วันพฤหัสบดี, 7 พฤศจิกายน 2567

ฝุ่น PM๒.๕ เขย่าเศรษฐกิจไทย แหล่งกำเนิดที่ถูกมองข้าม

05 ม.ค. 2024
64

เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว “ประเทศไทย” มักต้องเผชิญปัญหาฝุ่น PM๒.๕ ที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นทุกปี “ส่งผลเสียต่อสุขภาพ” ปล่อยยืดเยื้อไว้นานยิ่งทำลายเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวเสียหายมหาศาลโดยเฉพาะในพื้นที่เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ภาคเหนือ ภาคอีสาน ที่มักปรากฏค่าฝุ่น PM๒.๕ เกินมาตรฐานเป็นอันตรายสูงขึ้นเรื่อยๆ “ทำลายสถิติสูงสุดในรอบ ๕ ปี” สาเหตุการเกิดมลพิษทางอากาศรุนแรงนี้ เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ บอกว่า ฝุ่น PM๒.๕ เป็นปัญหาประจำปีของประเทศไทยยืดเยื้อมายาวนานหลายปีหากย้อนดูราว ๕ ปีก่อน “ฝุ่น PM๒.๕” เริ่มเป็นปัญหาในกรุงเทพฯ “กรมควบคุมมลพิษ” ได้จัดทำการศึกษาแหล่งกำเนิด และแนวทางการจัดการฝุ่น PM๒.๕ ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เผยแพร่เดือน สิงหาคม๒๕๖๑ ระบุในช่วงหลายปีมานี้ “ระดับฝุ่น PM๒.๕ เฉลี่ยทั้งปี” มีค่าสูงเกินกว่ามาตรฐานในฤดูแล้งระหว่างเดือน ม.ค.-มี.ค.tt ttตามผลการตรวจวัด ๗ สถานีนั้นค่าเฉลี่ยรายปีเกินค่ามาตรฐาน ๒๕ มคก./ลบ.ม.อยู่ ๒ สถานี และค่าเฉลี่ย ๒๔ ชม.เกินค่ามาตรฐาน ๕๐ มคก./ลบ.ม. ๔๐-๕๐ วัน/ปี กลายเป็นข้อวิตกกังวลจะส่งผลต่อสุขภาพประชาชน และกระทบภาพลักษณ์ของกรุงเทพฯ ในฐานะศูนย์กลางการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แม้แต่ “กรมควบคุมโรค” ยังออก พระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพ และโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ.๒๕๖๒ กำหนดให้โรคเกิดจากฝุ่น PM๒.๕ เป็น ๑ ใน ๕ ที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม พร้อมร่างคำประกาศพื้นที่เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคสูงสุด “เก็บข้อมูลพื้นที่เฝ้าระวัง และดูแลสุขภาพ” แต่ก็ยังเป็นมาตรการตั้งรับแก้ปัญหาที่ปลายเหตุในขณะที่ “แหล่งกำเนิดฝุ่น PM๒.๕” กลับถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นพูดกันน้อยเฉพาะ ๓-๔ ประเภท ไม่ว่าจะเป็นไอเสียรถยนต์ดีเซล การเผาชีวมวล หมอกควันข้ามพรมแดน และฝุ่นทุติยภูมิจากปฏิกิริยารวมตัวกันของไอเสียรถ หรือแอมโมเนียจากปุ๋ยในเกษตรกรรม ทำให้ปัญหามักได้รับการแก้ไขแบบเฉพาะหน้ามาตลอดแล้วผลการศึกษาฉบับนี้ “เป็นข้อมูลการรับรู้ทางการเท่าที่มีอยู่” ถูกใช้อ้างอิงกันอย่างแพร่หลายจนคนเข้าใจกันว่า “แหล่งกำเนิดหลักมี ๓-๔ แหล่ง” ทำให้ไม่ได้เน้นให้ความสำคัญการศึกษาหาข้อเท็จจริง “จากการปลดปล่อยฝุ่น PM๒.๕ ในภาคอุตสาหกรรม” ส่งผลให้ไม่ได้พุ่งเป้าแก้ปัญหาอย่างจริงจังจากแหล่งกำเนิดประเภทนี้ทว่าหากดูในการศึกษาปี ๒๕๖๔ “มูลนิธิบูรณะนิเวศ” ได้จัดโครงการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมพื้นที่ จ.สมุทรสาคร เพื่อสุขภาวะองค์รวมหรือโครงการสมุทรสาครสีเขียวในการศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM๒.๕ และ PM๑๐ เพราะ จ.สมุทรสาครเป็นเขตรองรับอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวของโรงงานทุกขนาดใกล้กรุงเทพฯtt ttผลปรากฏว่า “โรงงานอุตสาหกรรมเป็นแหล่งก่อเกิดฝุ่นละอองทั้ง ๒ ประเภทมากที่สุด” กล่าวคือ ภาคอุตสาหกรรมทำให้เกิดฝุ่น PM๑๐ สูง ๗๐,๖๓๓ ตัน/ปี และฝุ่น PM๒.๕ สูงถึง ๔๔,๒๒๘ ตัน/ปี แต่เมื่อเปรียบเทียบกับภาคการจราจร และการขนส่งปล่อยฝุ่น PM๑๐ อยู่ที่ ๒๐๓ ตัน/ปี และฝุ่น PM๒.๕ จำนวน ๑๙๗ ตัน/ปีสำหรับการเผาขยะปล่อย PM๑๐ อยู่ที่ ๑๕๐ ตัน/ปี และ PM๒.๕ สูงสุดที่ ๔๙ ตัน/ปี ในส่วนแหล่งกำเนิดปล่อยน้อยที่สุด คือ “เผาในที่โล่ง” อันมีอัตรา PM๑๐ เท่ากับ ๑ ตัน/ปี และปล่อย PM๒.๕ เท่ากับ ๐.๙๔ ตัน/ปีเมื่อพิจารณาพื้นที่รวมทั้งจังหวัดจะเห็นได้ว่า “ภาคอุตสาหกรรมเป็นแหล่งกำเนิดหลักของการปลดปล่อยฝุ่นละอองขนาดเล็ก” โดยพื้นที่วิกฤติที่มีการปลดปล่อยสูงสุดคือ “อ.เมืองสมุทรสาคร” ดังนั้นถ้าไม่มีการควบคุมแหล่งกำเนิดให้ครบถ้วนอย่างจริงจังแล้วจะทำให้มลพิษทางอากาศมีระดับรุนแรงยิ่งขึ้นเร็วๆนี้แน่นอนตอกย้ำด้วย “ภาคการผลิตในอุตสาหกรรม” ส่วนใหญ่ใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิลเพื่อผลิตพลังงานในโรงงานไม่ว่าจะเป็นเชื้อเพลิงของแข็ง ถ่านหิน ถ่านโค้ก ฝืน ขยะ “อันเป็นแหล่งกำเนิดฝุ่นที่สำคัญ” นอกจากนี้ยังมีเชื้อเพลิงของเหลว น้ำมันเตา น้ำมันดีเซล และเชื้อเพลิงที่อยู่ในรูปก๊าซ เช่น ก๊าซธรรมชาติ และก๊าซแอลพีจีแล้วเชื้อเพลิงเหล่านี้ “มีสารไฮโดรคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ” แถมมีธาตุชนิดอื่นรวมอยู่อย่างไนโตรเจน ออกซิเจน กำมะถัน และยิ่งระยะหลังนี้มีการใช้เชื้อเพลิงชีวมวลในระบบการผลิตอุตสาหกรรมสูงขึ้น “ส่งผลให้การเผาไหม้เชื้อเพลิงเกือบทุกชนิดไม่สมบูรณ์” กลายเป็นสาเหตุให้เกิดสารมลพิษทางอากาศร้ายแรงหลายชนิดเนื่องจากการผลิตพลังงานความร้อน “ในโรงงานอุตสาหกรรม” จำเป็นต้องใช้เชื้อเพลิงจำนวนมาก สารมลพิษที่เกิดขึ้นจึงมีปริมาณมากหลากหลายชนิด และถูกปล่อยออกมากระจายบนชั้นบรรยากาศในโรงงาน และฟุ้งกระจายออกมานอกโรงงานสู่พื้นที่สาธารณะลอยแขวนอยู่ในอากาศส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นวงกว้างตามมาtt tt“สิ่งนี้ทำให้เห็นว่ามลพิษทางอากาศจากอุตสาหกรรมเป็นปัญหาที่ร้ายแรงอย่างสูง และค่อนข้างมีความซับซ้อนซ่อนเงื่อน โดยพื้นฐานที่สุดแล้วยังมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยตรงไม่เพียงพอ ทำให้การเข้าถึงเข้าใจปัญหามลพิษอากาศจากแหล่งอุตสาหกรรมของคนในสังคมบกพร่อง และถูกบิดเบือนได้ง่ายอยู่ทุกวันนี้” เพ็ญโฉม ว่าแน่นอนว่า “การปล่อยปัญหาฝุ่นพิษเรื้อรังไม่แก้ไขนี้” มักส่งผลต่อสุขภาพจากการสูดดมเข้าสู่ปอดสะสมเป็นสารก่อให้เกิดโรคมะเร็ง หรือหลอดลมอักเสบได้ ถ้าหากฝุ่นพิษนี้ “ก่อเป็นทุติยภูมิ” ก็จะทำปฏิกิริยาทางเคมีในชั้นบรรยากาศเปลี่ยนแปลงเป็นสารก่อตัวกัน และสามารถสร้างก๊าซโอโซนอันเป็นพิษภัยที่แรงขึ้นได้ผลตามมาหากปรากฏ “จำนวนผู้ป่วยมากขึ้น” ย่อมก่อให้เกิดต้นทุน และสูญเสียโอกาสในด้านอื่นอย่างมหาศาล เช่นเดียวกันในแง่ผลกระทบ “ด้านเศรฐกิจ” ตั้งแต่ปี ๒๕๖๒-๒๕๖๖ “รัฐบาลไม่อาจรับมือกับปัญหาฝุ่น PM๒.๕ ได้เลย” แถมเพิ่มระดับความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศโดยตรงเรื่องนี้สะท้อนถึง “รัฐบาลไร้เสถียรภาพการรับมือหรือไม่” อันจะเป็นการดิสเครดิตมีผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุนชาวต่างชาติที่จะเข้ามาในประเทศ “กระทบการท่องเที่ยวไทย” โดยเฉพาะภาคเหนือ เช่น จ.เชียงใหม่ ต้องเผชิญฝุ่นพิษติดอันดับ ๑ ของโลก จนสูญเสียรายได้จากภาคการท่องเที่ยวปีละหลายล้านบาทด้วยซ้ำในส่วน รองศาสตราจารย์ด็อกเตอร์อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาวิจัยแห่งชาติ ให้ข้อมูลว่า ปัญหามลพิษทางอากาศในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และภาคเหนือรุนแรงขึ้นมากจนมีผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจสูงไม่เท่านั้นยัง “กระทบด้านเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว” จากงานการศึกษาวิจัยในช่วงเกิดมลพิษทางอากาศรุนแรง “เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลระยะ ๒ เดือน” ทำให้เกิดต้นทุน ค่าเสียโอกาสจากสุขภาพ สร้างความเสียหายไม่ต่ำกว่า ๓,๑๐๐ ล้านบาท การรักษาผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ ระบบทางเดินหายใจ ๑,๒๐๐ ล้านบาทtt ttทั้งยังมีค่าใช้จ่ายในการป้องกันมลพิษ และการสวมใส่หน้ากากอนามัย ๔๐๐-๑,๙๐๐ ล้านบาท ส่วนใหญ่คนจนในกรุงเทพฯ และผู้ทำงานกลางแจ้งในพื้นที่มีมลพิษเข้มข้น มักได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะคนกลุ่มนี้จำนวนหนึ่งไม่มีเครื่องป้องกันผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ ทำให้มีสุขภาพย่ำแย่ลงในส่วนค่าเสียโอกาสด้านการท่องเที่ยวพื้นที่กรุงเทพฯ ๑,๐๐๐-๓,๕๐๐ ล้านบาท ดังนั้นหากปล่อยปัญหายืดเยื้อเกิน ๒ เดือน “เศรษฐกิจไทยจะเสียหายไม่ต่ำกว่า ๕,๕๐๐-๖,๐๐๐ ล้านบาท” จากการชะลอตัวภาคการท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ และปริมณฑล การชะลอตัวกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลางแจ้ง ค่าใช้จ่ายสาธารณสุขเพิ่มขึ้นถ้าดูตามรายงานวิเคราะห์ขององค์กรกรีนพีซเฉพาะประเด็น “ฝุ่น PM๒.๕” เป็นปัญหา กำลังส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกในปี ค.ศ.๒๐๑๘ ประมาณ ๔.๕ ล้านคน เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่า “มลพิษทางอากาศ” ก่อให้เกิดต้นทุนทางเศรษฐกิจราว ๒.๙ ล้านล้านดอลลาร์ (คิดคำนวณเป็น ๓.๓% ของจีดีพีโลกในปี)อย่างเช่นกรณี “ประเทศจีน” ที่มีผลกระทบต้นทุนทางเศรษฐกิจสูงสุดอยู่ที่ประมาณ ๖.๖% จีดีพีของประเทศ รองลงมาคือ “ประเทศอินเดีย” มีต้นทุนทางเศรษฐกิจของมลพิษทางอากาศอยู่ที่ ๕.๔% ของจีดีพีประเทศฉะนั้นมลพิษทางอากาศเป็น “ปัญหากระทบต่อชีวิต” จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของทุกคน และบางกรณีก็ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศข้ามพรมแดนจึงจะสามารถแก้ปัญหาได้ยั่งยืน.คลิกอ่านคอลัมน์ “สกู๊ปหน้า ๑” เพิ่มเติม