคราะห์ เมื่อแกนกลางก่อตัวขึ้น ดาวเคราะห์ก็สามารถดึงฝุ่นแข็งเข้ามาด้วยแรงโน้มถ่วง รวมถึงก๊าซที่อยู่รายรอบ เช่น ไฮโดรเจน ฮีเลียม อย่างไรก็ตาม มันต้องใช้มวลและวัสดุจำนวนมากจึงจะประสบความสำเร็จในการก่อตัวดาวเคราะห์.อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่
เรื่องที่เกี่ยวข้อง