วันพฤหัสบดี, 7 พฤศจิกายน 2567

๒๕๖๘..เปิดเสรีโคนม อ.สิงหาคมยัน..เอาอยู่

21 ก.พ. 2024
50

“เราได้เตรียมพร้อมรับมือการเปิดเสรี FTA ไทย-ออสเตรเลีย และไทย-นิวซีแลนด์ ที่จะยกเลิกโควตาภาษีตั้งแต่ ๑ มกราคม๖๘ มาแต่เนิ่นๆ มั่นใจว่าการเปิดเสรีโคนมจะไม่กระทบต่อกิจการโคนมของ อ.สิงหาคมอย่างแน่นอน เนื่องจาก อ.สิงหาคมมีศักยภาพและมีความเข้มแข็งมากพอในการแข่งขันในตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยที่ผ่านมาได้เตรียมความพร้อมไว้ทุกด้านตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เช่น มีฟาร์มโคนมที่ได้มาตรฐาน มีโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย ๕ แห่ง ตลอดจนผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศให้ความเชื่อมั่น และยอมรับในคุณภาพและมาตรฐานของแบรนด์นมไทย-เดนมาร์กมาอย่างยาวนาน รวมทั้งการเป็นผู้ประกอบการเพียงรายเดียวที่ใช้น้ำนมโคสดแท้ ๑๐๐% ในการผลิตและเป็นที่ยอมรับในตลาด” นายสมพร ศรีเมือง ผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) บอกถึงการเตรียมพร้อมรับมือ FTA ไทย-ออสเตรเลีย และไทย-นิวซีแลนด์ ที่จะมีอย่างเต็มรูปแบบในปีหน้า…นอกจากนี้ อ.สิงหาคมยังมีฟาร์มประสิทธิภาพสูงที่เป็นฟาร์มสาธิตเชิงธุรกิจ และเป็น Smart Dairy Farm ที่ใช้เทคโนโลยีช่วยในการจัดการฟาร์มและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับเป็นแหล่งฝึกปฏิบัติและการสร้างบุคลากรมืออาชีพด้านการเลี้ยงโคนมและเป็นฟาร์มสำหรับใช้ในการศึกษา และพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการฟาร์ม ให้มีความสะดวกและเหมาะสมกับการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรยุคใหม่ ที่สอดคล้องกับหลักการดูแลสวัสดิภาพสัตว์ (Animal welfare) พร้อมจัดซื้อแม่โครีดนม จำนวน ๑๒๐ ตัว เพื่อผลิตน้ำนมดิบเข้าสู่อุตสาหกรรมนมให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันให้ผลผลิตสูงถึง ๒๑.๗๕ กก./ตัว/วัน จากเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ๑๘ กก./ตัว/วัน ถือว่าให้ผลผลิตสูงและส่งผลทำให้มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบัน อ.สิงหาคมจะมีความเข้มแข็งพร้อมรับการแข่งขันหลังมีการเปิดเสรีด้านโคนมแล้ว แต่ อ.สิงหาคมก็ไม่ได้ทอดทิ้งเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในเครือข่าย ที่ปัจจุบันยังมีปัญหาและอุปสรรคในการปรับตัว รวมทั้งมีการบริหารจัดการฟาร์มที่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้มีต้นทุนสูงและให้ผลผลิตต่ำไม่เพียงพอกับรายได้ ประกอบกับความผันผวนทางเศรษฐกิจในช่วง ๒–๓ ปีที่ผ่านมา ทำให้ราคาอาหารโคนมปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตของเกษตรกร ส่งผลให้เกษตรกรหลายครอบครัวถอดใจเลิกเลี้ยง บางรายทายาทไม่สานต่ออาชีพหันไปประกอบอาชีพอื่นแทน ทำให้ฟาร์มเกษตรกรรายย่อยที่มีแม่โครีดนมต่ำกว่า ๒๐ ตัว เลิกกิจการค่อนข้างสูง โดยภาพรวมเกษตรกรเลิกเลี้ยงคิดเป็น ๓๐% ทั้งนี้จากวิกฤตการณ์ดังกล่าว อ.สิงหาคมได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ให้ความรู้ แนะแนวทางปรับตัวโดยส่งเสริมให้เกษตรกรมีการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการฟาร์มให้มีคุณภาพ มาตรฐาน ลดต้นทุนการผลิต ปรับลดขนาดฟาร์มให้เล็กลง ปรับสูตรการให้อาหาร และหันมาเลี้ยงโครีดนมให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำนมดิบ ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรมีน้ำนมดิบที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งได้จัดทำโครงการอบรมการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีสูตรผลิตอาหารสัตว์คุณภาพ เพื่อให้ได้น้ำนมดิบที่มีคุณภาพได้มาตรฐานตามที่กำหนด เกษตรกรได้รับผลตอบแทนคุ้มค่าให้กับเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม เพื่อขยายผลต่อไปยังฟาร์มเกษตรกรที่อยู่ภายใต้ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ อ.ส.ค. จังหวัดขอนแก่น ๖ ศูนย์และศูนย์รวบรวมน้ำนมจังหวัดสุโขทัย ๕ แห่ง ตลอดจนเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ใกล้เคียงอีก.กรวัฒน์ วีนิลคลิกอ่าน “ข่าวเกษตร” เพิ่มเติม