รองศาสตราจารย์ด็อกเตอร์เฉลิมพล แจ่มจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า สถาบันวิจัยประชากรและสังคมได้รับการสนับสนุนจาก สสส. จัดทำรายงานสุขภาพคนไทย มาเป็นเวลากว่า ๒ ทศวรรษแล้ว สำหรับการสำรวจปี ๒๕๖๖ โดยมี ๗ ตัวชี้วัดพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม การขาดกิจกรรมทางกาย อุบัติเหตุทางถนน ปัญหาสุขภาพจิต และมลพิษทางสิ่งแวดล้อม โดยจำแนกตามเขตภูมิภาคพบว่า เด็กกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยเฉพาะเด็กอายุ ๖-๑๔ ปี ครองแชมป์ไม่กินผัก สุขภาพมีความเสี่ยงเพราะกินอาหารไขมันสูงทั้งนี้ครอบครัว โรงเรียน สถานที่ทำงาน ชุมชน เป็นปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีบทบาทในการสร้างเสริมสุขภาพและลดพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพของคนไทยแต่ละช่วงวัยได้ การขับเคลื่อนรณรงค์ทำให้บ้านเป็นเขตปลอดบุหรี่ที่ดำเนินการโดยชุมชน สามารถลดอัตราการสูบบุหรี่ในบ้านของครอบครัวที่เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนได้ถึงร้อยละ ๗๕ โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนฉลาดเล่น มีสัดส่วนนักเรียน ป.๔ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอร้อยละ ๓๗.๙ สูงกว่าโรงเรียนทั่วไปที่มีเพียงร้อยละ ๖.๙ สำหรับในปี ๒๕๖๗ จะได้มีการติดตามผลพวงจากการเปลี่ยนโลกด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และสุขภาพของคนไทยให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกที่เกิดขึ้นจริงผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากรายงานสุขภาพคนไทยจากเว็บไซต์ www.thaihealthreport.com พบว่า ไม่ถึง ๑ ใน ๔ เท่านั้นที่กินผักและผลไม้เพียงพอ โดยมีความแตกต่างกันตามสถานะทางเศรษฐกิจ คือ กลุ่มคนมีรายได้สูงกินอาหารที่มีไขมันสูงและเครื่องดื่มที่มีรสหวาน ส่วนกลุ่มคนรายได้น้อย กินเนื้อสัตว์แปรรูปและอาหารกึ่งสำเร็จรูปที่เสี่ยงต่อสุขภาพ เป็นต้น ด้านอุบัติเหตุทางถนนพบว่า ๑ ใน ๕ ของคนไทยที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนน เป็นกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชน อายุ ๑๕-๒๔ ปี และกว่า ๓ ใน ๔ เป็นเพศชาย ด้านมลพิษทางสิ่งแวดล้อม พบว่า ผู้อาศัยอยู่ในภาคเหนือมีโอกาสได้รับฝุ่น PM ๒.๕ มากกว่าผู้อาศัยในภูมิภาคอื่น ซึ่งสัมพันธ์กับอัตราการตายจากโรคมะเร็งปอดในแต่ละจังหวัดของภาคเหนืออยู่ที่ ๒๕.๖ คนต่อแสนประชากร ซึ่งสูงกว่าภูมิภาคอื่นอย่างชัดเจน.อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่
พบเด็ก กทม.และปริมณฑลแชมป์ไม่กินผัก สุขภาพมีความเสี่ยงเพราะกินอาหารไขมันสูง
เรื่องที่เกี่ยวข้อง