วันพุธ, 6 พฤศจิกายน 2567

นิติธรรมทำให้แตกต่าง

กรณีอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร นอนพักรักษาตัวที่ รพ.ตำรวจเกิน ๑๒๐ วัน อาจบานปลายกลายเป็นการเมืองเรื่องใหญ่ หลังจากที่คณะกรรมาธิการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร นำคณะบุกถึงชั้น ๑๔ ของ รพ.ตำรวจ แต่ไม่พบนายทักษิณ วันเดียวกัน เครือข่ายประชาชนปฏิรูปประเทศไทย เตรียมร้อง ป.ป.ช.นายชัยชนะ เดชเดโช ประธาน กมธ.ตำรวจ ชี้แจงว่านายทักษิณไม่ได้ผิดอะไร เพียงแต่กรมราชทัณฑ์ต้องชี้แจงประชาชนให้ชัดเจน ขณะที่เครือข่ายประชาชน ปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) เตรียมยื่นเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ตรวจสอบอธิบดีกรมราชทัณฑ์ นายแพทย์ใหญ่ รพ.ตำรวจ และปลัดกระทรวงยุติธรรมรวมทั้งรัฐมนตรียุติธรรม ในข้อหาปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตาม ป.อาญามาตรา ๑๕๗ ทำให้ผู้หนึ่งผู้ใดเสียหาย อันที่จริงกรมราชทัณฑ์น่าจะทำความจริงให้ปรากฏมาตั้งแต่เมื่อมีข่าว ว่ากรมราชทัณฑ์แก้ไขระเบียบใหม่ อนุญาตให้นักโทษออกไปรักษาตัวนอกเรือนจำได้ เพราะเป็นเรื่องใหม่ที่คนทั่วไปไม่รู้เพิ่งจะมาเป็นข่าว หลังจากที่ นายทักษิณพักรักษาตัวที่ รพ.ตำรวจเกิน ๑๒๐ วัน ทำให้ชาวบ้านสงสัย เป็นการออกกฎหมายเพื่อต้อนรับการกลับไปรักษาตัวที่บ้านของนายทักษิณหรือไม่ ขัดต่อคำประกาศของนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ที่ว่าจะฟื้นฟูนิติธรรม เพื่อเป็นหลักในการบริหารประเทศหรือไม่นิติธรรมคือการปกครอง โดยยึดถือกฎหมายเป็นหลักสำคัญ ตามที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญว่าบุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพ และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายโดยเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นมหาเศรษฐีหรือยาจก ผู้กระทำผิดต้องติดคุกโดยเสมอหน้า ไม่ใช่ “คุกมีไว้ขังคนจน”นิติธรรมจึงเป็น “เสาหลัก” เสาหนึ่งของประชาธิปไตย ไม่ใช่ว่าประเทศใด มีรัฐธรรมนูญ มีพรรคการเมือง มีการเลือกตั้ง ประเทศนั้นเป็นประชาธิปไตยจะต้องมีทั้งการเลือกตั้ง รวมทั้งการมีสิทธิและเสรีภาพ มีระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ เพื่อไม่ให้อำนาจใดเหนือกว่าอำนาจอื่นๆเช่นเดียวกับ “ประเทศพัฒนา” ก็ไม่ใช่ว่าประเทศใดมั่งคั่งร่ำรวยจะเป็นประเทศที่พัฒนาได้ นอกจากความพัฒนา ทางเศรษฐกิจแล้ว ยังต้องไม่ให้มีความเหลื่อมล้ำกันมากเกินไป เสมือนแผ่นดินกับแผ่นฟ้า ทุกคนจะต้องมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน นี่คือความแตกต่างระหว่างเผด็จการกับประชาธิปไตย.คลิกอ่านคอลัมน์ “บทบรรณาธิการ” เพิ่มเติม